ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
ศรีสะเกษ ! ผู้ว่าศรีสะเกษลั่นฆ้องเปิดงานวัฒนธรรมชนลาว-เผ่าเยอ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2568 อำเภอศิลาลาด
06 ก.พ. 2568

 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568  ที่สวนสาธารณะริมลำน้ำน้ำเสียว อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ  นายอนุพงศ์  สุขสมนิตย์  ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานลั่นฆ้องเปิดงานวัฒนธรรมชนลาว-เผ่าเยอ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2568 อำเภอศิลาลาด ในระหว่างวันที่ 5 - 7 กุมภาพันธ์ 2568  โดยมีนายวสันต์ ระดมเล็ก นายอำเภอศิลาลาดและนายอุทัย วิรุณพันธ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุง นำหัวหน้าส่วนราชการอำเภอศิลาลาด ผู้บริหารองค์การส่วนตำบล ผู้บริหารสถานศึกษา  ข้าราชการ  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้านและประชาชน  ร่วมในพิธีเปิดงานเป็นจำนวนมาก ภายในงานมีกิจกรรมที่สำคัญเช่นการจำหน่ายสินค้า OTOP (ของดีบ้านฉัน) การจัดนิทรรศการตามรอยพระบาทยาตรา สู่ศิลาลาด กิจกรรมการประกวดบ้านฉันมีดี บ้านลาว – บ้านเยอ  การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งประกอบหางเครื่อง  กิจกรรมการประกวดสาวลาว - สาวเยอ การแข่งขันเรือพาย การแสดงศิลปของท้องถิ่นพื้นบ้าน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสืบสาน และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาทัองถิ่น  การละเล่นต่างๆ ของหมู่บ้าน/ชุมชน ให้มีความยังยืน และคงอยู่ตลอดไป  เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี ปรองดองสมานฉันท์ สร้างการมีส่วนคนในพื้นที่ โดยใช้ประเพณีวัฒนธรรมเป็นพลังขับเคลื่อนงานต่อไป  เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ ยกระดับความเป็นอยู่ สร้างรายได้แก่ประชาชน และประชาสัมพันธ์ให้อำเภอศิลาลาดได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางต่อไป

 นายอุทัย วิรุณพันธ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุง กล่าวว่า  งานวัฒนธรรมชนลาว - เผ่าเยอ" มีขึ้นครั้งแรก เมื่อปี 2554  โดยการริเริ่มขององค์การบริหารส่วนตำบลกุง เนื่องจากมีประชากร ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของตำบล 2 เผ่า คือ เผ่าลาวและเผ่าเยอ ซึ่งประเพณีของชนลาว – เผ่าเยอ  เป็นการแสดงออกถึงการอนุรักษ์ความเป็นไทย มรดกภูมิปัญญา อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น เสริมสร้างความตระหนักการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์ณ์ความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างทางวัฒนธรรมของชาวอำเภอศิลาลาด เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมนี้ไว้ ซึ่งอำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ มีรูปแบบนบธรรมเนียมศิลปะจารีตประเพณีที่แตกต่างกัน เช่นชุมชนเผ่าเยอจะนิยมสวมใส่เสื้อผ้าไหมเหยียบย้อมมะเกลือ และใช้ภาษาเยอเป็นภาษาพูดไม่มีภาษาเขียน เป็นชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ จัดอยู่ในกลุ่มของชาวกูย(กวย,ส่วย) มีภาษาพูดภาษาเดียวกัน มีเพียงบางคำเท่านั้นที่แตกต่างกัน ส่วนชนเผ่าเยอในอำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ ในราวต้นพุทธศตวรรษ 25 หมู่บ้านชาวเยอ ตั้งในพื้นที่อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ(ในปัจจุบัน) ได้เกิดโรคไข้ทรพิษ (ฝืดาษ) ระบาดอย่างรุนแรง มีคนเจ็บป่วยล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้ชักชวนกันอพยพถิ่นฐาน เพื่อหนีโรคไปทางทิศตะวันตกมีหนองน้ำใหญ่ อยู่ใกล้เมืองศรีไศล (ปัจจุบันคือบ้านเก่า หมู่ 4 ตำบลกุง) ตั้งหลักฐานอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน มีบริเวณรอบหมู่บ้าน เป็นต้นกุงจำนวนมาก จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านกุง" จนถึงปัจจุบัน  การจัดงานวัฒนธรรมชนลาว - เผ่าเยอ ในครั้งนี้  เป็นการนำเอาวัฒนธรรมเพณีท้องถิ่นผสมผสานแบบซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) เพื่อดึงท่องเที่ยวทั่วสารทิศให้รู้จักอำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ (อะไรๆ ก็ดีที่ศรีสะเกษ) องค์การบริหารส่วนตำบลกุง จึงได้จัดงาน "วัฒนธรรมชนลาว - เผ่าเยอ" ขึ้น อย่างต่อเนื่อง และหยุดไปในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิค 19  ซึ่งอำเภอศิลาลาด จัดให้เป็นงานหลักของอำเภอ  และยกระดับการจัดงานนี้เป็นงานประเพณีในระดับอำเภอด้วย 
  

**********

ข่าว/ภาพ  บุญทัน  ธุศรีวรรณ  ศรีสะเกษ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 28 กุมภาพันธ์ 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
13 ม.ค. 2568
ตามรายงานของศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสิงคโปร์ (thaibizsingapore.com) ระบุว่า สิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 8 ของไทย และไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 10 ของสิงคโปร์ จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์และกรมศุลกากร ปริมาณการค้าไทย-สิงคโปร์ ปี 2565 มีมูลค่ารวม 644,383 ...