ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
กรมส่งเสริมการเกษตร ชวนปลูกข้าวเท่าทันภูมิอากาศ Thai Rice GCF
01 มี.ค. 2568

เกษตรฯ ร่วมขับเคลื่อนโครงการ Thai Rice GCF เตรียมพร้อมสอนชาวนาปลูกข้าวที่เท่าทันต่อภูมิอากาศ เป้าหมาย เกษตรกรรายย่อย 253,400 คน ใน 21 จังหวัด

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า  กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ “เพิ่มศักยภาพการปลูกข้าวที่เท่าทันต่อภูมิอากาศ: Thai Rice GCF” 

เป้าหมายในการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือกับสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรรายย่อย 253,400 คน ใน 21 จังหวัด ของไทย โดยยึดหลักการเปลี่ยนแปลงจากล่างขึ้นบน ที่เริ่มจากระดับเกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว และเข้าร่วมโครงการซึ่งใช้เทคโนโลยีที่เท่าทันต่อภูมิอากาศ (Climate Smart Agriculture: CSA) โดยคาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมได้ 2.6 ล้านตัน ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ของการดำเนินโครงการ (มกราคม 2567 – ธันวาคม 2571)

ล่าสุดกรมส่งเสริมการเกษตรร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบหลักสูตรการถ่ายทอดความรู้สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อส่งเสริมศักยภาพการปลูกข้าวที่เท่าทันต่อภูมิอากาศ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมพัฒนาแนวทางถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยใช้แนวคิดการส่งเสริมการเกษตรผสมผสานกับแนวคิดการดำเนินการธุรกิจและการตลาด (Extension x Business Model Canvas) สำหรับร่างหลักสูตรการอบรมเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของกรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นำไปถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อไป

สำหรับองค์ความรู้ซึ่งจะถ่ายทอดให้เกษตรกรสามารถใช้วิธีการปลูกข้าวที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย 10 วิธี คือ

 1. การใช้ข้อมูลพยากรณ์อากาศสำหรับวางแผนการเพาะปลูก (Weather Forecast Advisory Services : WFAS) เพื่อช่วยคาดการณ์และวางแผนการปลูก ลดความเสี่ยงเกิดความเสียหาย ลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตข้าวได้ตามมาตรฐาน

 2. จัดการน้ำระดับแปลงนา Farm-level Water Management (FWM) ทำระบบการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเขตชลประทาน ควรทำระบบน้ำ เข้า-ออก คนละทาง ป้องกันวิกฤติน้ำเค็มรุก และเขตนาน้ำฝน ควรทำบ่อสำรองน้ำไว้ใช้ในสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง

3. ใช้พันธุ์ข้าวที่ทนต่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง Rice Variety Identification (RVI) โดยเลือกพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกและปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มีความทนต่อโรค แมลง และสภาพอากาศในบางฤดู ให้ผลผลิตสูง และตลาดต้องการ

 4. การปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบเลเซอร์ Laser Land Levelling (LLL) ทำให้พื้นที่แปลงนาที่มีความสูง-ต่ำ ราบเรียบเสมอกัน

5. การหว่านหรือหยอดข้าวแห้ง Dry direct-seeded (DSR) ซึ่งใช้เมล็ดโดยตรงหว่านเพื่อรอฝน ทำให้ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุน และระยะเวลาปลูก

6. จัดการศัตรูข้าวแบบผสมผสาน Integrated Pest Management: (IPM) นำเอาวิธีป้องกันกำจัดศัตรูพืชหลากหลายวิธีมาปรับใช้เพื่อรักษาสมดุลระบบนิเวศ ทำให้สามารถลดการใช้ปริมาณสารเคมี 

7. ทำนาแบบเปียกสลับแห้ง Alternate Wetting and Drying (AWD) ควบคุมระดับน้ำในแปลงนาตามช่วงเวลาที่เหมาะสม ลดการปล่อยก๊าซมีเทน และทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ต้านทานต่อแพร่การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

8. ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน Site-specific Nutrient Management (SSNM) คือใช้ปุ๋ยเท่าที่จำเป็น พอดีกับความต้องการของพืช โดยประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนการปลูกทำให้ลดการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ และลดต้นทุนการผลิต

9. จัดการฟางและตอซัง Straw and Stubble Management (SSM) โดยแปรสภาพให้เกิดประโยชน์ เช่น ไถกลบ เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน และ อัดก้อน เพื่อเป็นอาหารสัตว์ 

10. ปลูกพืชหมุนเวียนยั่งยืน หรือ การปลูกพืชหลังนา Crop Diversification, Rotation (CDR) เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพดินและปริมาณน้ำ ก็จะก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่อง และยังเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 เมษายน 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
13 ม.ค. 2568
ตามรายงานของศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสิงคโปร์ (thaibizsingapore.com) ระบุว่า สิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 8 ของไทย และไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 10 ของสิงคโปร์ จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์และกรมศุลกากร ปริมาณการค้าไทย-สิงคโปร์ ปี 2565 มีมูลค่ารวม 644,383 ...