ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
น่าน - เร่งจัดระเบียบสายสื่อสาร สร้างความปลอดภัย 7 ตำบลอำเภอภูเพียงนำร่อง สู่ “Nan-Model” เมืองต้นแบบสายสื่อสารมิตรและปลอดภัย
14 พ.ค. 2568

ระหว่างวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรมดิอิมเพรสน่าน สภาองค์กรผู้บริโภคจังหวัดน่าน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการผลักดันการจัดระเบียบสายสื่อสารโทรคมนาคมในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยมีการขับเคลื่อนพื้นที่นำร่องใน 7 ตำบลของอำเภอภูเพียง ภายใต้แนวคิด “Nan-Model” เมืองต้นแบบสายสื่อสารที่เป็นระเบียบ สวยงาม และปลอดภัย

ภาพรวมสถานการณ์
สายสื่อสารที่พาดบนเสาไฟฟ้าถูกทิ้งร้างและขาดระเบียบมานาน ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงภาพลักษณ์ของจังหวัดน่าน โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยว ทั้งนี้ ข้อมูลจากศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดน่าน ระบุว่า 70% ของสายที่พาดอยู่ไม่ได้ใช้งานแล้ว แต่ยังไม่มีการรื้อถอน
ต้นตอปัญหา
• บริษัทรับเหมาช่วงพาดสายโดยไร้การควบคุมจากเจ้าของสัญญาณ
• ไม่มีระบบตรวจสอบคุณภาพและความเรียบร้อยของการพาดสาย
• หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ยังไม่สามารถระบุผู้รับผิดได้อย่างชัดเจน
การขับเคลื่อนครั้งนี้
จัดขึ้นโดยสภาองค์กรของผู้บริโภคจังหวัดน่าน พร้อมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น โดยมีนายประจักร์ จังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดงาน และนางสาวบุญยืน สิริธรรม ประธานสภาองค์กรผู้บริโภค กล่าวชี้แจงเป้าหมายโครงการ
หน่วยงานร่วมขับเคลื่อน
ประกอบด้วย สำนักงาน กสทช. เขต 34 (เชียงราย), การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 2 (พิษณุโลก), การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดน่าน, บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติสาขาน่าน, สำนักงาน ป.ป.ช.น่าน, สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดน่าน, สภาทนายความจังหวัดน่าน, ตำรวจภูธรจังหวัดน่าน และอีกหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตัวแทนประชาชนในพื้นที่
เป้าหมายสำคัญของโครงการ
• รื้อถอนสายที่ไม่ได้ใช้งาน
• จัดระบบสายให้เป็นระเบียบ
• เพิ่มความปลอดภัยบนถนนและพื้นที่สาธารณะ
• สร้างภาพลักษณ์เมืองน่านให้สวยงาม น่าอยู่ และยั่งยืน
• เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วม เช่น การนำสายที่รื้อถอนกลับมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่

MOU ความร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์
ภายในงาน มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างทุกภาคส่วน เพื่อจัดระเบียบสายสื่อสารในพื้นที่อำเภอภูเพียงให้เป็นมิตรและปลอดภัย โดยมีการตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผล เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืนในระยะยาว
โครงการ “Nan-Model” จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่ไม่เพียงแต่จัดการเรื่องสายสื่อสารอย่างเป็นระบบ แต่ยังเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ในการพัฒนาเมืองให้มีความปลอดภัย สวยงาม และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างแท้จริง

##############

กัลยา สองเมืองแก่น น่าน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
21 เม.ย. 2568
“กีฬา ... กีฬา ... เป็นยาวิเศษ” ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ที่นำมาร้องกันในสมัยก่อน หรืออาจจะร่วมถึงในยุคสมัยนี้ด้วยก็คงไม่ผิด และแน่นอนความหมายของนั้นก็คือ การเล่นกีฬา การออกกำลังกายนั้น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคภัยของเรานั่นเอ...