ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
ปทุมธานี เปิดเส้นทางการท่องเที่ยว คลองหมายเลข 3 ผลักดันชุมชนสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
11 พ.ค. 2568

 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2568 ณ วัดศาลเจ้า ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี จัดกิจกรรม "สร้างการรับรู้เปิดเส้นทางท่องเที่ยวคลองหมายเลข 3" ภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนคลองหมายเลข 3 เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ ฐานรากผ่านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมี นายสมคิด จันทมฤก ผวจ.ปทุมธานี เป็นประธานในพิธีเปิดงานฯ
   นายสมคิด จันทมฤก ผวจ.ปทุมธานี กล่าวว่า เส้นทางคลองหมายเลข 3 เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม ที่เคยใช้ขนส่งสินค้า ซึ่งปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้เส้นทางนี้ในการขนส่งสินค้าแล้ว ในการพัฒนาจังหวัดปทุมธานี ให้กลายเป็นเมืองน่าเที่ยว จำเป็นต้องผลักดันพื้นที่ทางเศรษฐกิจแห่งใหม่ โดยเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดปทุมธานีเห็นว่าพื้นที่ระหว่าง คลองหมายเลข 3 และ แม่น้ำเจ้าพระยา มีสภาพพื้นที่เป็นเกาะ ซึ่งอาจจะมีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของเกาะเมืองอยุธยา อีกทั้งชุมชนมีทุนทางวัฒนธรรม ที่หลากหลาย เป็นอัตลักษณ์ อาทิ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี สถาปัตยกรรม การแต่งกาย อาหาร ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจน ความงดงามทางธรรมชาติของชุมชนเป็นเสน่ห์ สามารถใช้เป็นจุดเด่น สร้างความน่าสนใจ ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่นิยมท่องเที่ยวแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มาสัมผัสกลิ่นอาย การท่องเที่ยววิถีชุมชน จึงทำให้เกิดการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้เปิดเส้นทางท่องเที่ยวคลองหมายเลข 3 ภายใต้ใครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนคลองหมายเลข 3 ขึ้นมา เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนสู่ "ชุมชนท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรม" โดยการฟื้นฟู ส่งเสริมการท่องเที่ยวและวิถีอัตลักษณ์ชุมชน ให้พื้นที่คลองหมายเลข 3 กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งใหม่ของจังหวัดปทุมธานี
   ด้าน นางลัษมา ธารีเกษ วัฒนธรรม จ.ปทุมธานีกล่าวว่า จังหวัดปทุมธานี ได้มอบหมายให้ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี จัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนคลองหมายเลข 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม ให้เป็นสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจ สามารถจำหน่ายสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชนและเพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน ให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยฟื้นฟู สืบสาน ส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต การปรับปรุงแหล่งเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ชุมชน วัด ศาสนสถานที่อยู่ในเส้นทางคลองหมายเลข 3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนาพื้นที่ให้มีศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน โดยมีกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้ กิจกรรมเรียงร้อยเรื่องราว จัดทำข้อมูลด้านวัฒนธรรมและศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของชุมชน ที่ตั้งอยู่ในเส้นทางคลองหมายเลข 3 ที่ได้ความร่วมมือ เสนอแนวคิดการจัดกิจกรรมตามโครงการร่วมกับ คณาจารย์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กิจกรรมพัฒนา นักเล่าเรื่องและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี จัดการอบรมในวันที่ 28 - 29 เมษายน 2568 ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 50 คน โดยมีผู้นำชุมชน ประชาชนและเยาวชน ที่อยู่ในพื้นที่เส้นทางคลองหมายเลข 3 เข้าร่วมอบรมกิจกรรมเชื่อมแหล่งแจ้งเส้นทาง โดยประชุมร่วมกับคณาจารย์ คณะนิเทศศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จัดทำเส้นทางท่องเที่ยววิถีชุมชนคลองหมายเลข 3 โดยมุ่งเน้นศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของชุมชนและสะท้อนอัตลักษณ์วิถีชุมชนคลองหมายเลข 3 กิจกรรมพัฒนาต่อยอดสินค้าภูมิปัญญาจากชุมชน จัดการอบรมในวันที่ 6 - 7 พฤษภาคม 2568 ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 50 คน โดยมีผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ประชาชนและเยาวชน ที่อยู่ในพื้นที่เส้นทางคลองหมายเลข 3 เข้าร่วมอบรม กิจกรรมสร้างการรับรู้เปิดเส้นทางท่องเที่ยวคลองหมายเลข 3 ในวันนี้ ณ วัดศาลเจ้า ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี
   โดยมีกิจกรรมภายในงาน ดังนี้ การจัดจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวนกว่า 10 ร้านค้า การสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 5 รายการ การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านจำนวน 3 ชุดการแสดงการดำเนินการในครั้งนี้ได้รับความกรุณาจากพระครูรัตนธรรมรักษ์ เจ้าอาวาสวัดศาลเจ้า คณาจารย์คณะนิเทศศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่าย สภาวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานีและผู้ประกอบการในจังหวัดปทุมธานีซึ่งร่วมกันสนับสนุนให้ชุมชนในพื้นที่คลองหมายเลข 3 ก้าวสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งใหม่ ที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ


ธีระยุทธ ศรีนวลกลาย / รายงาน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
21 เม.ย. 2568
“กีฬา ... กีฬา ... เป็นยาวิเศษ” ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ที่นำมาร้องกันในสมัยก่อน หรืออาจจะร่วมถึงในยุคสมัยนี้ด้วยก็คงไม่ผิด และแน่นอนความหมายของนั้นก็คือ การเล่นกีฬา การออกกำลังกายนั้น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคภัยของเรานั่นเอ...