วันที่ 12 กันยายน 2567 นายอรรถสิทธิ์ ทองแสง ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า ทางเรือนจำ ได้เชิญ ดร.กัลยาณี ธรรมจารีย์ นายกสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวศรีสะเกษ มาเป็นวิทยากรภายนอกเพื่ออบรมให้ผู้ต้องขังฟัง ในหัวข้อ “การเข้าใจชีวิตและคุณค่าของตัวเอง ” ซึ่งมีผู้ต้องขังเข้ารับอบรม จำนวน 70 คน โดยมี ว่าที่ ร้อยตรี ณทียศ อาจภักดี ผอ.ส่วนพัฒนาผู้ต้องขัง นายณัฐพงศ์ ศิริธรรมานันท์ อนุศาสนาจารย์ ผู้ประสานงานเรือนจำ นายไพฑูรย์ ทองพันชั่ง หัวหน้าฝ่ายการศึกษาและพัฒนาจิตใจ นายธงชัย โคตรสุข ผอ.ส่วนข้าราชการราชทัณฑ์ นำผู้ต้องราชทัณฑ์ของเรือนจำฯเข้าอบรม โครงการนี้เป็นโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มผู้ติดยาเสพติดและผู้ค้ารายย่อย ในเรือนจำ/ทัณฑสถาน หลักสูตร 12 วัน 60 ชั่วโมง รุ่นที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2567 .
ดร.กัลยาณี ธรรมจารีย์ นายกสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวศรีสะเกษ กล่าวว่า ได้นำวีดีโอของ นิค วูจิซิค ผู้เป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทั่วโลก! ผู้ที่ใช้ความพิการของตนสร้างงานจนเป็นที่ยอมรับ สามารถมีรายได้ และทำประโยชน์ให้คนเห็นแบบอย่าง ปลุกเร้าทุกคนให้มีความพยายามทำอะไรได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้ต้องขังต่างสนใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้ความสำคัญกับการเป็นมนุษย์ที่รู้คุณค่าของตนเอง และบอกว่าจะตั้งใจทำความดีเพื่อให้ได้ออกไปในเร็ววัน จะได้ประกอบอาชีพสุจริตไปทำประโยชน์ให้ครอบครัวและสังคม และภายหลังเสร็จสิ้นจากการบรรยาย นายอรรถสิทธิ์ ทองแสง ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ ได้พาไปชมคาร์แคร์ของเรืออนจำ และ ร้านกาแฟที่ทางเรือนจำกำลังปรับพื้นที่เตรียมเปิดกิจการเพื่อสร้างงานให้ผู้ต้องขังได้มีอาชีพ
นายอรรถสิทธิ์ ทองแสง ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ร้านกาแฟหับเผย by ฅนดี คอฟฟี่ และฅนดี คาร์แคร์ เกิดจากแนวคิดการฝึกวิชาชีพภายนอกเรือนจำรูปแบบใหม่ให้ตรงกับความตัองการของตลาดแรงงานและสังคมในปัจจุบัน จึงได้นำแนวคิดการฝึกวิชาชีพให้กับผูัตัองขังของเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อให้เป็นทางเลือกของอาชีพภายหลังพ้นโทษ เพื่อเตรียมความพร้อมในการคืนคนดีกลับสู่สังคมตามนโยบายของกรมราชทัณฑ์และการนำกิจกรรมการฝึกวิชาชีพการจำหน่ายกาแฟ การจำหน่ายขนมเบเกอรี่ และการฝึกวิชาชีพคาร์แคร์ ถือว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ ที่นำแนวคิด การสร้างงานและอาชีพที่ตลาดสังคมภายนอกตัองการ สามารถนำไปประกอบอาชีพไดัภายหลังพ้นโทษ ทั้งการเป็นเจ้าของกิจการหรือลูกจ้าง ตามสถานประกอบการต่างๆ ซึ่งแต่เดิมเรือนจำฯ จะฝึกแค่วิชาชีพ เน้นช่างไม้ ช่างเฟอร์นิเจอร์ ช่างแกะสลัก หรือการสานตะกร้า หรือช่างเย็บผ้า และการทำอาหารในเรือนจำ สำหรับในช่วงนี้เป็นการดำเนินการในขั้นทดลองระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัด จะได้มาเปิดร้านกาแฟหับเผย และคาร์แคร์ ต่อไป.