ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
จังหวัดนครปฐมจัดพิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือ เฉลิมพระเกียรติและถวายพระราชกุศล
25 ก.ค. 2567
วันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ที่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานพิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค กระบือ เฉลิมพระเกียรติและถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม อำเภอนครชัยศรี เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ และคณะสงฆ์ พร้อมด้วยนายกเหล่ากาชาดจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอนครชัยศรี ข้าราชการ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ นักเรียน และประชาชนในพื้นที่ ร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
 
 
นายวรากร จิตรหลัง ปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม กล่าวว่า โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้รับสนองพระราชดำริ ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2522 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรได้มีโค-กระบือไว้ใช้แรงงาน และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยจังหวัดนครปฐม มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการธนาคารโค-กระบือฯ ตั้งแต่ปี 2526 ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรไปแล้วไม่น้อยกว่า 717 ตัว มอบกรรมสิทธิ์ โค-กระบือ ให้แก่เกษตรกรไปแล้วกว่า 657 ราย จํานวนโค 672 ตัว สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร โดยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินงาน ประกอบกับมีการบูรณาการร่วมกันในพื้นที่อย่างเป็นระบบ สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง ตลอดจนมีการต่อยอดการใช้ประโยชน์ เช่น การใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยในไร่นา การทำแก๊สชีวภาพ การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น 
 
สำหรับเกษตรกรที่ได้รับการพิจารณารับมอบกรรมสิทธิ์โค-กระบือในครั้งนี้ ได้พร้อมใจกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณ ต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเลี้ยง ดูแล รักษาโค กระบือเป็นอย่างดี และจะปฏิบัติตามสัญญาทุกประการ โดยจะไม่นำโคที่ได้รับไปฆ่าหรือไปขาย หรือกระทำการใดๆ ที่ผิดต่อสัญญา โดยมีเงื่อนไข คือ เกษตรกรต้องส่งมอบลูกโค-กระบือ ตัวที่ 1 ที่มีอายุครบ 18 เดือน ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 สามารถมอบกรรมสิทธิ์โค-กระบือตามสัญญายืมเพื่อการผลิตได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ ระยะเวลาครบตามเงื่อนไขสัญญา คือ 5 ปี แต่มีอายุสัญญายืมโคเพื่อการผลิตไม่น้อยกว่า 3 ปี 
 
 
ส่วนโคเพศเมียที่ได้รับการไถ่ชีวิต จำนวน 10 ตัว เกษตรกรจะต้องทำสัญญายืมเพื่อการผลิตตามระเบียบของธนาคารโค-กระบือ โดยมีเงื่อนไข คือ เมื่อลูกโคตัวแรกมีอายุครบ 18 เดือน ให้ส่งลูกโคคืนโครงการธนาคารโค-กระบือฯ และเมื่อสัญญาครบ 5 ปี จะยกแม่โคพร้อมลูกโคตัวถัดไป ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของเกษตรกรผู้ยืม แต่ถ้าเกษตรกรยืมโคไปแล้ว 3 ปี ไม่มีลูก หากตรวจสอบพบว่าเกษตรกรผู้ยืมไม่เอาใจใส่ดูแล จะรับแม่โคดังกล่าวคืน และนำไปให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรายใหม่ สำหรับลูกโคตัวแรกที่ธนาคารโค-กระบือฯ ได้รับคืนมา จะนำไปให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรายใหม่ในชุมชนนั้นๆ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการต่อไป
 
ปุณณภา สวัสดี /นครปฐม
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 กันยายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...