ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
กาญจนบุรี - รมว.ยธ.เปิด “มหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม” ครั้งที่ 11
10 มิ.ย. 2567

จับมือสถาบันการเงินตั้งโต๊ะ ไกล่เกลี่ยช่วยเหลือผู้เป็นหนี้ “กยศ.” และ “หนี้ครัวเรือน” พร้อมกำชับการไกล่เกลี่ยต้องไม่เอาเปรียบลูกหนี้ เป็นธรรมและความยุติธรรม มุ่งให้ประชาชน หลุดพ้นจากวงจรการเป็นหนี้

วันนี้ (9มิ.ย.67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมบุษราคัม องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี อ.เมือง จ.กาญจนบุรี พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดงาน “มหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม” ครั้งที่ 11 และมหกรรมไกล่เกลี่ยช่วยเหลือหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และหนี้ครัวเรือน ประจำปี 2567 โดยมีนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนามคม นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ สส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย เขต 1 นายพนม โพธิ์แก้ว สส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย เขต 5 

นางสาวเอมอร เสียงใหญ่ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นายเสกสรร สุขแสง อธิบดีกรมบังคับคดี สถาบันการศึกษา กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาและบริหารสถาบันการเงิน ร้อยโททศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี นายรณภพ เวียงสิมมา รอง ผวจ.กาญจนบุรี พล.ต.ต.นครินทร์ สุคนธวิท ผบก.ภ.จว.กาญจนบุรี นายแพทย์ประวัติ กิจธรรมกูลนิจ นายก อบจ.กาญจนบุรี รวมทั้งภาครัฐต่างๆ และประชาชนที่เดินทางมาลงทะเบียนเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินร่วม 1,000 คน เข้าร่วม

ทั้งนี้ พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวภายหลังว่า การจัดงาน “มหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม” ครั้งที่11และมหกรรมไกล่เกลี่ยช่วยเหลือหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และหนี้ครัวเรือนในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 11 โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และกรมบังคับคดี พร้อมด้วย สถาบันการศึกษา กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และสถาบันการเงินร่วมกันจัดขึ้น 

เพื่อให้ประชาชนที่ประสบปัญหาหนี้สิน ทั้งที่มีคดีก่อนฟ้อง และหลังศาลมีคาพิพากษา ตลอดจนผู้ประสบปัญหาหนี้สินต่างๆ ได้รู้สิทธิตามกฎหมาย เข้าถึงความยุติธรรม รวมถึงสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการวางแผนและสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ประชาชน เพื่อเป็นเกราะป้องกันปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน โดยภายในงาน ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 1) การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย และการสร้างการตระหนักรู้ เกี่ยวกับการวางแผนและสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ประชาชน 2) การจัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์ ให้คาปรึกษาทางกฎหมายหรือการเงิน 3) การให้บริการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

 ปัจจุบัน หนี้สินครัวเรือน ถือเป็นปัญหาใหญ่ ที่รัฐบาลถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ จากสถานการณ์ประเทศไทยที่กาลังเผชิญภาวะหนี้สินครัวเรือนที่สูงกว่าร้อยละ 90 ของ GDP ถือเป็นความเปราะบางของภาคประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจ เนื่องจากหนี้ที่สูง ย่อมส่งผลให้ครัวเรือนมีความสามารถในการใช้จ่ายและลงทุนต่ำ อีกทั้งหากลูกหนี้ไม่สามารถชาระหนี้ได้ พร้อมกันจานวนมาก อาจทาให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินได้ในอนาคต

จากวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น นโยบายแรกที่รัฐบาลได้เร่งดำเนินการ คือ แก้ไขปัญหานี้สินทั้งในภาคเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน โดยรัฐบาลจะลดภาระพี่น้องเกษตรกรด้วยการพักหนี้เกษตรกร ตามเงื่อนไขและคุณสมบัติที่เหมาะสม รวมถึงมาตรการช่วยเหลือประคองภาระหนี้สินและต้นทุนทางการเงิน สาหรับภาคประชาชนที่ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด19 ให้ได้มีโอกาสในการฟื้นฟูและกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง

นอกจากนี้รัฐบาลจะมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของกลุ่มอื่นๆ ภายใต้ปรัชญาที่จะไม่ขัดต่อวินัยทางการเงินและไม่ทำให้เกิดภาวะภัยทางจริยธรรม (Moral Hazard) ของผู้มีภาระหนี้สิน ในส่วนมิติของกระบวนการไกล่เกลี่ย คือ การสร้างความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การสร้างความปรองดอง การสร้างสันติภาพบนความขัดแย้ง 

การจัดงานในวันนี้ จึงถือเป็นงานที่สร้างความยุติธรรมตามความเป็นจริง ตนอยากฝากข้อคิดเรื่องการไกล่เกลี่ยต้องไม่เอาเปรียบลูกหนี้ แต่สิ่งที่ต้องทำ คือ การสร้างความเป็นธรรม ความยุติธรรม และความพึงพอใจให้เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย ลูกหนี้ต้องกลับคืนสู่สังคมด้วยความปกติ ด้วยการคืนศักดิ์ศรีให้ลูกหนี้  ในส่วนของการให้ความรู้ด้านกฎหมาย ถือเป็นการติดอาวุธให้กับประชาชนให้ได้รับความรู้ ไม่ต้องถูกเอาเปรียบ ไม่ถูกรังแก มีศักดิ์ศรี ตลอดจนสามารถสร้างสรรค์สังคมและเศรษฐกิจของประเทศให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ด้านนางสาวเอมอร เสียงใหญ่ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวว่า แม้ขณะนี้รายได้ครัวเรือน จะมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ด้วยภาระหนี้ที่สูง ทำให้ประชาชนจำเป็นต้องนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นไปชำระหนี้ที่มีอยู่เดิมก่อน ทำให้ไม่สามารถใช้จ่ายได้อย่างเต็มที่ ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไข หนี้ครัวเรือน จะเป็นปัจจัยฉุดรั้งการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยได้ในอนาคต

 กระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ เป็นหนึ่งในหลักการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน โดยแนวทางการแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนจะมี 3 หลักการ คือ ทำครบวงจร ทำให้ตรงจุด และทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนให้เกิดการไกล่เกลี่ย ตาม พ.ร.บ.การไกล่เกลี่ยภาคประชาชน พ.ศ.2562 ผ่านการดำเนินงานของ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการเจรจาหารือกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ประสบปัญหาหนี้สินต่างๆ สามารถหลุดพ้นจากวงจรการเป็นหนี้ได้
   /////////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...