ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
สทนช.ย้ำเกษตรกร งดปลูกพืชเกินแผน
19 มี.ค. 2562

  สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ วางแผนจัดสรรน้ำเตรียมพร้อมประเทศไทยรับมือฤดูแล้ง เน้นย้ำเกษตรกรไม่ปลูกพืชเพิ่มอีก ขอความร่วมมือช่วยประหยัดน้ำก่อนเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ฤดูฝน พร้อมเร่งดูแลมาตรการจัดการน้ำของหน่วยงานทุกภาคส่วนให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน

นายสมเกียรติ  ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า ประเทศไทยในปีนี้สถานการณ์แล้งมากกว่าเมื่อปี 2561 แต่น้อยกว่าช่วงแล้งจัดเมื่อปี 2557 มีฝนตกน้อยตั้งแต่ต้นปี โดยเมื่อเปรียบเทียบสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในปี 2561 และปี 2562 แล้วนั้น พบว่า ในปีนี้มีปริมาณน้ำลดลงจากปีก่อน คือจาก 71% ลดลงเหลือ 66% เช่นเดียวกับปริมาณน้ำใช้การจาก 38 % เหลือ 33% แต่ทั้งนี้ก็ได้มีมาตรการจัดสรรน้ำจากอ่างขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่ง และได้ทำการจัดสรรแล้วถึง 72% เป้าหมายหลักคือการรักษาปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภคและรักษาระบบนิเวศ ให้ทอดยาวไปจนถึงกลางเดือนพ.ค. ซึ่งถือเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูฝน โดยยืนยันว่าทุกภาคจะไม่ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ มีเพียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่หน่วยงานจะต้องเฝ้าระวังสถานการณ์เป็นพิเศษ

ด้านภาคการเกษตร สำหรับพื้นที่ในเขตชลประทาน แม้จะมีการกำหนดพื้นที่เพาะปลูกตามศักยภาพของน้ำต้นทุนไว้แล้ว แต่จากการสำรวจล่าสุดพบว่า มี 31 จังหวัด ที่มีการปลูกพืชมากกว่าแผนที่กำหนด รวมมากกว่า 1 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณเหนือจังหวัดนครสวรรค์ ที่เกิดปัญหาการสูบน้ำไปใช้ในการเพาะปลูกเมื่อมีการปล่อยระบายน้ำจากเขื่อน ในส่วนนอกเขตชลประทานมีการคาดการณ์ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูกาลว่า 11 จังหวัด อาจเกิดปัญหาการปลูกพืชมากกว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ โดยในปัจจุบันพบว่ามีการปลูกพืชมากกว่าแผนราว 1 แสนไร่ โดยกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เร่งแก้ปัญหาด้วยการกวดขันการจัดการน้ำในพื้นที่ของชลประทานมากขึ้น พร้อมร่วมขับเคลื่อนเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ซึ่งได้มีการประกาศไม่สนับสนุนการปลูกพืชฤดูแล้ง และให้มีการปลูกพืชฤดูแล้งที่ใช้น้ำน้อยในพื้นที่รับน้ำจาก 4 เขื่อน ได้แก่ ทับเสลา กระเสียว     ลำนางรอง และลำพระเพลิง

“ในพื้นที่ที่ได้มีการเพาะปลูกเกินแผนไปแล้วนั้น อาจมีการแบ่งสรรน้ำจากส่วนที่สำรองไว้ในช่วงก่อนถึงเดือนพฤษภาคมมาใช้เพื่อช่วยเหลือทั้งยังต้องขอความร่วมมือจากเกษตรกรในการช่วยกันประหยัดน้ำ และต้องอาศัยบุคลากรจากกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมชลประทานในการใช้ระบบที่มีอยู่ในการควบคุมและจัดระเบียบการใช้น้ำให้มากขึ้น และต้องร่วมมือไม่ปลูกเพิ่มอีก  พร้อมวางแผนปรับปรุงให้มีการกำหนดจำนวนพื้นที่เพาะปลูกและประกาศอย่างชัดเจนให้ประชาชนได้รับรู้เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาระยะยาวในอนาคต” นายสมเกียรติ กล่าว

สำหรับสถานการณ์น้ำของแม่น้ำในทุกภาคของประเทศ พบว่า มีปริมาณน้ำน้อยถึงปกติ โดยแม่น้ำเจ้าพระยา อ.เมือง   จ.นครสวรรค์ อัตราการไหลผ่าน 293  ลบ.ม./วินาที อ.สรรพยา จ.ชัยนาท อัตราการไหลผ่าน 70 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำชี อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ ไม่มีอัตราน้ำไหลผ่าน อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร อัตราการไหลผ่าน 3.40 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำมูล อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา อัตราการไหลผ่าน 0.84 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำแม่กลอง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี อัตราการไหลผ่าน 96 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มลดลง ส่วนแม่น้ำโขงตั้งแต่บริเวณ จ.เชียงราย จ.นครพนม ถึง จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 9.03 ม. ลดลง 0.029.18 ม. ลดลง 0.11 และ 11.19 ม. ลดลง 0.12 ตามลำดับ

 ขณะที่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ พบว่า อ่างฯขนาดใหญ่ มีปริมาณน้ำ 46,606 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 66% ปริมาณน้ำใช้การ 23,063 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 49% อ่างฯ ขนาดกลาง คิดเป็น 419 แห่ง มีปริมาณน้ำ 2,856 ล้าน ลบ.ม.       คิดเป็น 51% ปริมาณน้ำใช้การ 2,431 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 47% ทั้งนี้ อ่างฯ น้ำระหว่าง 30-50% ของปริมาณน้ำใช้การ แบ่งเป็น ขนาดใหญ่ 14 แห่ง ได้แก่ ภูมิพล สิริกิติ์ แม่กวงอุดมธารา แควน้อยบำรุงแดน ป่าสักชลสิทธิ์ น้ำอูน จุฬาภรณ์ ลำปาว ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ ขุนด่านปราการชล คลองสียัด บางพระ ขนาดกลาง 115 แห่ง อ่างฯ น้ำน้อยกว่า 30% ของปริมาณน้ำใช้การ แบ่งเป็น ขนาดใหญ่ ภาคเหนือ 1 แห่ง แม่มอก 26 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 28% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 แห่ง      อุบลรัตน์ 84 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 5% สิรินธร 113 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 10% ลำนางรอง 34 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 29%        ห้วยหลวง 35 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น27% ภาคกลาง 2 แห่ง ทับเสลา 23 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 16% และกระเสียว 26 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 10% ขนาดกลาง 95 แห่ง พบ ภาคเหนือ 5 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 75 แห่ง ภาคกลาง 13 แห่ง ภาคใต้ 2 แห่ง 

 
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...