ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
กาญจนบุรี – อาจารย์วิศวะฯ ม.มหิดลกาญจน์ ถอดบทเรียนเหตุน้ำท่วม กรกฎาคม 2567
31 ก.ค. 2567
เพราะ La Niña หรือไม่ เน้นให้เห็นความสำคัญกับระบบคาดการณ์ลมฟ้าอากาศมีความจำเป็นมากต่อการรับมือผลกระทบจากสาธารณภัย ลดผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน
          
วันนี้ 30 ก.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.ดร.เอริกา พฤฒิกิตติ  อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เสนอแนะแนวทางจากสถานการณ์น้ำป่าไหลบ่าและระดับน้ำในแม่น้ำแควน้อย เพิ่มระดับขึ้นกว่า 3-4 เมตร จนส่งผลกระทบต่อพื้นที่ริมตลิ่งใน อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของธุรกิจท่องเที่ยวจำนวนมาก 
 
 
สาเหตุเนื่องจากในช่วงตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นมา มีฝนตกต่อเนื่องในตอนบนของลุ่มน้ำแม่กลอง สำนักชลประทานที่ 13 จึงมีแผนปรับเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนแม่กลอง ซึ่งจะส่งผลระดับน้ำในแม่น้ำแม่กลองสูงขึ้นประมาณ 1-2 เมตร เหตุการณ์ฝนตกหนัก พายุ น้ำท่วมยังส่งผลกระทบในจังหวัดอื่น ๆ ของประเทศไทย แม้ว่ากรมอุตุนิยมวิทยาจะคาดการณ์ว่าปี พ.ศ. 2567 ประเทศไทยจะมีฝนตกมากขึ้นเนื่องจากปรากฎการณ์ La Niña แต่ก็ไม่ได้คาดว่าฝนจะตกมากตั้งแต่ต้นฤดูฝน เนื่องจากสัญญาณ La Niña ที่มหาสมุทรแปซิฟิกยังไม่พัฒนาขึ้นในเดือนกรกฎาคม
 
 
จากการพิจารณาสัญญาณ La Niña กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าระดับฝนในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคมน่าจะยังอยู่ในระดับปกติ (กรมอุตุนิยมวิทยา, 19 กรกฎาคม 2567) จากแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงใน Windy.com แสดงให้เห็นการเคลื่อนที่ของเมฆมวลใหญ่จากมหาสมุทรอินเดียพาดผ่านประเทศไทยไปยังเอเชียตะวันออก และลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงการไหลเวียนมวลอากาศเช่นนี้เป็นเหตุการณ์ปกติในช่วงฤดูฝนทางตอนบนของประเทศไทย แต่ปัจจัยที่ทำให้ฝนตกมากกว่าที่คาดไว้คืออะไร (ภาพที่ 1 ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงใน Windy.com, เข้าถึงในวัน 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 11.44 น.)ปัจจัยแรกอยู่ที่มหาสมุทรอินเดีย จากแผนภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย
 
ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 พบว่า อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลบริเวณฝั่งประเทศไทยและอินโดนีเซียมีแนวโน้มสูงกว่าปกติเทียบกับอุณหภูมิฝั่งทวีปแอฟริกา หรือที่เรียกว่า Negative-phase Indian Ocean Dipole (IOD) โดยปรากฎการณ์ดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2567 นี้เอง ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ ฝั่งทวีปแอฟริกามีอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลสูงกว่า (ภาพถ่ายดาวเทียม : ภาพที่ 1 แสดงหลักฐานที่สอดคล้องกันคือการเกิดเมฆฝนหนาแน่นในบริเวณประเทศไทย) ปัจจัยที่สองอยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิกตอนบนจากแผนภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนบน ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (ภาพที่ 2) พบว่า อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนบนฝั่งตะวันตก (ฝั่งญี่ปุ่น) สูงกว่าปกติมาก หรือเรียกว่า Negative-phase Pacific Decadal Oscillation (PDO) ส่งผลให้ทั้งอุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝน และจำนวนพายุในภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีแนวโน้มสูงกว่าปกติ พัฒนาเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในบริเวณนี้ ปรากฎการณ์เช่นนี้เหมือนปั๊มดูดอากาศ เร่งอัตราการไหลเวียนมวลอากาศจากมหาสมุทรอินเดียให้ไหลไปยังบริเวณที่ความกดอากาศต่ำกว่า ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พาดผ่านประเทศไทยมีกำลังแรงมากขึ้น 
 
 
(ภาพที่ 2 การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลจากค่าปกติ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567  :   ที่มา: National Oceanic and Atmospheric Administration (https://www.ospo.noaa.gov/products/ocean/sst/anomaly/)
 
ในช่วงเดือนสิงหาคม เป็นต้นไป ปัจจัยLa Niña ที่มหาสมุทรแปซิฟิก จะเริ่มเข้ามามีบทบาทเสริมมากขึ้น จึงคาดการณ์ได้เลยว่า ปี พ.ศ. 2567 เป็นปีที่ประเทศไทยต้องระวังเรื่องภัยจากน้ำหลากและพายุหมุนรุนแรง 
บทเรียนจากเหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ระบบคาดการณ์ลมฟ้าอากาศมีความจำเป็นมากต่อการรับมือผลกระทบจากสาธารณภัย ลดผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้ง ความรุนแรงการของสาธารณภัยก็มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ดี มีหลากหลายปัจจัยที่เราต้องนำมาพิจารณาเพื่อการคาดการณ์มีความแม่นยำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการตรวจวัดที่ต้องมีการลงทุน ตรวจสอบคุณภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่องและทันสมัยอยู่เสมอ เนื่องจากระบบลมฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และประชาชนคอยติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ข้อมูลเพิ่มเติม  กรมอุตุนิยมวิทยา, 19 กรกฎาคม 2567, ปรากฎการณ์เอนโซ เดือนกรกฎาคม 2567, https://www.tmd.go.th/climate/content/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1-2569, (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567)
                               ……………………………………
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...