ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
เกษตรน่ารุ้ : การทำนาข้าวอินทรีย์
02 ส.ค. 2561

การทำนาข้าวปลอดสารพิษ เป้นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพิเพียง เพื่อให้ข้าวสำหรับการบริโภคอย่างปลอดภัย ไร้สารพิษ รักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะอนามัย สมบูรณ์ แข้งแรง ปราศจากโรคหรือมีโรคน้อยที่สุด เมื่อคนมีความแข็งแรงทั้งกายและใจแล้ว จะได้ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อให้เกิดผลดี โดยภูมิภาคที่ทำนาข้าวอินทรีย์ส่วนใหญ่จะเป็นภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตามลำดับ

  • ขั้นตอนที่ 1 : การเตรียมพันธุ์ข้าว การคัดเลือกพันธุ์ข้าว

1.คัดเลือกพันธุ์ข้างให้เหมาะสมกับพื้นที่นา เช่น ข้าวพันธุ์ ก.ข. จะชอบพื้นที่ลุ่มมีน้ำขังตลอด ตั้งแต่ปักดำจนถึง

ออกรวงและมีแป้ง จึงปล่อยน้ำออกจากคันนาได้ และได้ผลผลิตดี แต่ถ้าเป็นข้าวหอมมะลิจะขึ้นได้ดีทุกพื้นที่ ขอแต่ให้ม้ำขัง เนื่องจากการทำนาสิ่งสำคัญคือ ต้องมีน้ำ

                2.การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว คัดเลือกแปลงข้าวที่มีต้นข้าว รวงข้าว เมล็ดข้าวที่โตแข็งแรง เมล็ดข้าวแก่จัด เมล็ดข้าวมีความสมบูรณ์ ถอนออกเป็นรวงๆ ที่สมบูรณ์ที่สุดเก็บไว้ต่างหาก แล้วนำมาแยกเมล็ดข้าวและฟางข้าวออกจากกัน จากนั้นนำเมล็ดมาฝัด เพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ออก แล้วนำเมล็ดข้าวที่คัดเลือกว่าดีแล้วตากแห้ง แล้วเก็บไว้ทำพันธุ์ในปีต่อไป

  • ขั้นตอนที่ 2 : การเตรียมพื้นที่ทำนา

1.การเตรียมคูคันนา การทำนาจะต้องเตรียมคูคันนาให้มีความสูงประมาณ 50 – 70 เซนติเมตร ความหนา 60 –

80 เซนติเมตร เพื่อกักเก็บน้ำ เพราะข้าวจะขาดน้ำไม่ได้ ถ้าไม่มีน้ำขังจะเกิดพวกวัชพืชในข้าว ทำให้ข้าวเจริญเติบโตช้า เสียเวลานการกำจัดวัชพืช คันนาควรใส่ท่อระบายน้ำ เพราะถ้าช่วงแรกในการปักดำ ไม่ควรให้ระดับน้ำสูงมากกว่า 10 เซนติเมตร เพราะต้นข้าวยังไม่แข็งแรงพอ ถ้ามีนาในแปลงนามาก จะทำให้ต้นข้าวเน่าได้ ควรมีท่อระบายน้ำออก

                2.ปรับพื้นที่ในคันนาให้มีระดับเท่ากัน อย่าให้มีน้ำเอียงด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อจะได้ขังน้ำอยู่ระดับเดียวกัน ถ้าหากพื้นที่นามีความลุ่ม มีระดับพื้นที่ในระดับเดียวกันก็ไม่มีความจำเป็นในการปรับพื้นที่

  • ขั้นตอนที่ 3

หลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวเสร็จ พื้นที่นายังมีฟางข้าว มีหญ้า เราควรนำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์หว่านทั่วไป โดยคิดเฉลี่ย

200 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ แล้วฉีดพ่นด้วยน้ำยาจุลินทรีย์ให้ทั่ว แล้วไถกลบฟางข้าว จุลินทรีย์จะช่วยย่อยสลายฟางข้าวให้เน่าเปื่อย ทำให้ดินร่วนซุยเป็นอาหารของข้าวต่อไป สำหรับขั้นตอนนี้ควรทำในช่วงเดือนธันวาคม เพราะในช่วงนี้เป็นหน้าหนาว มีหมอกลง เหมาะในการขยายตัวของเชื้อจุลินทรีย์

  • ขั้นตอนที่ 4

นำน้ำจุลินทรีย์มาหมักเมล็ดข้าว โดยให้น้ำจุลินทรีย์ท่วมเมล็ดข้าว หากมีเมล็ดข้าวฟูน้ำให้เก็บออกให้หมด ควร

แช่เมล็ดข้าวประมาณ 2 – 3 วัน แล้วนำขึ้นจากน้ำมาพักไว้สัก 1 วัน แล้วนำมาหว่านในแปลงที่เตรียมไว้

  • ขั้นตอนที่ 5

การเตรียมพื้นที่สำหรับเพาะต้นข้าว

พอถึงฤดูการทำนา ถ้าหากปีไหนฝนดี คือฝนตกในช่วงเดือนมิถุนายน ควรเตรียมพื้นที่สำหรับกล้าพันธุ์ข้าว คือ

เตรียมแปลงสำหรับเพาะพันธุ์ข้าว ซึ่งมีหลักพิจารณาดังนี้

                1.ที่ดินร่วนซุย

                2.อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น สระน้ำ หนองน้ำ ถ้าหากฝนทิ้งช่วง จะได้อาศัยน้ำจากแหล่งน้ำได้

                วิธีเตรียมแปลงเพาะกล้าพันธุ์ข้าว

            1.ที่มีน้ำขังพอที่หว่านกล้า เราก็ไถและคราดินให้ร่วนวุย และระดับพื้นเสมอกัน ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดข้าวที่เตรียมไว้มาหว่าน อย่าให้หนาหรือห่างจนเกินไป

                2.ประมาณ 10 – 15 วัน ต้นกล้าตั้งหน่อได้แข็ง นำน้ำจุลินทรีย์ผสมน้ำพ่นต้นกล้า โดยผสมน้ำจุลินทรีย์ 3 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วแปลงกล้า

                3.ขังน้ำใส่ต้นกล้า อย่าให้น้ำขาดจากแปลงกล้า

                4.ก่อนจะถอนกล้า 5 วัน ให้น้ำจุลินทรีย์พ่นอีก เพื่อจะได้ถอนง่าย เพราะรากจะฟู

  • ขั้นตอนที่ 6 : การปักดำ

ในช่วงก่อนการปักดำ เราควรขังน้ำไว้ในนา เพื่อจะทำให้ดินนิ่ม ดินไม่แข็ง ง่ายในการไถดำ เราควรจะกักน้ำเอาไว้

                1.พอถึงเวลาดำนา เราควรปล่อยน้ำที่ขังออกจากคันนาให้เหลือไว้ประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร อย่าให้น้ำมาหรือน้อยจนเกินไป ถ้าน้ำมากจะทำให้ข้าวเปื่อย ถ้าน้ำน้อยหากฝนขาดช่วงจะทำให้ข้าวขาดน้ำ เพราะการทำนายังอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ จึงเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน

                2. ไถนาและคราดที่นาให้ดินร่วนซุย และนำต้นกล้ามาปักดำ ซึ่งกะความห่างระหว่างต้นให้กห่างประมาณ 40 เซนติเมตร เพื่อให้แตกกอได้ดี และใส่ต้นกล้ากอละประมาณ 2 – 3 ต้นกล้า

                3. เมื่อปักดำประมาณ 15 วัน นำจุลินทรีย์ไปผสมน้ำพ่นต้นข้าวในนา เพื่อกระตุ้นเชื้อจุลินทรีย์ที่หว่านตอนเตรียมที่ดิน และจะทำให้ต้นข้าวแข็งแรง เติบโต และทนต่อศัตรูข้าว

                4. คอยหมั่นดูแลต้นข้าว และดูแลระดับน้ำอย่าให้ขาดในนาข้าว หมั่นรักษาไม่ให้วัชพืชขึ้นมนนาข้าว และพ่นจุลินทรีย์ในทุกๆ 20 วัน จนถึงข้าวตั้งท้องแล้วจึงงดการพ่นจุลินทรีย์ แต่ยังคงรักษาระดับน้ำในคันนาอย่าให้ขาด

                5. พอข้าวแก่พอสมควร ก็ปล่อยน้ำออกจากคันนา และเตรียมเก็บเกี่ยวต่อไป

  • แมลงดีในแปลงนาข้าว

การรู้จัดกชนิดของศัตรูธรรมชาติ และปล่อยให้ศัตรูธรรมชาติช่วยกำจัดแมลงศัตรูข้าวเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุน

การผลิต ทำให้สภาพแวดล้อมคงสภาพเดิมมากที่สุด เป็นการรักษาผลผลิตไม่ให้เสียไป ผลผลิตข้าวที่ได้ก็ไม่มีสารพิษตกค้าง และสำคัญที่สุดคือ ช่วยอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในนาข้าวตามธรรมชาติได้มากขึ้น ได้แก่ แมง

มุมสุนัขป่า แมงมุมเขี้ยวยาว แมงมุมตาหกเหลี่ยม แมงมุมหลังเงิน แมงปอเม ด้วงเต่า ด้วงเงิน ด้วงก้นกระดก มวนเขียวดูดใบ มวนจิงโจ้ มวนเพชฌฆาต แตนเบียนแซนโธพิมปล้า แตนเบียนโกนาโตเวอรัส แตนเบียนเทเมลูค่า แมลงวันตาโต ฯลฯ

  • ปัญหาโรคแมลง

ปกตินาข้าวไร้สารพิษแทบจะไม่มีโรคแมลงรบกวน ธรรมชาติจะจัดการกันเองอย่างสมดุล ในนาจะมีปู ปลา กบเขียด แมงมุม ตัวห้ำ ตัวเบียน แมลงปอ และเนื่องจากต้นข้าวแข็งแรง ใบแข็ง พวกเพลี้ย รา ไร จะทำลายได้ยาก แต่หากมีโรคแมลงรบกวน ให้ใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ไล่แมลงชนิดสกัด หรือหมักฉีดพ่นในอัตรา 3 – 5 ช้อนต่อน้ำ 20 ลิตร โดยอาจฉีดรวมกับการฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเป็นการป้องกัน แต่เมื่อมีแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายมาก ควรฉีดพ่นติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน การฉีดพ่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ควรฉีดพ่นในช่วงเย็น

  • ปัญหาหอยเชอรี่

หอยเชอรี่เป็นศัตรูข้าวที่พบมาก เป็นหอยที่นำมาจากอเมริกาใต้ ชอบอาศัยในน้ำนิ่งหรือไหลช้า อายุ 3 เดือน สามารถผสมพันธุ์ออกไข่ครั้งละ 300 – 3,000 ฟอง กลุ่มไข่จะมีสีชมพู แม่หอยจะออกไข่ทุก 4 – 10 วัน จนอายุประมาณ 3 ปี ฟดูแล้งสามารถหลบฝังตัวจำศีลได้นาน 3 – 4 เดือน

  • วิธีกำจัดหอยเชอรี่

อาจทำได้โดยจับหอยและไข่มาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งมีธาตุอาหารสูง หรือนำเป็ดมาปล่อยในนา เป็ดจะกินหอยเชอรี่จนเกือบหมด หรือนาที่ไม่มีสารเคมี นกปากห่างจะลงมาจับหอยเชอรี่กิน

วิธีกำจัดหอยเชอรี่อีกอย่างคือ ใช้ปูนขาว 5 กิโลกรัม ละลายน้ำ 100 ลิตร คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 1 คืน นำน้ำปูนใส 2 ลิตร ผสมน้ำ 10 ลิตร สาดให้ทั่วแปลงนาที่มีน้ำลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ความเป็นด่างของปูนขาวจะทำให้หอยเชอรี่ตายปรือหนีไป แถมยังช่วยลดความเป็นกรดของดินได้ดี หรือถ้าแปลงนาเป็นแอ่งน้ำขัง เวลาหว่านข้าวปลูก หอยเชอรี่จะมารวมอยู่บริเวณน้ำ ถ้านำกิ่งสะเดามาวางให้ใบเน่าอยู่ในแอ่งน้ำ หรือใช้มะละกอสุกบดแช่ในน้ำหมักชีวภาพ 2 – 6 ชั่วโมง นำไปหว่านในนาช่วงทำเทือก ระดับน้ำประมาณ 10 เซนติเมตร หอยเชอรี่จะหนีไปหมด

  • ประโยชน์การทำนาข้าวอินทรีย์

1.ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตมากขึ้น เพราะการใช้ปุ๋ยจุลินทรีย์จะทำให้ได้ผลผลิต 800 กิโลกรัมต่อไร่

โดยต้นทุนในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพียงแค่ประมาณ 200 บาทต่อไร่ โดยอาจจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากในตอนแรก แต่จะค่อยๆ ลดลงเมื่อสภาพดินดีแล้ว ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีจะได้ผลผลิตประมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่ โดยต้ยทุนการผลิตประมาณ 400 บาทต่อไร่ และต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้นในทุกๆ ปี

                2. ได้สภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์กลับคืนมา ดินร่วนซุย รากข้าวชอนไซหาอาหารง่าย กบ กุ้ง ปลาชุกชุม มีสุขภาพชีวิตที่ดี มีอาหารปลอดสารพิษไว้บริโภค

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...