ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
จังหวัดสระบุรีประชุมเพื่อติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองในพื้นที่และเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5/PM10) ปี 2567 - 2568
20 พ.ย. 2567

               ที่ห้องประชุมป่าสัก ชั้น 3 (ฝั่งทางรถไฟ) ศาลากลางจังหวัดสระบุรี นายวิชัย บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานการประชุมเพื่อติดตามสถานการณ์ เตรียมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5/PM10) ปี2567-2568  
         ด้วยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาลาสาธารณภัยจังหวัดสระบุรี ได้ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระบุรี และสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุม มลพิษที่ 7 (สระบุรี) ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 13 - 14 พฤศจิกายน 2567 ณ สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศหน้าสถานีตำรวจภูธรหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจึงประชุมเพื่อติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองในพื้นที่ และการติดตามโดยเฉพาะกับปัญหาไฟป่า ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดปัญหาวิกฤตมลพิษหมอกควันและการกระทำของมนุษย์จากกิจกรรมต่าง ๆ อันก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สุขอนามัยของประชาชน คุณภาพสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องบูรณาการทุกภาคส่วนเฝ้าระวัง ติดตามและปฏิบัติการร่วมกัน ต่อไป


           

90

ด้วยในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูแล้งของทุกปี ประเทศไทยจะเกิดสถานการณ์ฝุ่นละอองเกินเกณฑ์มาตรฐานในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีสาเหตุทั้งจากโดยธรรมชาติ และกิจกรรมของมนุษย์ประกอบกับสภาพทางอุตุนิยมวิทยา รวมทั้งสภาพภูมิประเทศในบางพื้นที่ที่มีสภาพเอื้อต่อการเกิดสถานการณ์ โดยเฉพาะในช่วงที่ลมสงบ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับการลอยตัวและการกระจายตัวของฝุ่นละอองอยู่ในระดับต่ำ การไหลเวียนและถ่ายเทของอากาศไม่ดี จึงทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละอองในบรรยากาศมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสุขภาพอนามัยของประชาชน
              ทั้งนี้ทางรัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  ได้มีการสั่งการให้นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าจะต้องดำเนินการอะไรเพราะเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว รวมไปถึงปัญหาภาคการเกษตรว่าจะมีมาตรการอย่างไรบ้าง เช่น ไม่รับซื้อข้าวโพด อ้อย จากการเผาทั้งในและต่างประเทศ ส่วนภาคอุตสาหกรรมให้ขอความร่วมมือไปยังกระทรวงต่าง ๆ เช่น กระทรวงคมนาคม ให้ตรวจจับรถยนต์เข้มงวดมากยิ่งขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ออกมาตรการควบคุมโรงงานที่รัดกุมมากขึ้น ทส. เร่งกำหนดมาตรการบูรณาการแก้ไขปัญหาไฟป่า - PM2.5 ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงาน 4 นโยบายหลัก ได้แก่ 1. การดำเนินงานด้านสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2. การเร่งรัดแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม3. การแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ขยะมูลฝอย ภายหลังการเกิดอุทกภัย 4. สนับสนุนการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนความสมดุลทางสิ่งแวดล้อม
สมพงษ์ ปานรุ่ง รายงาน สระบุรี

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...