ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์ ย้อนกลับ
วัฒนธรรมกับภารกิจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
11 ธ.ค. 2558

อปท.นิวส์ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับบทบาทภารกิจของประธานสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นตำแหน่งที่ได้รับการคัดเลือกมาจากประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดและตำแหน่งดังกล่าวนี้ยังถูกกำหนดให้เป็นกรรมการของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติอีกด้วย และที่สำคัญเป็นตำแหน่งที่กำหนดให้มาจากภาคประชาชน หรือปราชญ์ชาวบ้านที่ทรงความรู้ด้านวัฒนธรรมมาทำงานคู่ขนานหรือร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในระดับต่างๆ  แต่เป็นหน่วยงานเครือข่ายทางวัฒนธรรมภาคประชาชนคือ

          สภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สภาวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมอำเภอ และสภาวัฒนธรรมตำบล ซึ่งแต่สภาจะมีประธานกรรมการ กรรมการ  และสมาชิกที่มาจากผู้แทนองค์กรที่ดำเนินงานทางด้านวัฒนธรรมหรืองค์กรที่เกี่ยวข้อง เป็นองค์เครือข่ายวัฒนธรรม เช่น เครือข่ายภาครัฐ เครือข่ายภาคเอกชน เครือข่ายภาคชุมชน เครือข่ายภาคธุรกิจ เครือข่ายปราชญ์ ชาวบ้าน และเครือข่ายภาควิชาการ  ตามที่กำหนดในกฎหมาย(กฎกระทรวง)

             การบริหารงานด้านวัฒนธรรม ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า วัฒนธรรมคืออะไร หากยึดความหมายตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 หมายถึง

       “วิธีการดำเนินชีวิต ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม จารีตประเพณี พิธีกรรม และภูมิปัญญา  ซึ่งกลุ่มชนและสังคมได้ร่วมกันสร้างสรรค์ สั่งสม ปลูกฝั่ง สืบทอด เรียนรู้ ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม ทั้งด้านจิตใจวัตถุ อย่างสันติสุข และยั่งยืน

          เมื่อความหมายของวัฒนธรรมข้างต้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยกับการดำเนินชีวิตของเราในแต่ละวัน เพราะต้องเกี่ยวข้องผูกพันตลอดเวลา กับสิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรม

         ดังนั้น เมื่อวัฒนธรรม จึงเป็นส่วนหนึ่งกับการดำเนินชีวิตของคนเรา ภารกิจการบริหารงานด้านวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุที่สามารรถจับต้องได้ กับวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

      ภารกิจที่สำคัญของ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม  สิ่งที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กำลังดำเนินการอยู่ในหลาย ๆ ภารกิจเกี่ยวกับการบริหารงานที่เกี่ยวกับ วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้หรือ มรดกภูมปัญญาทางวัฒนธรรม นั้นคือ

     ภารกิจที่ 1

                     ประกาศการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (ปัจจุบันขึ้นประกาศขึ้นทะเบียนแล้ว 286รายการ) โดยมีวัตถุประสงค์

                    -เพื่อบันทึกประวัติความเป็นมา ภูมิปัญญา และ อัตลักษณ์ชองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

                    -เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำคัญและบัญชีรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่อยู่ในอาณาเขตของประเทศไทย

                    -เพื่อเสริมสร้างบทบาทสำคัญ และความภาคภูมิใจของชุมชน กลุ่มคน หรือบุคคล ที่เป็นผู้ถือครอง ผู้ปฏิบัติ ผู้สืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

                    -เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาสิทธิชุมชนในการอนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟู และปกป้องคุ้มครองมรดกภูมปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของขาติ

                    -เพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก

ภารกิจที่ 2

            ในส่วนนี้ ณ ปัจจุบัน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้มีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ  คือข้อมูลในสาขา ศิลปะการแสดง สาขาช่างฝีมือช่างดั้งเดิม สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย  สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล สาขาความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักวาล และสาขาภาษา เพื่อนำเข้าสู่ฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมและสร้างกระบวนการจัดการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการอันเป็นไปตามหลักการของยูเนสโก ขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว 48 โครงการ

ภารกิจที่ 3

            การเผยแพร่ ถ่ายทอด และสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม  ภารกิจดังกล่าวนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้จัดทำโครงการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยเน้นกลุ่มนักเรียนนักศึกษาเป็นหลัก สำหรับปีงบประมาณ 2558 ได้จัดทำโครงการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดยร่วมมือกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัดและสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดทำโครงการและกิจกรรมตามรูปแบบที่เหมะสมเพื่อให้ชุมชน หน่วยงาน องค์กร ที่เป็นผู้ปฏิบัติสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีในจังหวัด มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสาน หรือเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป

              เมื่อวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย และเป็นเรื่องที่บรรพบุรุษของเราสร้างสมสืบทอดต่อกันกันเป็นเวลาช้านานจากรุ่นสู่รุ่นและเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศในทุก  ๆ ด้านไม่ว่า ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ล้วนแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทั้งสิ้น

             แต่ภารกิจทั้ง 3 ด้านข้างต้นนั้น ที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และองค์กรเครือข่ายดำเนินการนั้นเราเห็นว่ายังไม่เพียงพอในการกับการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของชาติ จีงเห็นสมควรที่ส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร   และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งหน่วยเหล่านี้ต่างก็มีหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้มีหน้าที่ในการรักษา ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู วัฒนธรรม ประเพณีในท้องถิ่นของต้น  และหากมีการจัดทำแผนงานร่วมกัน และบูรณาการงบประมาณเพื่องานด้านวัฒนธรรมร่วมกันแล้ว ก็จะเป็นพลังอย่างยิ่งที่ทำให้งานด้านวัฒนธรรมของชาติเป็นงานที่ทรงคุณค่าทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจและจะตกเป็น มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ สืบต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...