ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
สกลนคร สถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์มหาแนวทางบริหารจัดการน้ำไทย ลาวอย่างยั่งยืน
09 เม.ย. 2568

สถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์มจัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ภายใต้ โครงการศึกษา เพื่อหาแนวทางและโอกาสในการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำเพื่อลดความเสี่ยงภัยพิบัติจากน้ำและเพื่อตอบสนองความต้องการน้ำได้อย่างเท่าเทียมกันทุกภาคส่วน (โครงการ MTT-SOS)”

ระหว่างวันที่ 5-8 เมษายน 2568
 ดร.ริดิ เซลูจา นักวิจัยอาวุโส สถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม ภูมิภาคเอเชีย ผู้จัดการโครงการวิจัย MTT-SOS ประเทศไทย และสปป ลาว พร้อมด้วย ผศฺ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หัวหน้าโครงการวิจัย MTT-SOS ฝ่ายไทย และทีมงานจัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ภายใต้ โครงการศึกษา เพื่อหาแนวทางและโอกาสในการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำเพื่อลดความเสี่ยงภัยพิบัติจากน้ำ ทั้งนี้สถาบันสิ่งแวดล้อมสต๊อกโฮล์ม ร่วมกับ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ได้ร่วมกันจัดทำโครงการศึกษา เพื่อหาแนวทางและโอกาสในการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำเพื่อลดความเสี่ยงภัยพิบัติจากน้ำและเพื่อตอบสนองความต้องการน้ำได้อย่างเท่าเทียมกันทุกภาคส่วน โดยได้รับการสนับสนุนทุนดำเนินการโดย กระทรวงการค้าและการต่างประเทศ ของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการศึกษาในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยพื้นที่ศึกษาในประเทศไทย ได้แก่หนองหาร เขื่อนน้ำพุง เขื่อนน้ำอูน ลำน้ำก่ำ และลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง ใน สปป. ลาวพื้นที่ศึกษาได้แก่ เขื่อนน้ำเทิน 1 เขื่อนน้ำเทิน 2 และลำน้ำเซบังไฟ โดยได้ดำเนินการศึกษา ตั้งแต่ เดือน กรกฎาคม 2567-กรกฎาคม 2568 

วัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้าน การพึ่งพาแหล่งน้ำ ผลกระทบจากภัยพิบัติในอดีตและปัจจุบัน โดยมีกลุ่มผู้นำชุมชน เช่น นายก อบต. นายก ทต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น  กลุ่มผู้ใช้น้ำ เช่น กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผลิตและใช้น้ำประปา กลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มทอผ้าย้อมคราม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มหัตถกรรม เป็นต้น กลุ่มชาวประมง เช่น กลุ่มหาปลา กลุ่มเพาะพันธุ์ปลาจำหน่าย กลุ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปปลา
กลุ่มท่องเที่ยว เช่น กลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กลุ่มท่องเที่ยวธรรมชาติ กลุ่มท่องเที่ยววัฒนธรรม กลุ่มด้านการศึกษา เช่น กลุ่มนักวิจัย นักศึกษา ครู อาจารย์ กลุ่มเยาวชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิชุมชน เป็นต้น กลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มรายได้น้อย กลุ่มคนพิการ กลุ่มสตรี เป็นต้น เพื่อความเท่าเทียมทางเพศภาวะ 

ดร.ริดิ เซลูจา นักวิจัยอาวุโส สถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม ภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่าวัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือเพื่อศึกษาแสวงหาแนวทางการจัดการบริหารน้ำของ 2 ประเทศคือประเทศไทยและประเทศลาวโดยประเทศไทยถูกคัดเลือกมา 5 สถานที่คือเขื่อนน้ำพุง หนองหาร ลำน้ำก่ำ เขื่อนน้ำอูน และลำน้ำสงครามตอนล่าง ส่วนในประเทศลาวจะมี เขื่อนน้ำเทิน 1 เขื่อนน้ำเทิน 2 ลุ่มน้ำเสบังไฟ รวมทั้งหมด 8 สถานที่ โดยต้องการหาแนวทางที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้นหรืออ่างเก็บน้ำที่เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งจะนำผลที่ได้ไปเสนอแนะให้กับรัฐบาลไทยและรัฐบาลของประเทศลาว เพื่อนำไปบริหารจัดการน้ำให้เกิดความเท่าเทียมยุติธรรมและความเสมอภาคของกลุ่มคนที่อยู่ติดกับแหล่งน้ำเหล่านี้ โดยในวันนี้ได้มีการจัดทำกิจกรรมพูดคุยเสวนาถึงแหล่งน้ำหนองหาร โดยข้อมูลที่ได้รับจากพี่น้องที่มาเข้าร่วมมีประโยชน์มากเพื่อจะได้นำไปคัดเลือกสรุปถึงข้อดีและเป็นตัวอย่างในการเผยแพร่ต่อไป

ด้าน ผศฺ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ให้เหตุผลว่า อีกเรื่องหนึ่งที่ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันคือผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครเปลี่ยนบ่อย เมื่อคนใหม่มาก็ต้องมาศึกษาข้อมูลใหม่อีกครั้ง ซึ่งอาจทำให้ไม่เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนา ส่วนอีกเรื่องคือการขาดแคลนน้ำของผู้ที่อยู่ปลายน้ำ รวมไปถึงทางด้านเทคนิคกำลังมีแนวคิดจะพัฒนาแบบจำลองการพยากรณ์น้ำท่วมน้ำแล้งของหนองหารล่วงหน้า เพราะอาจช่วยบริหารจัดการน้ำได้กว่าปัจจุบัน แต่ดูเหมือนว่าผู้ใหญ่จะยังไม่ให้ความสำคัญในเชิงนโยบายด้านนี้สักเท่าไหร่ ที่กล่าวมาข้างต้นคือสิ่งที่ได้มีการหยิบยกมาพูดคุยกันระหว่างเสวนากลุ่มย่อยน้ำหนองหารในวันนี้ โดยโครงการนี้ประชาชนจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง โดยจะมีการให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลประเทศไทยและรัฐบาลประเทศลาว การจัดการแหล่งน้ำประเภทเขื่อน พื้นที่ชุ่มน้ำ ควรจัดการหรือมีนโยบายอย่างไรได้บ้าง โดยล่าสุดกรมทรัพยากรน้ำเพิ่งได้รับมอบหมายเข้ามาดูแลจัดการน้ำได้ไม่นาน ตอนนี้ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนที่จะเข้ามาพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งประเทศไทย ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอาจจะมีประสบการณ์ไม่มากพอ โดยโครงการนี้จะให้ข้อเสนอแนะแนวคิดรวมไปถึงแนวทางในการจัดการบริหารน้ำต่อผู้บริหาร เช่น น้ำหนองหาร หรือเขื่อนน้ำอูน ที่อยู่ในสังกัดของกรมชลประทานซึ่งเชื่อว่าข้อมูลต่างๆจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแหล่งน้ำให้ยั่งยืนต่อไป

///////////////////// วัฒนะ แก้วก่า/สกลนคร 0819541528

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 เมษายน 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
03 เม.ย. 2568
จากสถาปนิกหนุ่ม ..... สู่สายธารเพื่อสังคมคนเขาใหญ่ ปัจจุบันในพื้นที่เขาใหญ่นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และด้วยอาณาบริเวณโอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ ทั้งเทือกเขาที่รายล้อมไปทั่ว และยังรวมถึงธารน้ำที่รื่นร่มอีกหลายแห่ง ที่สำคัญไม่ห่างไก...