ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
ร.อ.ธรรมนัส ลุยชัยภูมิลงพื้นที่เอาใจคนอีสานแก้แล้ง-น้ำท่วมได้ยั่งยืน
09 มิ.ย. 2567

ชัยภูมิ​( 8 มิ.ย.67 ) ร.อ. ธรรมนัส  พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอรรถกร  ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะ ส.ส.ในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นที่น่าจับตาว่ามีแกนนำหลักอดีต ส.ส.รุ่นเก๋า นายอร่าม โล่ห์วีระ อดีต รมช.คมนาคม (พรรคความหวังใหม่ ในอดีต) ที่ปัจจุบันได้รับเลือกให้เป็น นาย อบจ.ชัยภูมิ ที่ได้นำทีมลูกชาย นายอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ส.ส.เขต 7 ชัยภูมิ และ ส.ส.และอดีต ผู้สมัคร ส.ส.พลังประชารัฐทั้ง 7 เขต รวมทั้ง ส.ส.จากอีกหลายพรรคการเมืองทั้งพรรคเพื่อไทย ในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ต่างพากันเดินทางมาร่วมรอรับคณะ ร.อ.ธรรมนัสฯ ร่วมกันลงพื้นที่จำนวนมากอย่างไม่ค่อยเป็นมาก่อนอีกด้วย เพื่อร่วมกันออกพบปะเกษตรกร ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่ ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ

ซึ่งการก่อสร้างโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำเก็บไว้เป็นต้นทุนแล้งปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้ง ในพื้นที่ ด้านการเกษตร การอุปโภค-บริโภค และบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ท้ายน้ำ มีระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง 9 ปี (พ.ศ. 2562 - 2570) หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสนับสนุนสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าตามลำน้ำชี ตั้งแต่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ยาวไปจนถึงจุดบรรจบลำน้ำพองในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่รับประโยชน์ ช่วงฤดูฝน 75,000 ไร่ และฤดูแล้ง 30,000 ไร่ อีกทั้งยังเป็นแหล่งน้ำสำหรับทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และสามารถช่วยบรรเทาอุทกภัยบริเวณพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำได้อีกด้วย

ซึ่งในการดำเนินการโครงการครั้งนี้ อย่างไรก็ตามในส่วนของการเวนคืนที่ดินของชาวบ้าน ที่ได้มีการมอบหมายกรมชลประทานให้ตรวจสอบรายชื่อและดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2569

นอกจากนี้ ในการเดินทางมาครั้งนี้ ร.อ.ธรรมนัสฯ ยังมีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ พร้อมมอบโฉนดเพื่อการเกษตร กรรมสิทธิ์สัตว์โครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ เมล็ดพันธุ์พืชผักและสารชีวภัณฑ์ พันธุ์หม่อน ใบรับรอง GAP และโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานให้กับเกษตรกรในพื้นที่ด้วย

จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะได้รับฟังแนวทางพัฒนาบึงละหานทั้งระบบ ณ บึงละหาน (บ้านมะเกลือ) ต.บ้านกอก อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ เนื่องจากบึงละหานเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ไม่มีระบบกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง น้ำในบึงจึงลดลงมากจนมีสภาพตื้นเขิน ปกคลุมไปด้วยวัชพืช ทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้เต็มความจุในปัจจุบัน และในฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำเอ่อล้น ทำให้น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่เกษตรบริเวณรอบบึงละหาน ซึ่งกรมชลประทานได้มีโครงการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำบึงละหาน โดยมีแผนดำเนินการพัฒนาในระยะเร่งด่วน ได้แก่ 1) โครงการแก้มลิงบึงละหาน (ระยะที่ 1) พร้อมอาคารประกอบ พื้นที่ประมาณ 870 ไร่ 2) โครงการเพิ่มระดับเก็บกักสูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร และ 3) โครงการปรับปรุงทำนบดินรอบบึงละหานพร้อมอาคารประกอบ หากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มความจุเก็บกัก ประมาณ 12 ล้าน ลบ.ม. และจะมีพื้นที่รับประโยชน์เพิ่มเติมได้อีกประมาณ 12,000 ไร่

ซึ่งการเดินทางมาครั้งนี้ ร.อ.ธรรมนัสฯ กล่าวว่า สำหรับโครงการบรรเทาอุทกภัยในโซนเศรษฐกิจใจกลางเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ระยะที่ 1 กรมชลประทานได้มีการศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำลำปะทาวและห้วยยางบ่า เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งอย่างยั่งยืน โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 ปี (พ.ศ. 2562 - 2569) มีการก่อสร้างคลองผันน้ำลำปะทาว-สระเทวดา ความยาว 8.45 กิโลเมตร(กม.) ประตูระบายน้ำปากคลองลำปะทาว-สระเทวดา ประตูระบายน้ำหนองใหญ่ (ประตูระบายน้ำกลางคลอง) และประตูระบายน้ำราชพฤกษ์ (ประตูระบายน้ำกลางคลอง) ดำเนินการแล้วเสร็จกว่า 54% หากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถผันน้ำหลากเข้าท่วมตัวเมืองชัยภูมิ ส่วนเกินไม่ให้ท่วมเมืองชัยภูมิ ผันน้ำจากลำปะทาวผ่านคลองผันน้ำ ส่งช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกบริเวณโครงการ ทำให้มีพื้นที่จะสามารถรับประโยชน์เพิ่มเติมได้อีกกว่า 5,700 ไร่

นอกจากนี้ กรมชลประทานยังมีการเตรียมความพร้อมโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ระยะที่ 1 เพิ่มเติม โดยมีแผนก่อสร้างสะพานรถยนต์ทางหลวงหมายเลข 202 ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำห้วยดินแดงและอาคารประกอบ ประตูระบายน้ำลำชีลอง-ห้วยกอก โครงการปรับปรุงคันดินสระเทวดาพร้อมอาคารประกอบ และเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักและการส่งน้ำ พนังกั้นน้ำกุดสรวง-ห้วยเสียว หากสามารถดำเนินการแล้วเสร็จ จะช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองชัยภูมิอย่างยั่งยืน โดยรวมผลประโยชน์ด้านบรรเทาอุทกภัยประเมินผลประโยชน์จากการลดความเสียหายด้านการเกษตร เนื่องจากน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูก การลดค่าใช้จ่ายในการป้องกันน้ำท่วม การลดความเสียหายของอาคารบ้านเรือนและทรัพย์สิน อีกทั้งจะมีพื้นที่รับประโยชน์ 18,610 ไร่ ช่วยลดความเสียหายจากน้ำท่วมนาข้าวบริเวณด้านทิศใต้ของเมืองชัยภูมิ เฉลี่ยปีละประมาณ 20,000 ไร่ และคันคลองสามารถใช้เป็นทางสัญจรและลำเลียงผลผลิตทางการเกษตรของประชาชนในพื้นที่โครงการและพื้นที่ใกล้เคียงได้อีกอย่างยั่งยืนตามมาได้ในหลายด้านอีกด้วย

อธิวัฒน์​ เตีย​เจริญ​ภักดี​ จังหวัด​ชัยภูมิ​รายงาน​

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 กรกฎาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...