จัดนิทรรศการโครงการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคตะวันตก ประจำปีงบประมาณ 2567
วันที่ 27 สิงหาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ว่าที่ร้อยตรีศุภมงคล บูชาถ่ายเทศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานเปิดนิทรรศการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ณ.ห้องประชุมอรพิน อาคารบริการวิชาการและบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยมีผศ.ดร.พจนีย์ สุขชาวนา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี กล่าวต้อนรับ
นายเฉลิมพล กล้าขยัน ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรมสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน)กล่าวถึงโครงการและการสนับสนุนทุน,ดร.ปิยะพร พิทักษ์ตันสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี กล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการ พร้อมด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้เผือก ผู้แทนเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรีเพชรบุรี สุพรรณบุรี ,ผู้แทนภาคอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี,ผู้จัดการธนาคาร SME จังหวัดราชบุรี,คณะนักวิจัย,คณบดี คณาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เข้าร่วมเปิดโครงการกันอย่างพร้อมเพรียง
ท้ังนี้เพื่อเป็นการสร้างนวัตกรด้านสังคม พัฒนาแนวคิดสู้ต้นแบบโครงการนำร่อง สร้างหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมและเครือข่ายนวัตกรรมเพื่อเป็นแนวทางดำเนินงานในพื้นที่ภาคตะวันตก ก่อให้เกิดการส่งเสริมเครือข่ายนวัตกรรมเพื่อสังคมด้วยการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ การวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย อีกท้ังเป็นการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของนวัตรรมอย่างยั่งยืน และสร้างผลกระทบเชิงสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมอันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้มีความเท่าเทียมกันในสังคม
สำหรับการดำเนินโครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคตะวันตกประจำปีงบประมาณ 2567นี้ ทางสถาบันวิจัยได้ดำเนินการจัดตั้งโครงการแล้วเสร็จรวม12 โครงการในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วย
1 นวัตกรรมด้านเกษตรกรรม อาหาร แปรรูป ประกอบด้วย
-การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยึดอายุการเก็บรักษาผักกาดดองโบราณสูตรแต้จิ๋วเสริมโพรไบโอติกจังหวัดกาญจนบุรี
-ผลิตภัณฑ์โปรตีนจากผำผสมข้าวน้ำตาลทางเลือกสูงวัยสุขภาพดี
-การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มผงสำเร็จรูปจากการถั่วดาวอินคา
-ชุดโครงการประกอบผลิตไฟฟ้าเอนกประสงค์เพื่อเกษตรกรรมขนาดเล็กเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรเป็นการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
-การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดผงต้นกล้วยและเครื่องสำอางจากสารสกัดกล้วยหอมทอง
-การเพิ่มมูลค่าเศษปลาเหลือทิ้งจากการแปรรูปอาหารทะเลในท้องถิ่นเป็นแหล่งโปรตีนเสริมในอาหารสัตว์สำหรับกลุ่มเกษตรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองในจังหวัดเพชรบุรี
2นวัตกรรมด้านผู้สูงวัย สุขภาพ และบริการสุขภาพ
-การพัฒนาผลิตภัณฑ์โจ๊กข้าวกล้อง กข43 รสปลาเสริมแคลเซียมจากก้างปลา
-ชุดดัดแปลงวีลแชร์ให้เป็นวีลแชร์ไฟฟ้า DIY ต้นทุนต่ำชนิดขับเคลื่อนด้วยมือ สำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ยากไร้
3 นวัตกรรมด้าน Soft Powet
- เรื่องกล้วย กล้วยช่วยชุมชน นวัตกรรมหนังทดแทนจากกล้วยไทย เพื่อการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย Soft Power
- ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม อา กา เว่ ไทย โดยการนำเส้นใยมาทักถอและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน
-การบริหารจัดการการผลิตและจำหน่ายแบบแม่นยำร่วมกับการส่งเสริมการรับรู้ขนมหวานเมืองเพชรด้วยDigital makerting สู่ soft power ขนมไทย
-เที่ยวให้พอ นวัตกรรม Incremetal Innovation เพื่อสร้างการจัดการฟาร์มชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงเกษตรนิเวศ ช่วยลดการละทิ้งถิ่นฐานและการขายที่ดินทำกินก่อให้เกิดกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อมในชุมชนสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง เป็นต้น
........ปล่อยเสียง อาจารย์โครงการจาก ม.ราชภัฎกาญจน์ และชาวต่างประเทศ.............
///////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์