กรมชลประทาน กางผลการศึกษา EHIA การพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ในดกโลก ยึแนวทาง พัฒนา 3 ลุ่มน้ำแก้วิกฤติขาดแคลนน้ำ – อุทกภัยชาวบ้านอย่างยั่งยืน พร้อมพาสื่อมวลชนสัญจรโครงการอ่างเก็บน้ำใสน้อย - ใสใหญ่
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม2567 นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน พร้อมด้วยบริษัท ธารา คอนชัลแตนท์ จำกัด ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำใสน้อย - ใสใหญ่ จ.ปราจีนบุรี โดยมีการชี้แจงถึงการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EHIA) และการพัฒนาพื้นที่น้ำท่วม รวมทั้งการก่อสร้างประตูระบายน้ำแควหนุมาน ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณบ้านสะพานหิน ต.สะพานหิน อ.นาดี และบ้านโนนเกาะลอ ต.นาแขม อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแผนการพัฒนาลุ่มน้ำใสน้อย - ใสใหญ่และการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งหวังที่จะบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งและการอุทกภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะในอำเภอนาดี กบินทร์บุรี และอำเภอศรีมโหสถ โดยการศึกษาและการออกแบบโครงการจะคำนึงถึงผลกระทบต่อพื้นที่มรดกโลกอย่างละเอียด
นางเพชรินทร์ เสียงเจริญ อดีต สส.ปราจีนบุรี ซึ่งลงพื้นที่ก่อสร้าง เปิดเผยว่า ถ้าโครงการดังเป็นโครงการที่สามารถช่วยเหลือชาวบ้านที่ทำการเกษตรได้ก็จริง แต่อยากให้พิจารณาถึงผลกระทบอย่างรอบคอบ
ต่อมา ในวันที่ 18 ธันวาคม2567 ที่โรงแรมแคนทารี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ได้มีการประชุมปัจฉิมนิเทศ โครงการศึกษาแผนการพัฒนาแหล่งน้ำและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำใสน้อย - ใสใหญ่ ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวบ้านในพื้นที่เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นและข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงการนี้ ตามที่กรมชลประทานได้กล่าวถึงการศึกษาความเหมาะสมของโครงการอ่างเก็บน้ำใสน้อยตอนล่าง และการพัฒนาประตูระบายน้ำแควหนุมาน ผลจากการดำเนินงานนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน พร้อมทั้งสร้างผลประโยชน์แก่พื้นที่เกษตรกรรมและประชาชนในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน
นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการกรมชลประทาน กล่าวว่า "โครงการนี้จะช่วยเสริมสร้างระบบการจัดการน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่เกษตรกรรมในจังหวัดปราจีนบุรี รวมถึงช่วยรักษาระบบนิเวศและป่าไม้ในพื้นที่มรดกโลกให้อยู่ในสภาพที่ดีต่อไป"
โครงการอ่างเก็บน้ำใสน้อยตอนล่างและประตูระบายน้ำแควหนุมาน จะทำให้พื้นที่รับประโยชน์ทั้งหมดประมาณ 63,186 ไร่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่มีน้ำสะสมไว้ใช้สำหรับการเกษตรและอุปโภคบริโภค ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถทำการเกษตรได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งปี
โดยในขณะเดียวกัน ประชาชนและชาวบ้านในพื้นที่ต่างให้การสนับสนุนโครงการนี้ เนื่องจากเชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและเพิ่มความสามารถในการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต โดยหวังว่าการดำเนินโครงการนี้จะเกิดขึ้นโดยเร็วและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในจังหวัดปราจีนบุรี
ธนปกรณ์ วิศวามิตร / ปราจีนบุรี
081-2863615