ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ จะช่วยลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรและลดสารปนเปื้อนจากการตกค้างของสารเคมีในผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต และลดปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่ขาดทุนจากการผลิตที่ต้องกู้หนี้ยืมสินมาซื้อปัจจัยการผลิต นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สามารถลดปัญหาความยากจนของเกษตรกรได้ จึงเป็นสาเหตุให้ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านหลายศูนย์ นำองค์ความรู้ในเรื่องเกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ ซึ่งได้มาจากการเรียนรู้ทดลองปฏิบัติของปราชญ์ชาวบ้านและเกษตรกรอีกหลายๆ ท่านในพื้นที่ มาถ่ายทอดให้เก๋ตรกรที่เข้ารับการอบรมโดยทั่วไป ด้วยวิธีการปลูกและดูแลรักษาที่ง่าย ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ และสารไล่แมลงที่สามารถผลิตเองทั้งหมด และวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ราคาไม่แพง
ทั้งนี้ พืชผักปลอดสารพิษที่ได้ จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มรายได้ของผลผลิต และเป็นการใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ เกษตรกรสามารถปลูกรับประทานเองและจำหน่ายเป็นรายได้ของครอบครัว มีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกพืชผักที่ปลอดภัยต่อการบริโภค ส่งผลให้ร่างกายของเกษตรกรดี รวมทั้งสุขภาพจิตดีตามมาด้วย โดยวัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนวิธีการผลิตสรุปได้ดังนี้
1.ปุ๋ยหมักชีวภาพ 2.น้ำหมักชีวภาพ 3.น้ำหมักสมุรไพร 4.กากน้ำตาล 5.ฟาง 6.ผ้ามุ้งไนล่อนผสมยูวี 7.กระดาษ
กระสอบปุ๋ย 8.ขุยมะพร้าว 9.บัวรดน้ำ10.จอบ 11.คาด
การเตรียมแปลงวิธีที่ 1
1.ขุดดินเป็นแปลงผักตามปกติn2.ทำร่องตรงกลางแปลง 3.โรยด้วยปุ๋ยหมักชีวภาพ ตามด้วยฟาง 4.รดด้วยน้ำผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์และกากน้ำตาล 5.กลบร่อง พร้อมเกลี่ยให้เรียบ 6.โรยปุ๋ยหมักชีวภาพอีกครั้ง และรดน้ำที่ผสมจุลินทรีย์ T.M. และกากน้ำตาลอีกครั้ง ทิ้งไว้ 7 วัน จึงปลูกผักได้
การเตรียมแปลงวิธีที่ 2
1.ขุดดินที่จะทำแปลงผักลึกประมาณ 25-30 ซม. กว้างปนะมาณ 1 เมตร ยาวตามต้องการ โดยเอาดินที่ขุดออกไว้ข้างแปลง 2.โรยปุ๋ยหมักชีวภาพลงในแปลงประมาณ 10 กก. ต่อตารางเมตร 3.เอาหน้าดินขุดออกลงใส่ คลุกให้เข้ากับปุ๋ยให้สูงกว่าระดับเดิมพอประมาณ 4.นำกากน้ำตาลกับน้ำหมักชีวภาพอย่างละ 1 ช้อน ผสมน้ำที่เตรียมไว้ รดแปลงให้ชุ่มวันละครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน 5.พรวนดินที่แปลง คาดให้เรียบ 6.รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน รดน้ำหมักสมุนไพรทุก 5 วัน และพรวนดินทุก 3 สัปดาห์
การเตรียมแปลงวิธีที่ 3
1.ขุดบ่อให้ลึกบวกคันดินประมาณ 4 เมตร 2.ความกว้าง 19 เมตร ยาว 29 เมตร 3.คลุมด้วยผ้ามุ้งไนล่อนผสมยูวี (บนคันดิน) 4.ปลูกผักโดยใช้กระดาษกระสอบปุ๋ยปูลงบนร่องผักลึก เพื่อไม่ให้ความร้อนลงไปยังดิน และเป็นการควบคุมหญ้าอีกทางหนึ่ง หรือปลูกผักโดยใช้ขุยมะพร้าวที่ผลิตเองเพื่อเก็บความชื้น
1.เป็นแปลงผักถาวร สามารถปลูกผักติดต่อกันได้ตลอดทั้งปี โดยไม่ใส่ปุ๋ย 2.แปลงผักมีจุลินทร์ทรีย์ ทำให้ดินร่วน
ซุย 3.ผักเจริญงอกงามดี แข็งแรง ต้านทานต่อโรค มีคุณค่าทางโภชนาการสูง 4.ต้นทุนต่ำ ได้ผลผลิตสูง ปลอดภัย
ถั่วงอกเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีคนนิยมรับประทานกันมาก และนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ยำ ผัด แกง ทอด และส่วนประกอบในการทำก๋วยเต๋ยว แต่ในปัจจุบันถั่วงอกที่ขายในท้องตลาดจะมีลำต้นอ้วน หัวเล็กและขาว จากผลการวิเคราะห์พบว่า ในถั่วงอกมีสารเคมีตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคเนื่องจากการรับประทานถั่วงอก และเกิดการสะสมสารเคมีในร่างกาย จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านจึงได้ถ่ายทอดองค์ความรู้การเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษ ซึ่งได้จากการเรียนรู้ ค้นคิดหาวิธีการเพาะถั่วงอกอย่างง่ายและสะดวก โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมกับแบบใหม่ๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค โดยมีขั้นตอนการผลิตสรุปได้ดังนี้
เมตร 5. กะละมังพลาสติก 4 ใบ 6. กะจาดพลาสติก (ขนาดใหญ่) 3 ใบ 7. กะจาดพลาสติก (ขนาดเล็ก) 3 ใบ 8. เก้าอี้พลาสติก 3 ตัว
1.นำถั่วเขียวมาคัดเมล็ดเล็กๆ ออก เพื่อให้เมล็ดถั่วเขียวเสมอกัน แล้วนำเมล็ดถั่วเขียวไปล้างน้ำให้สะอาด จึง
นำไปแช่น้ำให้ท่วม (เผื่อเมล็ดถั่วเขียวขยาย) ทิ้งไว้ประมาณ 8 ชั่วโมง (น้ำแช่ใช้อัตราส่วนน้ำธรรมดา 3 ส่วนต่อน้ำร้อน 1 ส่วน พอครบกำหนดแล้วล้งเมล็ดถั่วเขียวอีกครั้ง
2. การจัดเตรียมภาชนะเพาะถั่วงอก วางกระสอบป่านลงบนภาชนะ แล้ววางตระแกรงพลาสติกไว้บนกระสอบป่าน จึงนำเมล็ดถั่วเขียว วางเรียงบนแผ่นพลาสติกหนาประมาณ 3 เมล็ดถั่วเขียว ทำเหมือนข้างต้นอีก 2 ครั้ง แล้วปิดด้วยกระสอบป่าน ลดน้ำ แล้วปิดฝาถัง (ดูขนาดภาชนะที่ทำว่าทำได้กี่ชั้น)
3. ลดน้ำวันละ 4 เวลา เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน 3 วันก็นำถั่วงอกมารับประทาน
4. การล้างถั่วงอก ยกออกมาทีละชั้น นำถั่วงอกมาเขย่สในน้ำ เพื่อให้เปลือกถั่วงอกออก แล้วใช้มีดปราดตะแกรง เพื่อตัดรากถั่วงอกออก แล้วล้างน้ำอีกครั้งหนึ่ง นำไปรับประทาน จะได้ถั่วงอกที่หวาน กรอบอ ไร้ราก และปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์