ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
เครือข่ายภาคเอกชนกว่า 10 องค์กร ยื่นคัดค้านปรับค่าแรงขั้นต่ำต่อผู้ว่าฯชลบุรี
13 ก.ค. 2567
จังหวัดชลบุรี ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายภาคเอกชน กว่า 10 องค์กร ร่วมยื่นหนังสือคัดค้านการปรับค่าแรงขั้นต่ำต่อผู้ว่าราชการจังหวัด คัดค้านการปรับค่าแรงขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ
 
ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายภาคเอกชน กว่า 10 องค์กร ร่วมยื่นหนังสือคัดค้านการปรับค่าแรงขั้นต่ำต่อผู้ว่าราชการจังหวัด " คัดค้านการปรับค่าแรงขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ"
      
วันนี้ (12 กรกฎาคม 2567) เวลา 10.00 น. ที่ห้องรับรอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดชลบุรี นายกิตติวุฒิ ศศิวิมลพันธุ์  ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี นำคณะภาคีเครือข่ายภาคเอกชน กว่า 10 องค์กร ร่วมยื่นหนังสือคัดค้านการปรับค่าแรงขั้นต่ำต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี  โดยทางด้านนายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ติดภารกิจ จึงมอบหมายให้ นายอำนาจ เจริญศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย นายเฉลิมพล เนียมสกุล  แรงงานจังหวัดชลบุรี รับหนังสือคัดค้าน และร่วมประชุมหารือ ในครั้งนี้
        
สำหรับภาคีเครือข่ายภาคเอกชน กว่า 10 องค์กร ได้ขอแสดงความคิดเห็นคัดค้านต่อการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและการปรับแบบเท่ากันทั่วประเทศว่า   จากนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศเป็นของขวัญวันแรงงานในการที่จะปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี หอการค้าจังหวัดชลบุรี สมาคมอสังหาริมทรัพย์ชลบุรี สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดชลบุรี สมาคมสมาพันธ์ท่องเที่ยวชลบุรี สมาคมผู้ประกอบการขนส่งแหลมฉบังชลบุรี สหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย จังหวัดชลบุรี สมาคมการท่องเที่ยวและบริการศรีราชา เกาะสีชัง สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดชลบุรี สภาเกษตรกรจังหวัดชลบุรี และ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออก ในฐานะตัวแทนของสถานประกอบการทุกขนาดและทุกประเภทกิจการในพื้นที่จังหวัดชลบุรี 
      
           
โดยทางภาคีเครือข่ายมีความเห็นว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำแบบเท่ากันทั่วประเทศเป็นความไม่เข้าใจระบบเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทยที่แตกต่างกัน อันจะส่งผลต่อผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ และค่าครองชีพของพื้นที่ที่จะปรับสูงขึ้นตามต้นทุนแรงงาน ไม่เป็นการใช้นโยบายให้สอดคล้องกับกลไกไตรภาคีตามกฎหมาย
       
ทางด้านภาคีเครือข่ายภาคเอกชน กว่า 10 องค์กรยังได้ยื่นข้อเสนอแนะให้กับทางจังหวัด ว่า เห็นด้วยกับการสนับสนุนยกระดับรายได้ของแรงงาน แต่ควรพิจารณาจากทักษะฝีมือแรงงาน (Pay By Skills) เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะฝีมือให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) ควรปรับค่าจ้างตามหลักการที่เป็นธรรมและยั่งยืน : การพิจารณาปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ควรยึดหลักการที่เป็นธรรมและคำนึงถึงความสามารถของผู้ประกอบการ ควบคู่ไปกับการดูแลสวัสดิภาพและคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง  หลักการปรับค่าจ้างขั้นต่ำโดยใช้ระบบไตรภาคีของแต่ละจังหวัด ผ่านคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำเป็นแนวคิดที่ดีอยู่แล้ว และภาครัฐควรสร้างสมดุลด้านรายได้และค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพให้กับแรงงาน รวมถึงการควบคุมราคาสินค้าพื้นฐานไม่ให้แพงเกินจริง เพื่อสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
             
นายอำนาจ เจริญศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า ทางจังหวัดนำส่งให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดได้นำไปขยายผล และให้ทางแรงงานจังหวัดเอาเข้าเสนอที่ประชุมระดับกระทรวงเพื่อพิจารณา ต่อไป
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...