สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เฟ้นหาคนพลังงานรุ่นใหม่ ควบคู่การมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อให้เกิดมิติใหม่ในการสร้างสรรค์นโยบายพลังงาน ที่เปลี่ยนความตั้งใจให้เป็นรูปธรรมและเข้าถึงประชาชนมากขึ้น ผ่านโครงการ THE ENERGiST by EPPO หรือ โครงการที่เปิดกว้างนโยบายพลังงานยุคใหม่เป็นแพลตฟอร์ม ที่เปิดโอกาสให้คนไทยเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นโยบายในฝันของตนเอง ภายใต้กรอบแนวคิด “Bottom Up Policy”
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า โครงการ THE ENERGiST เป็นโครงการใหม่ ในปี 2562 ดารดำเนินงานประมาณ 6 เดือน เป็นการส่งเสริมให้เกิดเป็นนโยบาย ในเรื่องพลังงาน ในมุมคิดของคนรุ่นใหม่ และได้เปิดกว้างความคิดและนวัตกรรม กับนโยบายพลังงานยุคใหม่ เฟ้นหาไอเดียเพื่อเสนอแนะประกอบการจัดทำนโยบายหรือมาตรการด้านพลังงานใหม่ ๆ ที่สอดดล้องกับบริบทของสังคมยุคใหม่ผ่านกิจกรรม “Hackathon" คือการสัมนาตลอด 24 ชั่วโมง ที่พร้อมกันพัฒนาไอเดียเหล่านั้นกับนักวิชาการด้านพลังงานของประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งนโยบายที่นำไปใช้ได้จริง
ในการคัดเลือกจะเน้นไปที่ความน่าสนใจของพลังงาน ในรูปแบบใหม่ๆ ที่จะมีเกิดในอนาคต ความเป็นไปได้ ในเชิงปฎิบัติ และการไปสู่การปฎิบัติได้จริง ต่อยอดไปถึงการพัฒนาให้เกิดอาชีพ เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ อีกทั้งการนำเสนอต้องฟังรู้เรื่อง กระชับ และเข้าถึงประชาชนเป็นสิ่งสำคัญโครงการนี้มีผู้สนใจสมัครทั้งหมด 36 ทีม ได้ผ่านการคัดเลือกและเข้ารอบจำนวน 14 ทีม และจะคัดเหลือเพียง 2 ทีม คือชนะเลิศ และรองชนะเลิศ ที่จะได้รับรางวัล เป็นเงินสดมูลค่า 150,000 บาท ซึ่งทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท ทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท และได้สิทธิ์เดินทางไปดูงานยังต่างประเทศ และคาดว่า สนพ.จะหยิบยกนโยบายใหม่จากคนรุ่นใหม่มาใช้ในการดำเนินงานด้านพลังงานของไทย
“สำหรับแนวทางด้านพลังงานไทยในอนาคตจำแนกได้ 7 ด้าน คือ จะมีการใช้พลังงานที่จะใช้ไฟฟ้ามากขึ้น (Electrification) น้ำมัน แก๊ส จะลดบทบาทลง การผลิตพลังงานแบบกระจายตัว (Decentralisation) ผลิตเองใช้เองมากขึ้น การนำเทคโนโลยีดิจิตอล และข้อมูล บิ๊ก ดาต้า (Digitisation and Big Data )มาใช้มากขึ้น การใช้พลังงานที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonisation) พลังงานหมุนเวียนจะมากขึ้น การผ่อนปรนกฎเกณฑ์ปรับปรุง กฏระเบียบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมและการแข่งขันอย่างเป็นธรรม (Deregulation) การเชื่อมโยง และสร้างความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้าน (AEC Energy Connection) ด้านระบบขนส่งและนวัตกรรมยานยนต์ (EV)แห่งอนาคต (Mobility and Transportation)”
อย่างไรก็ตามการดำเนินงานด้านพลังงานไทยนั้นจะมีความยั่งยืนหรือไม่ขึ้นอยู่ที่การนำไปใช้ได้จริง การปฏิบัติได้จริง หันมาผลิตไฟฟ้าใช้เอง อุปกรณ์ต้องมีราคาที่ถูกลง ประชาชนเข้าถึงได้ และลดการนำเข้าจากต่างประเทศ
สำหรับผลการประกาศรางวัลในครั้ง ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะอันดับที่ 1 ได้แก่ EP optimizers Green Logo ก้าวแรกสู่ตลาดเสรีไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน Renewable Energy Deregulation ส่วนทีมรองชนะอันดับที่ 2 คือ OPOPP หนึ่งจังหวัด หนึ่งโรงไฟฟ้า ONE PROVINCE ONE POWER PLANT (OPOPP) Decentralisation
สำหรับผลการประกาศรางวัลในครั้ง ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะอันดับที่ 1 ได้แก่ OPOPP หนึ่งจังหวัด หนึ่งโรงไฟฟ้า ONE PROVINCE ONE POWER PLANT (OPOPP) Decentralisation เป็นโครงการที่ลดการนำเข้าพลังงาน40% ลดการสูญเสียและเพิ่มเสถียรภาพของโรงไฟฟ้า ประหยัดปีละประมาณ 20,000 ล้านบาท
ส่วนทีมรองชนะอันดับที่ 2 คือ EP optimizers Green Logo ก้าวแรกสู่ตลาดเสรีไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน Renewable Energy Deregulation วัตถุประสงค์ ส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ด้วยการสร้างความต้องการจากผู้บริโภค ซึ่งผลักดันให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรรม ที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ เลือกใช้พลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น