ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
อัครา เคาะเกณฑ์เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบการระบาดปลาหมอคางดำ
03 เม.ย. 2568

อัครา กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ พร้อมดำเนินการในส่วนที่จำเป็นเร่งด่วน

นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ครั้งที่ 2/2568 ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ซึ่งได้พิจารณาหลักเกณฑ์และแนวทาง การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรณีการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ คือ

1) ต้องเป็นพื้นที่ที่กรมประมงได้ประกาศเป็นพื้นที่การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ 2) ระดับการรุกรานของปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติที่นำมาใช้ในการประกาศภัยพิบัติ ต้องอยู่ในระดับรุนแรงหรือระดับปานกลาง โดยมีเกณฑ์การพิจารณาระดับความชุกชุม เพื่อจัดระดับการรุกราน ดังนี้

- ระดับรุนแรง มีความชุกชมของปลาหมอคางดำมากกว่า 100 ตัว/พื้นที่ 100 ตร.ม.

- ระดับปานกลาง มีความชุกชมของปลาหมอคางดำมากกว่า 10 ตัว แต่ไม่เกิน 100 ตัว/พื้นที่ 100 ตร.ม.

- ระดับไม่รุนแรง มีความชุกชมของปลาหมอคางดำไม่เกิน 10 ตัว/พื้นที่ 100 ตร.ม.

3) กรณีประเมินความชุกชุมของการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่เกิน 10 ตัว/พื้นที่ 100 ตร.ม. (ระดับไม่รุนแรง) สามารถประกาศยุติการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรณีการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำได้

ทั้งนี้ กรมประมงจะดำเนินการเสนอกรมบัญชีกลางพิจารณาให้ความเห็นชอบ และแจ้งต่อกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและผู้ว่าราชการจังหวัดใช้เป็นหลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ปราบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำต่อไป

นายอัครา กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง จะเร่งรัดดำเนินการในส่วนที่จำเป็นเร่งด่วนก่อน ตามที่นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน 97,817,400 บาท ประกอบด้วย 2 มาตรการ 3 กิจกรรม ได้แก่ มาตรการที่ 1 การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด ทั้งการรับซื้อปลาหมอคางดำและการสนับสนุนปัจจัยในการกำจัดปลาหมอคางดำในพื้นที่เพาะเลี้ยงของเกษตรกร

และมาตรการที่ 3 การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ โดยการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำ อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ พร้อมบูรณาการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในการกำจัดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำทุกแห่งต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 เมษายน 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
03 เม.ย. 2568
จากสถาปนิกหนุ่ม ..... สู่สายธารเพื่อสังคมคนเขาใหญ่ ปัจจุบันในพื้นที่เขาใหญ่นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และด้วยอาณาบริเวณโอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ ทั้งเทือกเขาที่รายล้อมไปทั่ว และยังรวมถึงธารน้ำที่รื่นร่มอีกหลายแห่ง ที่สำคัญไม่ห่างไก...