ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
65 ปี วช. เชิญชมนิทรรศการ ราชประศาสนศาสตร์ 21-24 ต.ค. นี้
19 ต.ค. 2567

คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ขอเชิญชมนิทรรศการ ราชประศาสนศาสตร์ ที่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 21-24 ตุลาคม 2567 นี้

คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ขอเชิญชวนประชาชนและผู้ที่สนใจ ชมนิทรรศการ ผลงานของเยาวชนจากโครงการวิจัยชุดราชประศาสนศาสตร์ จากผลงานนักศึกษาในพื้นที่ศึกษา 76 จังหวัด จาก 77 สถาบันการศึกษา ณ ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยเพื่อมรดกทางวัฒนธรรม อาคาร 8 ชั้น 2 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 21-24 ตุลาคม 2567 นี้

รศ.ดร.วลัยพร รัตนเศรษฐ คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2564 จนถึงปัจจุบัน ทางคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในวาระครบรอบการสถาปนา 65 ปี ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ( วช.) กระทรวง อว. ได้รับมอบหมายให้จัดนิทรรศการแสดงผลงานของเยาวชนจากงานวิจัย ได้แก่ 1.งานวิจัยราชประศาสนศาสตร์สองสมัย 2.งานวิจัยราชประศาสนศาสตร์สองสมัย (องก์2) 3.งานวิจัยสืบสาน รักษา ต่อยอดราชประศาสนศาสตร์ (องก์ 3) 

งานวิจัยทั้งสามโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งร่วมกัน คือ เพื่อต้องการหารูปแบบในการพัฒนาศักยภาพเยาวชนในการเข้าถึงราชประศาสนศาสตร์ ผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การเข้าถึงพระมหากรุณาธิคุณเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีส่วนร่วมในการศึกษาข้อมูลการพัฒนาประเทศในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และได้เรียนรู้เกี่ยวกับพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์

โดยในการตอบวัตถุประสงค์ดังกล่าว โครงการแรกมีพื้นที่ดำเนินการวิจัยในภาคกลาง ตะวันออกและตะวันตก รวมกรุงเทพมหานคร 26 จังหวัด โดยมีสถาบันในพื้นที่เข้าร่วม 27 สถาบันการศึกษา โครงการที่สอง มีพื้นที่การศึกษาใน 17 จังหวัดภาคเหนือ โครงการที่สาม มีพื้นที่การศึกษาใน 34 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ 

 

โดยมีกิจกรรมบรรยาย ประชุมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมผู้นำเพื่อผู้นำ และกิจกรรมผู้นำต่อยอด นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงาน 4 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 เป็นรูปแบบที่ออกแบบด้วย Storytelling โดยตั้งคำถามว่า โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในจังหวัดที่เยาวชนสนใจสามารถบอกเล่าเรื่องราวให้ผู้อื่นรับรู้เรื่องนี้ได้อย่างไร เช่น การเล่าเรื่อง การกล่าวสุนทรพจน์ การทำอินโฟกราฟิก การแต่งกลอน บทเพลง หรือแม้แต่ผ่านเครื่องดนตรี รูปแบบที่ 2 คือการให้นักศึกษาตกผลึกความคิด รู้ที่มาที่ไปของปัญหา โดยวิเคราะห์สาเหตุและผลของปัญหา สร้างแผนผังความคิดเพื่อแสดงปัญหา สาเหตุ และผลลัพธ์ของโครงการ จากนั้นรูปแบบที่ 3 คือ การเผยแพร่ การเข้าถึงโครงการพระราชดำริผ่านโซเชียลมีเดีย เพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการ ทั้งทางเพจ Tiktok Website  Instagram Facebook สร้างการรับรู้และเข้าถึง และรูปแบบที่ 4 เป็นการระดมสมองเพื่อจัดทำข้อเสนอความคิดต่อยอดโครงการพระราชดำริต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน

“การดำเนินการโครงการนี้ สำเร็จจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งสถาบันการศึกษา จังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การลงพื้นที่ไปทั่วประเทศพบว่า เยาวชนจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศมีความตั้งใจ มีความสร้างสรรค์อย่างมาก และตั้งใจศึกษาข้อมูลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนกระทั่งได้ผลงานที่มานำเสนอในงานนิทรรศการครั้งนี้ โดยจะมี 77 ผลงาน ที่มาจาก 77 สถาบันการศึกษา 76 จังหวัด และรวมกรุงเทพมหานคร นิทรรศการนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนไทย ต่อการพัฒนาประเทศผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผย

นอกจากนี้ รศ.ดร.วลัยพร ยังเปิดเผยอีกว่า การจัดนิทรรศการเนื่องในโอกาสครบรอบ 65 ปี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ งานนิทรรศการนี้ถือเป็นงานใหญ่และเป็นเกียรติมาก ขอขอบคุณสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่กรุณาสนับสนุนงานวิจัยและให้โอกาสในการร่วมจัดนิทรรศการในครั้งนี้ จึงขอเรียนเชิญสถาบันการศึกษา ครูอาจารย์ นิสิต นักศึกษา ประชาชนและผู้สนใจเข้าร่วมชมนิทรรศการ ณ ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยเพื่อมรดกทางวัฒนธรรม อาคาร 8 ชั้น 2 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ บางเขน กรุงเทพมหานคร โดยนิทรรศการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-24 ตุลาคม 2567 โดยวันที่ 23 ตุลาคม 2567 เช้า และบ่าย  บ่ายวันที่ 24 ตุลาคม 2567 จะมีการเปิดให้รับชม VTR การเล่าเรื่อง “ในหลวงของเยาวชน” การเล่นเกมส์รับรางวัล การนำเสนอผลงานรับรางวัล (บางส่วน) ของเยาวชนในการเข้าถึงราชประศาสนศาสตร์ผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จากตัวแทนสถาบันการศึกษาในจังหวัดต่างๆ ที่เข้าร่วม

นอกจากนี้ กิจกรรมภายในงานครบรอบ 65 ปีของ วช.นี้ยังประกอบไปด้วยกิจกรรมเสวนา ในประเด็นสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ด้วยวิจัยและนวัตกรรม ,ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรมภูมิปัญญาไทย, วิจัยเพื่อคนไทยห่างไกลภัยจากโลกออนไลน์, จากปัญญาประดิษฐ์สู่ผู้ช่วยอัจฉริยะ : การปรับ เปลี่ยน AI ให้เป็น Intelligent Assistant ,Nature-based Solution ทางออกประเทศไทยเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ,มาตรฐานการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน รวมทั้งยังมีนิทรรศการผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย “ชิม ช็อป ชิล“ ตลาดนัดงานวิจัย และกิจกรรมในที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ ด้วยประดิษฐ์กรรมและผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ทาง : https://65years.nrct.go.th/ และสามารถดาวน์โหลดเอกสารประชาสัมพันธ์เผยแพร่ได้ที่ : https://www.nrct.go.th/_brochure/65y/index.html

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 ธันวาคม 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...