ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
ตม. แท็กทีม กรมการจัดหางาน ลุยตลาดเช้าย่านพระโขนงรวบแรงงานเถื่อน
13 มิ.ย. 2567

   พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผบช.สตม. และ พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม. รับนโยบาย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รรท.ผบ.ตร. สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดยกระดับการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม โดยเฉพาะความผิดที่เกี่ยวกับคนเข้าวเมือง ซึ่งเป็นความรับผิดชอบหลักของ สตม.โดยสั่งการและกำชับให้เพิ่มความเข้มในการตรวจสอบบังคับใช้กฎหมาย  โดยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองที่รับผิดชอบงานสืบสวนเน้นบูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

   ต่อมา กก.สืบสวน บก.ตม.1 นำโดย พ.ต.อ.กาจภณ ปฐมัง ผกก.สืบสวน บก.ตม.1 และ พ.ต.ท.สุริยะ พ่วงสมบัติ รอง ผกก.ฯ รับผิดชอบพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกับกรมการจัดหางาน นำโดย นายสนธยา กาลาศรี ผอ.กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน และ​ ตร.สน.คลองตัน​ ลงพื้นที่ตรวจสอบตลาดเช้า ภายในซอยสุขอุทิศ เพื่อ ตรวจสอบแรงงานข้ามชาติลักลอบทำงานในซอยดังกล่าว เมื่อไปถึงชาวแรงงานต่างด้าวพบเห็นเจ้าหน้าที่ ก็พบว่าแรงงานบางส่วนต่างวิ่งหนีและปิดร้านกันโกลาหล

 

   ซึ่งผลจากการตรวจสอบพบ แรงงานชาวเมียนมา 5 ราย ไม่มีเอกสาร หนังสือเดินทางและลักลอบทำงานขายอาหาร นอกจากนี้ยังพบชาวกัมพูชา 2 ราย ลักลอบเข้าเมือง จึงได้จับกุมผู้ต้องหาทั้งหมด รวม 7 ราย ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงแจ้งข้อกล่าวหากลุ่มผู้ต้องหาชาวเมียนมาว่า “เป็นบุคคลต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย” และ “เป็นบุคคลต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือสิทธิที่จะกระทำได้” ส่วนชาวกัมพูชานั้น ได้แจ้งข้อกล่าวหา “เป็นบุคคลต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย” และควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน สน.คลองตัน พื้นที่รับผิดชอบ ดำเนินคดีตามกฎหมาย ก่อนจะผลักดันกลับประเทศต้นทางในขั้นตอนต่อไป

   ด้าน พ.ต.ท.สุริยะฯ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ”บุคคลต่างด้าวทุกสัญชาติที่เข้ามาในราชอาณาจักร นอกจากจะต้องเข้ามาตามช่องทางอนุญาตตามกฎหมายและได้รับการตรวจลงตราโดยถูกต้องแล้ว ยังมีหน้าที่ ที่จะต้องแจ้งที่พักอาศัยต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และหากประสงค์จะทำงานในประเทศไทยจะต้องดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตทำงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยนายจ้างที่รับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตจะมีความผิดตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 มีโทษปรับสูงสุดถึง 100,000 บาท ในส่วนของเจ้าของบ้านหรือผู้ครอบครองเคหสถานยังมีหน้าที่ในการแจ้งต่อ สตม. เมื่อมีบุคคลต่างด้าวเข้ามาพักอาศัยในสถานที่ที่อยู่ในความดูแลของตนอีกด้วย“
   สตม.จะมีมาตรการในการตรวจสอบ กวดขัน และปราบปรามคนต่างด้าวที่เข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ทั้งนี้หากผู้ใดให้ที่พักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยเหลือด้วยประการใดๆ ให้ผู้กระทำความผิดพ้นจากการจับกุมของเจ้าหน้าที่ จะมีความผิดตามมาตรา 64 ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 5 ปี 
   หากประชาชนท่านใดพบเห็นเบาะแส การกระทำความผิด กรุณาแจ้งมายัง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารพระชนมพรรษา 60 พรรษา เลขที่ 904 หมู่ที่ 6 ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 หรือติดต่อตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่ หรือที่ หมายเลข 1178

สมเกียรติ ทรัพย์เฉลิม / รายงาน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...