วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงาน จังหวัดอุบลราชธานี อากาศร้อนต่อเนื่องกันมาหลายสัปดาห์ ชาวบ้านฟ้อนรำขอฝนของวัฒนธรรมอีสาน เพื่อเป็นการบูชาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลสืบสาน ประเพณีบุญบั้งไฟ Soft Power แดนดินถิ่นอีสาน วัฒนธรรมอันดี ที่สืบทอดมาแต่โบราณ สร้างความรัก ความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี โดยที่ วัดสมบูรณนาราม (วัดบ้านบก) ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี การฟ้อนรำนั้น มีสีสัน ถือเป็นงานประเพณีบุญบั้งไฟชาวอีสาน
นายอุดมศักดิ์ นวลศิริ นายอำเภอวารินชำราบ พร้อมด้วย นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี (ส.ส.เปิ้ล) และ นายธนวัฒน์ ไพศาลเจริญโชติ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง และ หัวหน้าส่วนราชการ ได้ร่วมกันฟ้อนรำกับชาวบ้าน บ้านบก กันอย่างสนุกสนาน และเป็นกันเอง ในพิธีเปิด"งานประเพณีบุญบั้งไฟบ้านบก ตำบลโนนผึ้ง” ซึ่งเป็นงานที่คณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านบกตก หมู่ 1 ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนผึ้ง และภาคีเครือข่าย ได้ผสานพลังสามัคคีร่วมกันจัดขึ้น โดยมีผู้ร่วมงานมากกว่า 3 พันคน โดย ในพิธีเปิดงานฯ ยังมีไฮไลท์ สำคัญ คือ การกดสวิตช์ ปล่อยจรวจขนาดใหญ่และยาว ความสูงมากกว่า 3 เมตร ของ องค์การ MASA “มาซ้า” ( อ่านเป็นภาษาอีสานเด้อ ) ที่ได้มีการวิวัฒนาการ จากจุดเริ่มต้นคือการทำบั้งไฟ ของชาวบ้าน ปรับปรุงพัฒนา จนมาเป็นจรวจขนาดใหญ่ดังกล่าว โดยจรวจได้ถูกปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อบูชาเทพยด และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า พญาแถน โดย พญาแถน ได้ให้สิ่งตอบแทนความตั้งใจของชาวบ้าน เป็น เงิน-ทอง โชคลาภ บารมี พร้อมทั้ง ประทานพรให้ปีนี้มีฝนตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ โดยมอบให้มนุษย์อวกาศ นำกลับลงมายังโลกมนุษย์ จากนั้น ชาวบ้านจากคุ้มบ้านต่างๆ ในตำบลโนนผึ้ง ได้จัดขบวนฟ้อนรำ แต่งตัวสวยสดงดงาม ร่วมกันจัดการแสดงรำถวาย พญาแถน เพื่อความเป็นสิริมงคลและ แสดงความขอบคุณ ทั้งนี้ ในช่วงเดือน 6 ของทุกปี หลายพื้นที่ในภาคอีสาน จะมีการจัดงานบุญเดือน 6 หรือ ที่รู้จักกันว่าเป็นงานบุญบั้งไฟ ถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่ได้จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล จะเกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำใช้ทำนาและการเกษตร แต่ถ้าปีใดได้จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของซาวอีสานเป็นอย่างมาก พอใกล้ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นงานที่สร้างความรัก ความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี และยังเป็นการอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีบุญบั้งไฟของชาวอีสานให้คงอยู่ ซึ่งเป็น Soft Power ที่สำคัญในการ ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างเศรษฐกิจกระจายรายได้ให้กับชุมชน อีกด้วย
สุธน ประกอบพร/อุบลราชธานี
/////////////////////////////////////