ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
สกลนคร ปราสาทพระธาตุภูเพ็ก พิสูจน์นครโบราณที่สาบสูญ
05 ส.ค. 2567

นายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน นักพิภพวิทยา จ.สกลนคร เปิดเผยว่าเป็นที่ทราบกันดีในวงการ

โบราณคดีและผู้ที่สนใจศึกษาประวัติสาสตร์ ว่าอิทธิพลอาณาจักรขอมได้แผ่มายังดินแดนหนองหารหลวงหรือ จ.สกลนคร ในปัจจุบันตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เข้าแทนที่อาณาจักรทรทวารวดีซึ่งอยู่
ในดินแดนแถบนี้ ตั้งแต่พุทธศตววรรษที่ 11 อิทธิพลของอาณาจักรขอมมีหลักฐานทางกายภาพได้แก่ตัวเมืองหนองหารหลวง ที่ออกแบบในสไตล์ขอมลักษณะเป็นเมืองสี่เหลี่ยมมีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบ กลางเมืองมีปราสาทประธาน (ปัจจุบันคือพระธาตุเชิงชุม) และจารึกภาษาขอมที่ขอบประตูด้านขวามือ พร้อมด้วย "บาราย" (ชื่อปัจจุบัน สระพังทอง) ซึ่งเปรียบเหมือนทะเลศักดิ์สิทธิ์แห่งเขาพระสุเมร ในความเชื่อของศาสนาฮินดูและพุทธนิกายมหายาน ผู้ปกครองชาวขอมแต่ละยุดได้ก่อสร้างปราสาทไว้หลายแห่ง 

นอกเหนือจากปราสาทประธานที่อยู่กลางเมือง ได้แก่ปราสาทนารายณ์เจงเวง ปราสาทคุม ปราสาทบ้านพันนา (อ โรคยาศาล) และปราสาทภูเพ็กบนยอดภูเขาสูง จากระดับน้ำทะเล 520 เมตร ดินแดนหนองหารหลวงอยู่ภายใต้อิทธิพลขอมจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19 และได้ส่งต่อเมืองหนองหารหลวงให้กับอาณาจักรน้องใหม่ชื่อว่า "ล้านช้าง" มีศูนย์กลางอยู่ที่นครหลวงพระบางและนครเวียงจันทร์ พวกเขาได้คัดแปลงปราสาทปรธานจากศิลปะขอมมาเป็นเจดีย์ศิลปะล้านช้างและตั้งชื่อใหม่ว่า "พระธาตุเชิงชุม"

"อนึ่ง ตำนานอุรังคธาตุซึ่งเป็นเรื่องราวของนครหนองหารหลวงมีการกล่าวว่าหลังจากสิ้นยุค

สมัยของพระยาสุวรรณภิงคารเมืองนี้ประสบกับฝนแล้งติดต่อกันหลายปี ผู้ปกครองนครและบรรดาบ่าวไพร่พร้อมกับพลเมืองได้อพยพกลับไปยังอินทปัตย์นครและปล่อยให้หนองหารหลวงกลายเป็นเมืองร้าง ตำนานนี้น่าจะสอดคล้องกับเรื่องราวของ"ปราสาทภูเพ็ก" ที่สร้างไม่เสร็จมีเพียงฐานรากและผนังของห้องปรางค์ประธาน ถูกทิ้งร้างตากแดดดตากฝนอย่างเดียวดาย บนยอดภูเขาที่เป็นป้าทึบ
และหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ ตั้งแต่พุทธศตวรรม์ที่ 19 ล่วงมาถึงพุทธศตวรรม์ที่ 25 ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสชื่อเอ็นเตี้ยน อะ โมนีเยร์ (Etienne Aymonier) ได้มาสำรวจโบราณสถานที่เมืองสกลนครและตีพิมพ์ผลงานเป็นภาษาฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ.2444 ระบุว่าเมืองสกลนครมีประชากรเพียง 300 ครัวเรือน ตั้งถิ่นฐานอยู่รอบๆพระธาตุเชิงชุม แต่ก็ไม่มีการกล่าวถึงชื่อปราสาทภูเพ็กแม้แต่คำเดียว ต่อมาปี พ.ศ.2449 กรมพระยาดำรงราชาชานุภาพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เสด็จมาตรวจราชการที่ จ.สกลนครและมีบันทึกเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2449 กล่าวถึงพระธาตุเชิงชุม พระธาตุดุม สะพานขอม และถนนขอมที่เชื่อมจาก
ตัวเมืองไปยังปราสาทขอมที่เรียกชื่อว่า "พระธาตุอรดีมายานารายณ์เจงเวง" แต่ก็ไม่ได้เอ่ยชื่อ"ปราสาทภูเพ็ก"จวบจน พ.ศ.2476 ชื่อ "ปราสาทภูเพ็ก" กลับมาปรากฎในหน้าประวัติศาสตร์อีกครั้ง เมื่อกรม
ศิลปากรส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจและนำไปขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478"

ต่อมาราว พ.ศ.2490 นายเตียง ศิริขันธ์ สส.สกลนคร นำราษฎรขึ้นไปปรับพื้นพื้นที่บริเวณปราสาทให้ดูมีสง่าราศีขึ้น แต่ปราสาทหลังนี้ก็ยังไม่ค่อยได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปเพราะดูแล้วเหมือนสิ่งก่อสร้างที่ไม่สมบูรณ์มีเพียงฐานรากและห้องปรางค์ประธาน ผิดกับปราสาทขอมอื่นๆที่กรมศิลปากรให้การซ่อมแชมและปรับแต่ง เช่น ปราสาทนารายณ์เจงเวง ปราสาทคุม และปราสาท
บ้านพันนา วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2544 ตนและทีมงานได้สำรวจปราสาภูเพ็กอย่างละเอียดและยืนยันว่าปราสาทหลังนี้หันหน้าไปที่มุมกวาด 90 องศา ตรงกับปรากฎการณ์ดาราศาสตร์ "วิษุวัต" (กลางวันเท่ากับกลางคืน) สอดคล้องกับปฏิทิน "มหาศักราช" ที่อาณาจักรขอม
ใช้ในยุคโบราณ จึงร็อกปราสาทหลังนี้ว่า "สุริยะปฏิทิน" ซึ่งต่อมาปี พ.ศ.2547 การสื่อสารแห่งประเทศไทยอออกแสตมป์ที่ระลึกในชุด Unseen Thailand โดยมีปราสาทภูเพ็กรวมอยู่ในแสตมป์ชุดดังกล่าว ปัจจุบันปราสาทหลังนี้กลายเป็นจุดสนใจของผู้คนที่มีความเชื่อเรื่อง
การรับพลังสุริยะโดยมาประกอบพิธีในวันสำคัญของสุริยะปฏิทิน คือ "วสันตวิษวัต 21 มีนาคมาคม"
และ "ศารทวินุวัต 23 กันยายน"

นอกจากตัวปราสาทภูเพ็กแล้วทีมงานชมรมอารยธรรมสกลนคร ซึ่งนายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน เป็นประธาน ได้ค้นพบสิ่งก่อสร้างอื่นที่เป็นองค์ประกอบของตัวปราสาท เช่น ฝ่ายเก็บน้ำบนภูเขาทำด้วยหินทราย เนินดินลึกลับที่เรียงตัวเป็นเส้นตรงชี้ไปยังมุมกวาด 80 องศาตรงกับราศีเมษและปราสาทลูกที่สร้างได้เพียงฐานรากซ่อนตัวอยู่ในป้า รวมทั้งแหล่งตัดหินและบริเวณไซด์งานที่ น่าจะเตรียมไว้ก่อสร้างปราสาทบริวารกระจายอยู่ทั่วไปบบนเชิงภูเขา เมื่อพิจารณาตามหลักฐานเชิง
กายภาพของวัตถุพยานแล้วเชื่อได้ว่าหากทุกอย่างมีการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ตามแผนงานก็น่าจะเป็นนครที่ยิ่งใหญ่ตั้งอยู่บนภูเขา แต่ด้วยการที่ทุกอย่างหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ราว 600 ปี จึงถูกตั้งชื่อว่า "ปราสาทภูเพ็ก นครโบราณที่สาบสูญ" นายสรรค์สนธิ กล่าว

/////////////////// วัฒนะ แก้วก่า/สกลนคร 0819541528

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 กันยายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...