ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
กว่า 50 ปี เส้นทางผ่านสมัยสงครมโลกครั้งที่ 2!! สภาวัฒนธรรม อ.ทองผาภูมิ
20 มิ.ย. 2567

        ร่วมชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน  ติดป้ายร่องรอยประวัติศาสตร์ ทางรถไฟสายไทย - พม่า สมัยสงครามโลกครั้ง 2

วันนี้ 20 มิถุนายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศราวุธ  ศรีทันดร นายกเทศมนตรีตำบลทองผาภูมิ  พระครูวิลาศกาญจนธรรม,ดร. เจ้าอาวาส วัดท่าขนุน พร้อมกับชุมชนชาวทองผาภูมิ ร่วมพิธีติดป้ายร่องรอยประวัติศาสตร์ ทางรถไฟสายไทย - พม่า ซึ่งในสมัยสงครามโลกครั้ง 2 ที่มีทางรถไฟผ่านบริเวณบ้านท่าขนุน ม.1 ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ได้มีการติดตั้งป้ายจำนวน 2 จุด คือ จุดที่ 1 บริเวณบ้าน นายรุ่งคุณ สายรัตณี (ร่องรอยประวัติศาสตร์ทางรถไฟสายไทย - พม่า กม.219+150 ) และจุดที่ 2 บริเวณพื้นที่ของนาย นันทิกร บ่อเกิด (ร่องรอยประวัติศาสตร์ทางรถไฟสายไทย - พม่า กม.219+250) มอบโดยสภาวัฒนธรรมอำเภอทองผาภูมิ เพื่อเป็นการขอบคุณในความร่วมมืออนุรักษ์ร่องรอยประวัติศาสตร์ที่บ้านท่าขนุน

ชุมชนแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของค่ายทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายทั้งไทย กะเหรี่ยง มอญ ม้ง พม่า เย้า ลีซอ มีภาษาและการแต่งกายที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มาชุมชน จะได้ร่วมงานประเพณีทั้งตักบาตรเทโว กิจกรรมเสาร์ใส่บาตร ตลาดริมแคว ยลวิถีเมืองท่าขนุน กิจกรรมนุ่งผ้าซิ่น นั่งแคร่ไม้ใส่บาตรพระทุกวันอาทิตย์ การวางผางประทีปถวายเป็นพุทธบูชาในวันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันวิสาขบูชาและวันลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ อุ้มพระสรงน้ำ และไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยว  เช่น เส้นทางรถไฟสายมรณะที่สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านหลบภัยเชลยศึก ยอดเขารอยพระพุทธบาทและยอดเขาพระพุทธเจติยคีรี ซึ่งเป็นจุดชมวิวของอำเภอทองผาภูมิและเป็นจุดชมวิวทะเลหมอก แบบ 360 องศา ชมทิวทัศน์และแม่น้ำแควน้อยบนสะพานแขวนหลวงปู่สายและเลือกซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ที่ตลาดริมแคว
               
นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปสักการะพระประธาน มณฑปหลวงพ่อมหาลาภสามกษัตริย์ (หลวงพ่อทองคำ หลวงพ่อเงิน หลวงพ่อนาก) และสรีระสังขารหลวงปู่สาย ณ ศาลาร้อยปีหลวงปู่สาย วัดท่าขนุน ชมเส้นทางรถไฟจำลอง สร้างสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  สักการะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หน้าตัก 21 ศอก และไปชมท่าเรือเก่าบ้านท่าขนุน แวะซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีอัตลักษณ์ท้องถิ่น อาทิ  ผ้าสวัสดิรักษาที่ชุมชนคิดค้นแบบลายผ้าขึ้นใหม่โดยผสมผสานระหว่างไทย ไทยอิสาน กะเหรี่ยงและมอญ เส้นด้ายที่ทอใช้ด้ายสีมงคลประจำวัน 5 สี ปากกาจักสานไม้ไผ่ที่นำลายผ้ามอญมาจักสานเป็นลายปากกา รวมทั้งชิมและซื้ออาหารท้องถิ่น เช่น แกงฮังเลมอญ ขนมทองโย๊ะ ซึ่งเป็นของหวานขึ้นชื่อของอำเภอทองผาภูมิ

กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภายใต้โครงการ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี”นำอัตลักษณ์ วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนมานำเสนอให้คนไทยและชาวต่างชาติได้ชมและเรียนรู้ โดยคัดเลือกชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวรที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติของจังหวัดเพื่อรับรางวัล 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ที่วธ. ดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2566 และปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จะคัดเลือกอีก 10 ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อน Soft Power ของไทยสู่นานาชาติ โดยนำทุนวัฒนธรรมของชุมชนมาพัฒนาต่อยอดสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่เชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยววิถีชุมชน สร้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชนและชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากและกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ และจากการเก็บข้อมูลของวธ. พบว่า สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ที่ได้รับคัดเลือกในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 จำนวน 20 แห่ง มีรายได้จากการท่องเที่ยววัฒนธรรมรวมกว่า 1,200 ล้านบาท
   ////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...