ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
กรมจัดหางานเร่งจดทะเบียนต่างด้าวทำประมงทะเลจัดระเบียบขจัด”ค้ามนุษย์”สนองรัฐ
09 ธ.ค. 2558

           นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่าผลการดำเนินงานหลังจากการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (IUU) ของศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ณ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเร็วๆนี้ โดยในส่วนของกระทรวงแรงงาน ได้ขับเคลื่อนมาตรการเร่งด่วนเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในด้านการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (IUU) ดังนี้ มาตรการด้านการคุ้มครอง แก้ไขปัญหา และช่วยเหลือ ได้ดำเนินการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล ปีละ 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2558  ซึ่งขณะนี้ได้เปิดจดทะเบียนครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 - วันที่ 30มกราคม 2559 โดยแรงงานต่างด้าวจะได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักร และไม่มีการจับกุมและส่งกลับ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย.58) มีแรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียนทั้งสิ้น6,397 คน (เมียนมา 3,725คน ลาว 109คน กัมพูชา 2,563 คน) เจ้าของเรือ/นายจ้าง จำนวนทั้งสิ้น 2,062 ราย 

            ด้านการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ 22 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล และกรุงเทพมหานคร (4จุด ครอบคลุม 4 มุมเมือง)  ระหว่างวันที่ 25พฤศจิกายน 2558 – 22 กุมภาพันธ์ 2559 โดยผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่ประสงค์จะทำงานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำรวมถึงผู้ติดตาม ซึ่งเป็นบุตรของแรงงานต่างด้าวที่อายุ ไม่เกิน 15 ปี อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรและอนุญาตให้ทำงานเป็นเวลา 1 ปี (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย.58) มีผลการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว รวมทั้งสิ้น 1,524 คน (เมียนมา 1,093 คน ลาว 41 คน กัมพูชา 390 คน) นายจ้าง 207 ราย 

            ทั้งนี้ ได้อนุญาตแรงงานในเรือประมง และอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำสามารถเปลี่ยนนายจ้างภายในกลุ่มกิจการเดียวกันได้ ไม่จำกัดจำนวนครั้งและจังหวัด และกำลังพิจารณามาตรการคุ้มครองแรงงานเหล่านี้

            สำหรับมาตรการบังคับใช้กฎหมาย กระทรวงแรงงานมีการดำเนินการอย่างก้าวหน้า

ในเรื่องการจัดทำคำนิยาม “แรงงานบังคับ” และ “แรงงานขัดหนี้” และพร้อมจัดทำคู่มือเพื่อให้พนักงานและเจ้าหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายแรงงานและกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทั้งนี้ ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยกำหนดอัตราค่าปรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในอัตราค่าปรับสูงสุด เช่น กรณีความผิดฐานจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15ปี การจ้างลูกจ้างที่มีอายุต่ำกว่า 18ปีทำงานในเรือประมงทะเล และขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎกระทรวงกำหนดสถานที่ที่ห้ามมิให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในโรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับสัตว์น้ำ และสถานที่แปรรูปสัตว์ นอกจากนี้ กำลังปรับปรุงแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551  โดยให้เปรียบเทียบปรับในอัตราโทษสูงสุด    

            ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานมีการประสานงานและบูรณาการทำงานร่วมกับ ศปมผ. และ ILO เพื่อเร่งรัดการฝึกอบรมหลักสูตรป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์การใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับในทะเล ให้แก่เจ้าพนักงาน เพื่อตรวจสอบปัญหาการค้ามนุษย์ และแรงงานบังคับในเรือประมง  

            นอกจากนี้ได้ร่วมกับชุดตรวจปฏิบัติการในงานประมงทะเลในพื้นที่ 22 จังหวัดติดชายฝั่งทะเล ตรวจสถานประกอบกิจการประมงทะเล 1,500แห่ง มีเรือประมง 1,793 ลำ แรงงานประมง 21,506 คน พบการกระทำความผิด การใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จึงร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน จำนวน  11 คดี ในจำนวนนี้ได้ดำเนินคดีนายจ้าง ฐานจ้างแรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้าง จำนวน 3 คดี ซึ่งเกี่ยวข้องกับความผิดฐานการค้ามนุษย์ โดยการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ จำนวน 1 คดี และบก.ปคม. จำนวน 2 คดี

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...