ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
สหรัฐฯ ซัดไทยในรายงาน NTE ปี68 เปิด8 ข้อกล่าวหาค้าไม่เป็นธรรม
03 เม.ย. 2568

สหรัฐ เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยด้วยสัดส่วนถึง 18% ของตลาดส่งออกของไทยทั้งหมด ขณะเดียวกับพฤติกรรมการค้าของไทยสหรัฐให้ความสำคัญและจับตามองมาอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเร็วๆนี้ ผู้แทนการค้าสหรัฐ (ยูเอสทีอาร์) ได้เผยแพร่รายงานประมาณการการค้าแห่งชาติประจำปี 2568 หรือ 2025 National Trade Estimate Report on FOREIGN TRADE BARRIERS of the President of the United States on the Trade Agreements Program สาระสำคัญเกี่ยวกับอุปสรรคการค้าของประเทศต่างๆที่มีต่อสหรัฐ โดยปีนี้ถือเป็นรายงานฉบับที่ 40 

      ทั้งนี้ ไทยและสหรัฐมี ข้อตกลงกรอบการค้าและการลงทุน (TIFA) เมื่อวันที่ 23 ต.ค.2545เพื่อเป็นกลไกหลักในการหารือทวิภาคีเกี่ยวกับประเด็นการค้าและการลงทุน

เรื่องที่ 1 นโยบายการนำเข้า รายงานระบุว่า อัตราภาษีศุลกากรอยู่ในอัตราที่สูงโดยเฉลี่ย 27.0%  สำหรับสินค้าเกษตร และ 7.1% สำหรับสินค้าที่ไม่ใช่การเกษตร โดยไทยได้ผูกมัดสัดส่วนสินค้าถึง76.9% ไว้กับองค์การการค้าโลก (WTO) โดยอัตราภาษีศุลกากรเฉลี่ยอยู่ที่ 26.6% 

ด้านอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร ว่าด้วยการห้ามหรือขออนุญาตเพื่อนำเข้าสินค้า โดยไทยได้จำกัดการนำเข้าเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อสนับสนุนรายได้ของเกษตรกรในประเทศ

นอกจากนี้พบว่าการนำเข้าสินค้าหลายรายการจำเป็นต้องมีใบอนุญาตนำเข้า เช่น ไม้ ปิโตรเลียม เครื่องจักรอุตสาหกรรม สิ่งทอ ยา เครื่องสำอาง และอาหาร และสินค้าเกษตร เช่น พืช เมล็ดพืช เนื้อสัตว์แปรรูป และเกลือ ในบางกรณี การนำเข้าสินค้าบางรายการที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมและต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์บางรายการยังต้องอยู่ภายใต้การควบคุมการนำเข้าตามกฎหมายอื่นๆ

การกำหนดค่าธรรมเนียมการนำเข้า เช่น เนื้อสัตว์ปรุงสุกและดิบทั้งหมดและยังมีส่วนที่กำหนดโควตานำเข้าสำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญๆ 

     ด้านอุปสรรคทางศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า รายงานระบุถึงความกังวลเกี่ยวกับการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจเพื่อวินิจฉัยการอนุมัติ ลงโทษ การตรวจยึด หรือ สอบสวนการนำเข้าสินค้า 

เรื่องที่ 2  อุปสรรคทางการค้าด้านเทคนิค รายงานระบุว่า เมื่อมิ.ย.2567 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้แจ้งร่างข้อบังคับฉบับใหม่เกี่ยวกับข้อจำกัดทางการตลาดของอาหารสำหรับเด็กเล็กต่อคณะกรรมการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าWTO ซึ่งอุตสาหกรรมของสหรัฐได้แสดงความกังวลว่าประเทศไทยไม่ได้คำนึงถึงข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในมาตรการขั้นสุดท้าย กฎระเบียบดังกล่าวมีกำหนดที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนส.ค.2568

ด้านอุปสรรคด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์กรมปศุสัตว์ของประเทศไทยกำหนดให้มีการตรวจสอบสถานที่ผลิตในประเทศผู้ส่งออกเพื่อให้สามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์หลายชนิดได้ เช่น เนื้อ กระดูกสัตว์ และขนสัตว์ การอนุมัติการตรวจสอบแต่ละครั้งจะมีอายุ 5 ปี นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ยังกำหนดให้มีการอนุมัติการตรวจสอบสถานที่เป็นเวลา 5 ปีสำหรับส่วนผสมอาหารสัตว์ที่นำเข้าซึ่งได้มาจากหรือประกอบด้วยผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก

เรื่องที่ 3 การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไทยยังคงอยู่ในรายชื่อเฝ้าระวังในรายงานพิเศษ 301 ประจำปี 2567 แม้ว่าประเทศไทยจะมีความคืบหน้าในด้านเหล่านี้ แต่ยังคงมีข้อกังวลอยู่ สินค้าปลอมและละเมิดลิขสิทธิ์ยังคงหาได้ง่าย โดยเฉพาะทางออนไลน์ การตรวจสอบตลาดที่รู้อย่างกว้างขวางและละเมิดลิขสิทธิ์ในปี 2567  ระบุว่าศูนย์การค้าย่านปทุมวัน เป็นตลาดที่มีสินค้าปลอมแปลงจำนวนมากในกรุงเทพฯ 

นอกจากนี้ ยังมีข้อกังวลอื่นๆ ของสหรัฐ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์โดยอุปกรณ์และแอปพลิเคชันที่ให้ผู้ใช้สตรีมและดาวน์โหลดเนื้อหาที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นกระบวนการที่กำหนดขึ้นโดยพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ปี 2565 การแก้ไขเพิ่มเติมที่อาจนำไปสู่ข้อยกเว้นที่กว้างเกินไปต่อมาตรการคุ้มครองเทคโนโลยี 

เรื่องที่ 4 อุปสรรคด้านสินค้าบริการ ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 อนุญาตให้คณะกรรมการภาพยนตร์ของไทยกำหนดอัตราส่วนและโควตาเพื่อจำกัดการนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการภาพยนตร์ยังไม่ได้ใช้สิทธิอำนาจนี้จนถึง วันที่ 31 ธ.ค. 2567 และพ.ร.บ.ดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาแก้ไข นอกจากนี้ ตามพ.ร.บ.ธุรกิจกระจายเสียงและพ.ร.บ.บริการโทรคมนาคมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้รับใบอนุญาตการออกอากาศรวมถึงผู้รับใบอนุญาตบริการ ผู้รับใบอนุญาตเครือข่าย และผู้รับใบอนุญาตโครงสร้างพื้นฐาน จะต้องเป็นคนสัญชาติไทย และการลงทุนจากต่างประเทศในเครือข่ายออกอากาศภาคพื้นดินจะถูกจำกัดไว้ที่ 25 % ของทุนจดทะเบียนและสิทธิในการลงคะแนนเสียง 

เรื่องที่ 5 ด้านบริการทางการเงิน ประเทศไทยจำกัดจำนวนใบอนุญาตสำหรับสาขาและบริษัทสาขาของธนาคารต่างประเทศ และจะรับใบสมัครสำหรับการดำเนินการธนาคารต่างประเทศใหม่เป็นครั้งคราวเท่านั้น สำหรับบัตรเดบิตที่ออกในประเทศไทย ส่งผลให้ผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศไม่สามารถให้บริการเหล่านี้ข้ามพรมแดนได้ในปี 2567 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกใบอนุญาตให้ธนาคารเสมือนสามแห่งดำเนินการโดยไม่มีสาขาจริง(virtual bank)เป็นครั้งแรก ผู้ถือหุ้นต่างชาติจะสามารถถือหุ้นในธนาคารเสมือนจริงแห่งใหม่ได้สูงสุดถึง 49%

เรื่องที่ 6 อุปสรรคพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์/การค้าดิจิทัล ตามข้อมูลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสหรัฐ รวมถึงองค์กรสิทธิมนุษยชน พ.ร.บ.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ของประเทศไทยทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับบริการออนไลน์ที่โฮสต์เนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้นซึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ข้อกังวลคือ พ.ร.บ.ดังกล่าวให้อำนาจแก่รัฐบาลในการควบคุมเนื้อหาออนไลน์ที่กว้างขวางจนอาจจำกัดกิจกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ 

เรื่องที่ 7 อุปสรรคด้านการลงทุน ภาคส่วนหลักและภาคบริการของประเทศไทยยังคงจำกัดการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของต่างชาติ (Foreign Business Act - FBA) กำหนดกรอบการกำกับดูแลการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย ภายใต้กฎหมายนี้ห้ามมิให้บุคคลสัญชาติอื่นและนิติบุคคลที่ต่างชาติถือหุ้นส่วนใหญ่ถือหุ้นมากกว่า 50% ในหลายภาคส่วน แต่โดยทั่วไปแล้ว 

“นักลงทุนสหรัฐที่จดทะเบียนภายใต้สนธิสัญญาไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐ-ไทย (United States-Thai Treaty of Amity and Economic Relations - AER) จะได้รับการยกเว้นจากข้อห้ามเหล่านี้  อย่างไรก็ตาม สิทธิพิเศษภายใต้กฎหมายนี้ไม่ได้ยกเว้นการลงทุนของสหรัฐ จากข้อห้ามในการถือหุ้นส่วนใหญ่โดยต่างชาติใน”

เรื่องที่ 8 แรงงาน เมื่อ เม.ย. 2563  สหรัฐระงับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของประเทศไทยภายใต้โครงการ GSP บางส่วนเนื่องจากประเทศไทยล้มเหลวในการดำเนินการเพื่อให้สิทธิแรงงานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

แม้ไทยจะมีมติแก้ไขพ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2567 แล้วแต่จนถึงขณะนี้การระงับการปฏิบัติปลอดอากรภายใต้ GSP บางส่วนยังคงมีผลบังคับใช้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 เมษายน 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
03 เม.ย. 2568
จากสถาปนิกหนุ่ม ..... สู่สายธารเพื่อสังคมคนเขาใหญ่ ปัจจุบันในพื้นที่เขาใหญ่นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และด้วยอาณาบริเวณโอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ ทั้งเทือกเขาที่รายล้อมไปทั่ว และยังรวมถึงธารน้ำที่รื่นร่มอีกหลายแห่ง ที่สำคัญไม่ห่างไก...