ที่โรงเรียนสุรนารีวิทยา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายวิจิตร กิจวิรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และประธานคณะอนุกรรมการสุขภาพจิต จังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตนักเรียน เพื่อการดำเนินงานตามนโยบายโรงเรียนสร้างสุข จังหวัดนครราชสีมา โดยมีผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ และศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 ให้การต้อนรับโดย นายแพทย์ชวิศ เมธาบุตร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
เป็นผู้กล่าวรายงานการดำเนินงานในพิธีเปิดโครงการ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตนักเรียน จังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ เป็นโครงการภายใต้การกำกับติดตามการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการสุขภาพจิต จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิต ในมิติส่งเสริมสุขภาพจิต และการป้องกันและแก้ไขปัญหา การฆ่าตัวตาย ในวัยเรียน วัยรุ่น ในพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยปัญหาการพยายามฆ่าตัวตายและทำร้ายตนเองในเด็กนักเรียน มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ 2567 ข้อมูลจาก รง.506S Version 11 ผู้พยายามฆ่าตัวตายและทำร้ายตนเองอยู่ในช่วงอายุ 15- 19 ปีที่จัดอยู่ในกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษา มีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายและทำร้ายตนเอง 65.58 ต่อ 100,000 ประชากร ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานคณะอนุกรรมการสุขภาพจิตจังหวัดนครราชสีมา จึงได้มีนโยบายจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นมา เพื่อการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตในวัยเรียน วัยรุ่น
ในระยะแรกมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนำร่องจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสุรนารีวิทยา, โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย, โรงเรียนบุญวัฒนา, โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย, โรงเรียนสุรนารี 2 และโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับงบประมาณบูรณาการจากหลายหน่วยงาน ในการสนับสนุนการดำเนินงาน ได้แก่ งบพัฒนาจังหวัดเรื่องศูนย์เพื่อนใจ ทูบีนัมเบอร์วัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา งบจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา และงบจากโรงเรียนในกลุ่มเป้าหมาย โดยการนำแนวทาง 4 pillars มาใช้ยกระดับเชิงระบบในการส่งเสริมป้องกัน สร้างสุขทางใจนักเรียน ประกอบด้วย กิจกรรมการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะของครูและแกนนำนักเรียนในการเฝ้าระวังและดูแลปัญหาสุขภาพจิตในโรงเรียนการพัฒนาระบบคัดกรองและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต การพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตเชิงรุกในโรงเรียน โดยโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และโรงพยาบาล เทพรัตน์นครราชสีมา การวิเคราะห์ปัญหา แก้ไขปัญหาชีวิตควบคู่กับปัญหาสุขภาพจิต โดยการทำงานร่วมกันของครู นักเรียน ผู้ปกครอง ทีมงานและผู้บริหารสาธารณสุข ผู้บริหารโรงเรียน และทีมผู้บริหารระดับจังหวัด และการจัดทำแผนเผชิญความเสี่ยงต่อเหตุการณ์พยายามฆ่าตัวตายและทำร้ายตนเองในโรงเรียน

รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เผยว่า เด็ก และ วัยรุ่น ที่มีภาวะซึมเศร้า ถือเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ในภาวะที่เกิดความกดดัน ปรับตัวไม่ทัน จะสามารถเกิดอาการดังกล่าวขึ้นได้ แต่ในทางกลับกันก็ โรคซึมเศร้าดังกล่าวสามารถควบคุม รักษาได้ โดยการมาพบจิตแพทย์ เป็นการบำบัดโรคซึงเศร้า ไม่ได้เป็นโรคทางจิต ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ปกครอง ก็มีความสำคัญ ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลาน ที่อาจจะเปลี่ยนไป อาทิ ไม่อยากมาโรงเรียน อยากอยู่คนเดียว มีการสนทนากันในครอบครัวน้อยลง ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่อาจจะผิดปกติ และ ในส่วนของคุณครู ต้องมีการคัดกรอง นักเรียน ที่อาจมีภาวะเสี่ยง ต่อการเป็นโรคซึมเศร้า เข้ามาทำการดูแลรักษา ส่งต่อให้แพทย์ที่มีความชำนาญ เพื่อป้องกัน เฝ้าระวังปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยโครงการที่จัดขึ้นในครั้งนี้ก็เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษาได้มีทักษะ ความชำนาญ ในการสังเกต คัดกรอง เด็ก นักเรียน ที่มีภาวะ หรือที่เรียกว่า เฮลป์ ฮีโร่ health hero และที่สำคัญคือต้องการให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการคัดกรอง สังเกต พฤติกรรม ของน้องๆนักเรียนด้วย
บรรยายภาพประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตนักเรียน เพื่อการดำเนินงานตามนโยบายโรงเรียนสร้างสุข จังหวัดนครราชสีมา
สมพล พัฒนคุณานนท์ จ.นครราชสีมา 0867206151
กัมปนาท ฉายผาด ผช. 0857771655