ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
บุรีรัมย์ มอบโฉนดเพื่อการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
16 ก.ค. 2567
             ที่โดมอเนกประสงค์เทศบาลเมืองนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ นายปิยะ  ปิจนำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานในพิธีมอบโฉนดเพื่อการเกษตร แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 375 ราย 509 แปลง ตาม “โครงการมอบโฉนดเพื่อการเกษตร จำนวน 72,000 ฉบับ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” โดยมี นางสาวมณฑิรา  ปานคง  นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนปฏิรูปที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเกษตรกรเข้าร่วม 
    ทั้งนี้ ส.ป.ก.บุรีรัมย์ ได้ดำเนินงานด้านการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยยึดมั่นและน้อมนำแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้ในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน บนเนื้อที่กว่า 1.3 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่  21  อำเภอ 156 ตำบล รวม 1,325 หมู่บ้าน ซึ่งจัดให้เกษตรกรกว่า 109,293 ราย ได้มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง สามารถขจัดความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรพร้อมกับคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม โดย ส.ป.ก. ได้ปรับปรุงหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามเจตนารมณ์การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสิทธิ และการถือครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อีกทั้งส่งเสริมการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินให้ดียิ่งขึ้น
 
 
      สำหรับเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการเปลี่ยนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร จะได้รับสิทธิประโยชน์จากโฉนดเพื่อการเกษตร มีดังนี้
1. เปลี่ยนมือได้ (โอนสิทธิ) สามารถโอนคืน ส.ป.ก. ได้ โดยโอนคืนให้ ส.ป.ก.ทั้งแปลงหรือบางส่วนได้ และได้รับค่าชดเชย หากเกษตรกรไม่ประสงค์ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สามารถสละสิทธิให้เกษตรกรอื่นที่มีคุณสมบัติตามกำหนด โดยสามารถเปลี่ยนมือให้แก่เกษตรกรอื่นที่มีคุณสมบัติตาม ส.ป.ก. กำหนด
2. เพิ่มวงเงินสินเชื่อ การเข้าถึงแหล่งทุนใหม่ สามารถเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ โดยขยายวงเงินสินเชื่อให้กับเกษตรกรที่ขอกู้กับ ธ.ก.ส. หรือใช้ไม้มีค่าที่ปลูกบนที่ดิน ค้ำประกันสินเชื่อให้เต็มวงเงิน 100% และสามารถขอสินเชื่อนโยบายจากกองทุน ส.ป.ก. เต็มวงเงินตามราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ นอกจากนั้นยังเพิ่มแหล่งสินเชื่อใหม่ โดยการเจรจากับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ชุมนุมสหกรณ์ สถาบันการเงินของรัฐ และสถาบันการเงินอื่น
3. สามารถใช้ค้ำประกันตัวบุคคล โดยเป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่สามารถค้ำประกันตัวบุคคลทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาล โดยความร่วมมือกับกระทรวงยุติธรรมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
4. สร้างรายได้ให้เกษตรกร เพิ่มทรัพย์สินโดยส่งเสริมการปลูกไม้มีค่า 10 ต้นต่อไร่ ซึ่งสามารถใช้ต้นไม้ค้ำประกันสินเชื่อ (โฉนดต้นไม้) และขาย Carbon Credit โดยความร่วมมือกับ กรมป่าไม้, ธ.ก.ส. และ อบก.
5. ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาจากรัฐในด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค ซึ่งมีการทำ MOU 16 หน่วยงาน ด้านการพัฒนาอาชีพ และรับเงินชดเชยหรือเยียวยาภัยพิบัติ ทำให้เกษตรกร ที่ได้รับมอบโฉนดเพื่อการเกษตรดีใจกันถ้วนหน้า
(จุดาพร  จันทรมาศ/บุรีรัมย์/0872564788)
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 กันยายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...