ภาษาอังกฤษในฐานะเป็นภาษาสากลที่ในสื่อสาร และเรียนรู้ ความรู้ภาษาจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการศึกษาค้นคว้าทั้งการเรียน บทความ ในการเรียน และค้นคว้า รวมทั้งใช้ในการประกอบอาชีพ วันนี้แนะนำศูนย์ใหม่ เป็นศูนย์กลางทดสอบภาษาอังกฤษ ของมหาวิทยาลัย โดยนางเพ็ญพิชชา พลชาติ เดวิส ชื่อเล่น “น้ำผึ้ง” รักษาการแทนผู้อำนวยการ ศูนย์ทดสอบวัดความสามารถภาษาอังกฤษและพัฒนาสื่อดิจิทัล (Center for English Proficiency Testing and Digital Media Development : KMUTNB-CEM) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เล่าให้ฟังว่า ศูนย์ทดสอบวัดความสามารถภาษาอังกฤษและพัฒนาสื่อดิจิทัล (CEM) ได้จัดตั้งเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2566 โดยสภามหาวิทยาลัย มีมติจัดตั้งภายใต้สังกัดสำนักงานอธิการบดี ชื่อย่อ CEM เป็นหน่วยงานน้องใหม่ ในการดูแลของศ. ดร. เสาวณิต
สุขภารังษี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นหน่วยงานส่วนกลางที่มีหน้าที่หลักด้านการให้บริการในรูปแบบ 2
กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานจัดสอบ และกลุ่มงานสื่อ
วัตถุประสงค์ของ “CEM” เป็นหน่วยงานเพิ่มประสิทธิภาพการทดสอบความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ จัดทำคลังข้อสอบภาษาอังกฤษ ประมวลผลและเก็บข้อมูลให้กับนักศึกษาที่จะจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อสามารถนำไปใช้ประกอบการจบการศึกษา (Exit Exam) และประกอบการสมัครงาน รวมถึงส่งเสริมนักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัย บุคคลภายนอกตระหนักถึงความสำคัญในการนำทักษะด้านภาษาอังกฤษมาปรับใช้ในการพัฒนาตนเองและการทำงาน การพัฒนาและจัดทำสื่อดิจิทัล มีจุดประสงค์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตดังวิสัยทัศน์ การยกระดับความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้นักศึกษา ตลอดจนบุคลากรพัฒนาความรู้รับกับยุทธศาสตร์ที่ 4 ตามเป้าประสงค์ที่ 4.1 พัฒนาบุคลากรให้มีคุณลักษณะเฉพาะบุคคล (SMART People) ตามตัวชี้วัดวัด 4.1.2 บุคลากรสามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้ตามเกณฑ์ที่กําหนด
ลักษณะกลุ่มงานจัดสอบ หน้าที่หลักในการจัด English Exit Exam หรือการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษาปริญญาตรี ก่อนจบการศึกษา อีกทั้งยังจัดสอบภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาชั้นปีอื่น ๆ บุคลากรของมหาวิทยาลัย หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ หน่วยงานมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการจัดสอบระบบออนไลน์รองรับผู้เข้าสอบจำนวน 47 ที่นั่ง นอกจากการจัดสอบภาษาอังกฤษแล้ว กลุ่มงานนี้ยังเป็นส่วนช่วยในการจัดกิจกรรมสัมมนาเสริมทักษะภาษาอังกฤษให้กับบุคลากรสายสนับสนุนทางวิชาการของมหาวิทยาลัย ส่วนกลุ่มงานสื่อ เป็นกลุ่มมีหน้าที่จัดทำ วิดีทัศน์ Live ที่ทันสมัย ตอบโจทย์เปลี่ยนแปลงของการศึกษาให้กับผู้เรียนยุคใหม่ CEM มีห้อง Studio รองรับ สามารถบันทึกภาพ บันทึกวิดีโอ และบันทึกเสียง จำนวน 2 ห้อง โดยการทำงานของ CEM หลักๆ เป็นหน่วยงานบริการ ส่วนกลางที่ทำหน้าที่สอดรับแผนพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัย ด้านการสนับสนุนนักศึกษา บุคลากร และสังคม ให้มีความพร้อมเตรียมตัวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก มีทักษะที่พึงประสงค์ตามศตวรรษที่ 21 พร้อมทั้งสนับสนุนรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
เมื่อเร็วๆ นี้ มีประกาศจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการสอบให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ทดสอบความรู้ทักษะภาษาอังกฤษ มีมาตรฐานเทียบเคียง CEFR (Common European Framework of Reference for Languages) ก่อนสำเร็จการศึกษา ทางศูนย์ฯ ได้ขานรับและให้เห็นความสำคัญจัดการสอบให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ทดสอบความรู้ทักษะภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังเป็นภารกิจที่ท้าท้ายสอดคล้องกับอัตลักษณ์ที่ว่า “ศูนย์กลางด้านการบริการทดสอบภาษาอังกฤษและสื่อดิจิทัล” และสามารถตอบโจทย์ของศูนย์ฯ ที่ให้ความสำคัญในด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและอย่างต่อเนื่อง เพื่อการดำรงชีวิตให้ก้าวทันสถานการณ์โลก
ดังคำกล่าวที่โด่งดังของ มหาตมะ คานธี “Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.”
อย่างไรก็ตามแผนกิจกรรมของศูนย์ฯ ได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ มาเป็นลำดับ รายละเอียด ดังนี้
- จัดโครงการทดสอบวัดสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษ แก่นักศึกษา บุคคลากร และบุคคลภายนอก อย่างต่อเนื่อง ทุก ๆ เดือน มีระบบการลงทะเบียนสอบที่ทันสมัย รองรับการโอนเงิน และเลือกวันเข้าทดสอบในระบบออนไลน์
- วันที่ 5 มกราคม 2567 โดยเชิญชวนหน่วยงาน นักศึกษา บุคลากร มจพ. และผู้สนใจ เข้ารับฟังการการแนะนำโปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษ Speexx Core เพื่อทางเลือกที่เพิ่มผลสมิทธิทางภาษาอังกฤษในการทดสอบ และเป็นการประชาสัมพันธ์หน่วยงานอีกทาง
- รวมทั้งให้บริการอบรมภาษาอังกฤษแก่ หน่วยงานของมหาวิทยาลัย ได้จัดอบรม แก่บุคคลากรสำนักงานอธิการบดี โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ในวันที่ 6 - 7 มิถุนายน 2567
ทั้งนี้ แผนงานในอนาคตของศูนย์ทดสอบวัดความสามารถภาษาอังกฤษและพัฒนาสื่อดิจิทัล ได้วางนโยบายไว้ที่โครงการและกิจกรรมที่เน้นทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และความรู้นอกห้องเรียน อาทิเช่น
การสนทนาภาษาอังกฤษ สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เปิดมุมมองการเตรียมตัวเป็นส่วนหนึ่งของสมาคมโลก (Global Citizen) ทักษะการถ่ายภาพเบื้องต้น พร้อมการพรีเซนต์สื่อให้ทันสมัย และอื่น ๆ อีกมากมาย เพราะความรู้สำคัญต่อชีวิต และการเรียนรู้ไม่ควรหยุดแค่เพียงในห้องเรียน
สุดท้ายนี้ ผอ. น้ำผึ้ง ฝากทิ้งท้ายว่า ขอเชิญชวนนักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจร่วมกิจกรรม และเข้ารับการทดสอบเพื่อวัดทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ในการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และประกอบอาชีพ รวมถึงเป็นการยกระดับและทักษะแห่งอนาคต หรือ future skill อย่างการพัฒนาด้าน hard skill คือความสามารถ หรือทักษะทางวิชาชีพ และการพัฒนา soft skill คือความสามารถหรือทักษะทางบุคลิกภาพ เพื่อก้าวสู่การเป็นสังคมเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทดสอบวัดความสามารถภาษาอังกฤษและพัฒนาสื่อดิจิทัล (KMUTNB-CEM) อาคาร 73 มจพ. วิทยาเขตกรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-555-2272, 2275 , 2276, และ 2277 หรือที่เว็บไซต์ https://cem.kmutnb.ac.th/ หรือ cem@op.kmutnb.ac.th