ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
กาญจนบุรี – ม.มหิดล ร่วมกับสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
02 ธ.ค. 2567

ลงพื้นที่ชุมชนที่มีความเสี่ยงจากภัยพิบัติเพื่อประเมินสุขภาพของกลุ่มเปราะบาง

หลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ  ม.มหิดล ร่วมกับสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ลงพื้นที่ชุมชนที่มีความเสี่ยงจากภัยพิบัติเพื่อประเมินสุขภาพของกลุ่มเปราะบาง และจัดทำแผนรับมือเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือในการประเมินด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS ในระดับพื้นฐาน เพื่อสร้างองค์ความรู้ข้ามศาสตร์ของนักศึกษาจากทั้ง 2 สถาบัน

วันนี้ 2 ธันวาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อาจารย์ ดร.วิมลมาศ  บุญยั่งยืน  หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยว่า  ได้มีการจัดกิจกรรมการเรียนร่วมกันของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ภายใต้วิชาการประเมินความเสี่ยงภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ภายใต้รายวิชา  ปฏิบัติการพยาบาลสาธารณภัย ทั้ง 3 รุ่น ตั้งแต่วันที่ 14 - 22 สิงหาคม (รุ่นที่ 1)  25 กันยายน - 3 ตุลาคม (รุ่นที่ 2) และ 6 - 14 พฤศจิกายน (รุ่นที่ 3) รวมนักศึกษาที่ได้เข้าร่วมทั้งสิ้น 227 คน ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา .

โดยการประสานงานระหว่าง อาจารย์กชกร ครุฑพงษ์ ผู้สอนรายวิชาการประเมินความเสี่ยงภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อม  อาจารย์ดร.วิมลมาศ บุญยั่งยืน หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ พร้อมด้วยอาจารย์เชษฐกิตติ์ บุณพสิษฐโศธิน ประธานผู้สอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลสาธารณภัย, สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย และ คณาจารย์ร่วมในรายวิชา เพื่อดำเนินการเตรียมการ พัฒนากิจกรรม และขั้นตอนในการเรียนรู้ และการทำงานในการสำรวจข้อมูล สัมภาษณ์ และดำเนินกิจกรรมร่วมกับชุมชนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และทางคณาจารย์ และนักศึกษาได้รับความร่วมมือและอำนวยความสะดวกในการประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ผู้ใหญ่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ตำบลลุ่มสุ่ม โดย นางสาวภัสนา  สุขประเสริฐ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลไทรโยค

ในกิจกรรมการเรียนรู้ และการลงพื้นที่นั้น มีผลลัพธ์ที่นักศึกษาได้ดำเนินการศึกษาพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การประเมินสุขภาพของกลุ่มเปราะบางในชุมชน การประเมินความเสี่ยงภัยพิบัติให้กับชุมชน และกลุ่มเปราะบางให้มีความเหมาะสม โดยการประยุกต์ใช้เครื่องมือในการประเมินเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และการประเมินจากเครื่องมือที่ใช้ข้อมูลทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ GISในระดับพื้นฐาน ทำการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลภัยพิบัติ และกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ เพื่อส่งคืนให้กับชุมชนให้ได้เกิดการใช้ประโยชน์อีกครั้งทั้งในสถานการณ์ปกติ และในสถานการณ์ภัยพิบัติ โดยการจัดเก็บข้อมูล และการประมวลผลข้อมูลร่วมกันให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ข้ามศาสตร์ของนักศึกษาจากทั้ง 2 สถาบัน
   ///////////////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 ธันวาคม 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...