จบจากรั้ว ม. เกษตรเขตกำแพงแสน และได้กลับมาสานต่ออาชีพพระราชทาน ยังถิ่นเกิด พร้อมนำความรู้กระจายสู้ท้องถิ่นให้แก่เกษตรกรเลี้ยงโคนม มีความยั่งยืน
วันนี้ 16 ธ.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังสหกรณ์โคนมนครปฐม จำกัด สาขา สนามแย้ เลขที่ 8 หมู่ที่ 1 ตำบลสนามแย้ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี พบว่าสหกรณ์แห่งนี้มีเกษตรกรเลี้ยงโคนมจำนวนมาก มีทั้งเด็กนักเรียน รวมไปจนถึงผู้สูงอายุ ได้นำน้ำนมดิบเข้าไปส่งยังสหกรณ์แต่เช้า โดยได้พูดคุยกับเด็กที่สวมชุดนักเรียนแจ้งว่าได้ช่วยครอบครับนำน้ำนมมาส่งยังสหกรณ์ก่อนจะเดินทางไปโรงเรียน เพื่อแบ่งเบาให้กับครอบครัว และส่วนมากจะใช้รถจักรยานยนต์พ่วงข้างบรรทุกกัน 3 – 5 ถัง ส่วนบางบ้านใช้รถกระบะเพราะเลี้ยงจำนวนมาก รวมถึงได้รับจ้างบรรทุกน้ำนมของเกษตรกรบ้านใกล้กันไปมาด้วย ช่วงเช้าเปิดสหกรณ์ตั่งแต่เวลา 07.00 น. ไปจนถึงประมาณ 08.30 น. ปิดรับน้ำนมของแต่ละวัน
สำหรับสหกรณ์โคนมนครปฐม จำกัด สาขาสยามแย้ แห่งนี้ มี นายเสนีย์ แกรอด วัย 25 ปี (หรือน้องเก้า) ได้ทุนไปเรียน เมื่อปี 63 จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ฯ ในรั้วมหาวิทยาลัยวิยาเขตกำแพงแสน เจ้าตัวบอกว่าแรกๆเอาเรื่องร้องกับแม่ว่ากลัวเรียนไม่จบ เพราะเข้าไปแล้วมันไม่ใช่อย่างที่คิด ในครอบครัวโดยเฉพาะแม่ให้กำลังใจจนสู้จนสำเร็จจากการที่อ่านหนังสือหนักมาก และแล้วความฝันก็สำเร็จจบการศึกษาในปี 2567 และยังโชคดีได้สามารถสอบผ่านเข้ามาทำงานในสหกรณ์โคนม นครปฐม จำกัด สาขาสนามแย้ ในท้องถิ่นใกล้บ้าน ในตำแหน่งนายสัตวแพทย์ โดยชาวบ้านบอกว่า “หมอน้อง” เป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ คนเก่งทุกด้าน ทั้งให้คำปรึกษาเรื่องโคนมที่เกิดปัญหา ให้การรักษา ฉีดผสมเทียมโคนม “หมอน้อง” ลงมือเองทั้งสิน โดยออกเดินทางไปหลังจากที่เกษตรกรนำน้ำนม มาส่งจนเสร็จแล้ว จากนั้นก็จะเดินทางไปยังฟาร์มในกลุ่มที่ได้แจ้งไว้ตลอดจนครบ มีทั้งการผสมเทียม การฉีดยารักษา การดูแลอาการโค บางฟาร์มมีแค่หลัก 10 ตัว บางฟาร์มมากถึง 100 ตัว
กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงได้น้อมนำพระราชกระแสรับสั่งของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มาสานต่อแนวพระราชดำริ โดยได้ทำ “โครงการความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อสานต่ออาชีพการเลี้ยงโคนม” กับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการสนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาสัตวแพทยศาสตร์ สัตวศาสตร์และสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ให้แก่ลูกหลานสมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม โดยดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 เพื่อเป็นการสานต่ออาชีพการเลี้ยงโคนม ซึ่งเป็นอาชีพพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อเกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนม โครงการความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อสานต่ออาชีพการเลี้ยงโคนม กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ทำข้อตกลงกับสถาบันการศึกษา จำนวน 6 แห่ง ได้แก่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้เปิดโอกาสบุตร – หลานสมาชิกสหกรณ์โคนม หรือสหกรณ์การเกษตรที่สมาชิกเลี้ยงโคนม เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสาขาที่เกี่ยวข้องกับอาชีพเลี้ยงโคนม โดยกรม ฯ ได้จัดสรรดอกผลจากเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์มาสนับสนุนเป็นทุนการศึกษา ตลอดหลักสูตรจนจบการศึกษา รวมจำนวน 49 ทุน
ปัจจุบันมีทายาทสมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมได้รับการทุนการศึกษาแล้วจำนวน 55 คน เป็นบุคลากรที่มีความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ มาส่งเสริมฟาร์มโคนมสมาชิก ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้
ซึ่งเมื่อบุตร-หลานสมาชิกสหกรณ์ที่ขอรับทุนดังกล่าวได้เรียนจนจบการศึกษาแล้ว มาปฏิบัติงาน เป็นเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือเป็นที่ปรึกษาของสหกรณ์เป็นระยะเวลา ไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามข้อตกลงกับสหกรณ์ เพื่อให้ลูกหลานสมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมได้นำความรู้ เชิงวิชาการและเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ กลับไปต่อยอดอาชีพเลี้ยงโคนมและพัฒนาฟาร์มโคนม ของครอบครัว และฟาร์มโคนมในพื้นที่ รวมถึงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสหกรณ์ และชุมชนให้เจริญก้าวหน้าและเติบโตอย่างมั่นคง และในโอกาสต่อไป
/////////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์
หมายเหตุ...ภาพมีเสียง...สัมภาษณ์เกษตรกรหญิง 1 ราย ชาย 1 ราย และ น้องหนุ่มนายสัตวแพทย์ประจำโคนมสหกรณ์นครปฐม (เสื้อยืดเหลือง) รวม 3 ราย