ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
มูลนิธิฯแม่น้ำแคว มอบ 80 ทุนการศึกษา ประจำปี 2567
29 ก.ย. 2567

วันนี้ 28 กันยายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณอาคารเบญจรงค์ โรงเรียนเทศบาล 5 กระดาษไทยนุเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี  คุณสุวรรณา  ศุภชาติไกรศร  ประธานมูลนิธิสันติภาพแม่น้ำแคว  พล.อ.วิทยา จินตนานุรัตน์ รองประธานมูลนิธิ  คุณกฤตวิทย์  ศุภชาติไกรสร  เหรัญญิก  คุณสุวรรณา จินตนานุรัตน์ เลขานุการ  พล.ต.ศรชัย มนตริวัตร  คุณวินิจ โรจนวงศ์  ประธานมูลนิธิสมาคมสื่อมวลชนกาญจนบุรี  นายวสันต์ ภูษิตกาญจนา นายกเทศมนตรีเมืองกาญจน์  ได้เข้าร่วมพิธีมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษา ที่เรียนดีแต่ประสบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องทุนทรัพย์ของมูลนิธิสันติภาพแม่น้ำแคว เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวกาญจนบุรี ที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของความยากจน โดยเร่งเห็นนักเรียน นักศึกษาแต่ละคนเรียนดี เรียนเก่ง ทางมูลนิธิสันติภาพแม่น้ำแควให้การสนับสนุนทุกๆปี และในวันนี้ ทางมูลนิธิสันติภาพแม่น้ำแควได้จัดให้มีพิธีมอบทุนการศึกษาขึ้นทั้งหมด 80 ทุน ได้แก่
1.โรงเรียนวัดไชยชุมพลชนะสงคราม จำนวน 10 ทุน
2.โรงเรียนสังกัดเทศบาล 1-5 เมืองกาญจน์ จำนวน 25 ทุน
3.โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 45 จำนวน 10 ทุน
4.โรงเรียนสังกัดสมาคมสื่อมวลชนกาญจนบุรี จำนวน 5 ทุน
5.โรงเรียนดูแลโดย นางสุวรรณา จินตนานุรัตน์ จำนวน 5 ทุน
6.บุตร-ธิดาของกำลังพล กองพลทหารราบที่ 9 จำนวน 5 ทุน
7.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรีช จำนวน 10 ทุน
8.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี จำนวน 10 ทุน

ต่อจากนั้นนางสุวรรณา  ศุภชาติไกรสร ได้กล่าวให้โอวาทแก่นักเรียน นักศึกษาและนักศึกษาพยาบาล และทางมูลนิธิสันติภาพแม่น้ำแคว ยังได้แจกอาหารแก่เด็กทุกๆ คนที่ได้เข้ารับทุนการศึกษาในปี 2567 และจากสถานการณ์โควิด 19 ทางมูลนิธิสันติภาพแม่น้ำแคว ไม่ได้มอบทุนมาประมาณ 5 ปี เพิ่งจะมามอบในปี 2567
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2543 ...เหมือนฟ้าสั่่ง...สวรรค์แกล้ง... ขอเล่าประวัติของนายทากาชิ นากาเซ่ และภรรยา 2 สามีภรรยา ชาวญี่ปุ่นในสมัยที่ท่านทั้ง 2 ยังมีชีวิตอยู่ และปัจจุบันนี้ท่านทั้ง 2 ได้เสียชีวิตไปแล้วหลายปี พร้อมตั้งมูลนิธิสันติภาพแม่น้ำแคว เพื่อเด็กกาญจนบุรี ซึ่งที่มาของการมอบทุนการศึกษาแก่เด็กไทยสืบเนื่องมาจาก  นายทาเคชิ นากาเซ่ ( ฟูจิวาร่า ) [ MR. TAKASHI NAGASE ( FUJIWARA ) ] ซึ่งเป็นประธานมูลนิธิสันติภาพแห่งแม่น้ำแคว และในอดีตทหารล่ามญี่ปุ่น สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เจ้าของสถาบันสอนภาษาอาโอยาม่า และนักเขียนเจ้าของนามปากกา "นากาเซ่ ทาเคชิ" อดีตทหารสงครามโลก ครั้งที่ 2 เขาคืออดีตทหารล่ามของกองทัพญี่ปุ่น วัย 21 ปี เมื่อ พ.ศ.2485-2488

ซึ่งเป็นช่วงหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาทำหน้าที่เป็นล่ามและผู้ทรมานเชลยศึก ณ บริเวณเส้นทางรถไฟสายมรณะ นากาเซ่ เคยทรมานเชลยศึกของฝ่ายสัมพันธมิตร อีริค โลแม็กซ์ ซึ่งเป็นทหารอังกฤษ ขณะนั้นวัย 22 ปี ถูกจับเพราะถูกสงสัยว่าเป็นสายลับ มาทารุณด้วยการฉีดน้ำเข้าไปในปากและจมูก เต็มท้องและท่วมปอด โลแม็กซ์เจ็บปวดและทุกข์ทรมาน ถึงกับร้องเรียกหาแม่ ภาพนั้นสะเทือนใจนากาเซ่ ยิ่งนักเขาบอกความในใจขณะกลั้นน้ำตาว่า “จะเป็นอย่างไร ถ้าแม่ได้เห็นลูกชายของเธอในสภาพแบบนี้” ทุกวันนี้เขายังคงนึกถึงภาพนั้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสำนึกผิด ความรู้สึกเช่นนี้ทำให้เขาต้องเดินทางมาไว้อาลัยต่อเชลยศึกที่กาญจนบุรี อย่างสม่ำเสมอ พูดได้ว่าแทบจะทุกเดือนในแต่ละปี  เขาเดินทางมาเมืองไทย พร้อมกับลูกบุญธรรมวัย 50 ปี และเลขานุการส่วนตัวของเขา ระหว่างการค้นหาศพผู้ตายหลังสงคราม คือจุดเปลี่ยนทั้งชีวิตของนากาเซ่ บทบาทการเขียนและปาฐกถาจึงเริ่มขึ้น การวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อกองทัพญี่ปุ่น รวมทั้งระบบจักรพรรดิที่นิยมสงคราม สมควรที่จะถูกล้มเลิก ทุกวันนี้เขาพูดว่า “จักรพรรดิญี่ปุ่นควรขอโทษอย่างสำนึกผิดต่อสิ่งที่ได้กระทำในนามของพระองค์” แต่ความคิดนี้ ไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น ที่ไม่เคยคิดชอบการกระทำของเขา ชีวิตที่เหลืออยู่ของเขา จึงหวังเพียงให้เส้นทางรถไฟสายมรณะไทย-พม่าได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกโดยสหประชาชาติ 
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2543 ...เหมือนฟ้าสั่่ง...สวรรค์แกล้ง... ผ่านพ้นไปหลายสิบปีแล้ว... ทากาชิ นากาเซ่ อดีตทหารล่ามญี่ปุ่นที่คุมค่ายเชลยเมืองกาญจน์ ยังคงเดินทางมาเยี่ยมสุสานทหารพันธมิตรกาญจนบุรีหลายสิบครั้ง และได้ก่อตั้งมูลนิธิสันติภาพแม่น้ำแคว (The River Kwai Peace Fnd.) ขึ้น ขณะที่เออเนสต์ กอร์ดอน ทหารสก๊อต ที่กลายเป็นบาทหลวงผู้เคร่งศาสนา ก็มาเยี่ยมที่นี่เช่นกัน...ใช่แล้ว...สองศัตรูคู่อาฆาตมาพบกัน ณ วันเวลาที่ฟ้ากำหนด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 ตุลาคม 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...