ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
กาฬสินธุ์ ปลูกป่าภูเขาเปลี่ยนสีภูสิงห์ ปี 2
05 ส.ค. 2567
พ่อเมืองกาฬสินธุ์ นำทัพภาคีเครือข่ายภาครัฐ-เอกชน เดินหน้าปลูกป่าต้นไม้เปลี่ยนสีภูสิงห์ ปี 2 อนุรักษ์ผืนป่าพร้อมสร้างมนต์เสน่ห์รูปแบบใหม่ดึงดูดนักท่องเที่ยว
 
(06 ส.ค.67) ที่บริเวณลานธรรมมรรค 8 ยอดเขาภูสิงห์ อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยนายธวัชชัย รอดงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นายคมสัน นิลยองตระกูล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกาฬสินธุ์ นายจารุวัฒน์ ภูแก้ว นายอำเภอหนองกุงศรี นางสาวแววตา นระทัด นายอำเภอสหัสขันธ์ นางสาวชนิดา ตั้งเทวนนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ ประชาชน และสื่อมวลชนร่วมกันปลูกต้นจ้นทองอุไร ลีลาวดี และราชพฤกษ์ เพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูผืนป่าภูสิงห์ให้กลับมาเป็นสีเขียวภายใน 2 ปี 
 
 
ดร.วัชรพงศ์ ชาวสามทอง นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า จังหวัดกาฬสินธุ์ มีทรัพยากรที่ตอบโจทย์ของนักท่องเที่ยวในหลากหลายมิติ อาทิเช่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural Tourism) ซึ่งภาคอีสานขึ้นชื่อเรื่องวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย พระธาตุยาคูมีทะเลธุง วัดพุทธนิมิตที่มีพระพุทธไสยยาสน์ตะแคงซ้าย วัดภูสิงห์มีพระพรหมภูมิปาโล มีวัฒนธรรมภูไท ผ้าไหมแพรวาที่ขึ้นชื่อว่าเป็นราชินีแห่งไหม, การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro Tourism) จังหวัดกาฬสินธุ์มีเขื่อนลำปาวที่เป็นเขื่อนที่มีสันเขื่อนเป็นดินที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการทำการเกษตร และยังเป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งก้ามกรามที่มากที่สุดในประเทศไทย, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ผ่านวัฒนธรรมการกินอาหารอีสานให้เป็นยาสมุนไพรโดยไม่ต้องพึ่งยารักษาโรค อีกทั้งยังเป็นแหล่งปลูกสมุนไพรส่งอภัยภูเบศแต่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นผลิตภัณฑ์ของเราเองเท่าที่ควร, การท่องเที่ยวเชิญผจญภัย (Adventure Tourism) ขณะนี้จังหวัดกาฬสินธุ์กำลังผลักดันการค้นพบซากไดโนเสาร์ให้เป็นวนอุทยานทางธรณี (GEOPark) ส่งผาแดงเข้าประกวด Unseen Thailand, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ (Nature-Based Tourism) เป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ซึ่งทางผู้จัดได้จัดกิจกรรมแรลลี่และปลูกป่าภูเขาเปลี่ยนสี ณ ภูสิงห์ โดยในวันที่ 17-18 มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมาเป็นปีแรก
 
 
ดร.วัชรพงศ์ กล่าวอีกว่า ส่วนในวันนี้ (4 ส.ค. 2567) กิจกรรมปลูกป่าภูเขาเปลี่ยนสี ณ ภูสิงห์ เป็นปีที่ 2 นอกจากได้ระบบนิเวศน์กลับคืนมา ลดโลกร้อนแล้ว ยังมุ่งหวังที่จะให้ภูสิงห์แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคนมาเยือนตลอดทั้งปี โดยมีการปลูกไม้ป่าที่มีดอกไม้บานตามฤดูกาลทั้งปี สลับปรับเปลี่ยนสีตามฤดูกาล โดยมีแรงบันดาลใจจากไปเห็นที่ประเทศญี่ปุ่น คือมีดอกซากุระบานในเดือนเมษายน และต้นไม้เปลี่ยนสีในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ซึ่งโครงการนี้จะเป็นโครงการระยะยาวต่อเนื่องกันหลายปี ปีนี้เป็นโครงการในเฟสสอง โดยปลูกที่บริเวณลานธรรมมรรค 8 บนยอดเขาภูสิงห์ ปีนี้ปลูกพันธุ์ไม้ 3 ชนิด คือ ลีลาวดี ต้นทองอุไร และต้นราชพฤกษ์ (ต้นคูน) งานนี้จะสำเร็จลุล่วงไปไม่ได้ ถ้าขาดผู้สนับสนุนโครงการ ประกอบด้วย ผู้นำทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้นำท้องถิ่น ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาอันเป็นกุศลที่มาร่วมงานทุกท่าน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดงานในปีต่อๆ ไปจะได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนด้วยดีเช่นเคยเหมือนกับการจัดงานในปีนี้ ส่วนในปีหน้านั้นเราจะมีการพัฒนารูปแบบของการจัดกิจกรรมปลูกป่าเป็นอย่างไรนั้น ก็ขอให้ทุกท่านรอติดตามชมได้ในเร็วๆ นี้
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...