ชุมชนกับภูมิปัญญาท้องถิ่นถือเป็นของคู่กันและเป็นสมบัติล้ำค่าที่หาไม่ได้จากที่ไหนนอกจากในท้องถิ่น มาบเหลาชะโอน ถือเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่อาจไม่ได้มีความโดดเด่นด้านแหล่งท่องเที่ยวมากนัก แต่เมื่อพูดถึง “กระจูด” ทุกคนต้องคิดถึงบ้านมาบเหลาชะโอน เป็นแห่งแรกและเพราะด้วยเอกลักษณ์ของสินค้าท้องถิ่นที่ประณีตหาที่ใดเทียบได้กับแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่เล่าขานความเป็นมาของผลิตภัณฑ์กระจูดได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้เป็นแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวที่น่าจดจำยิ่งนัก
โดยบ้านมาบเหลาชะโอน หมู่ที่ 5 ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้าน OTOP ที่ถูกพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดระยอง โดดเด่นในด้านเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมรวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการจักสานอีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าทิวทัศน์โดยรอบบริเวณหมู่บ้านที่งดงาม ยิ่งเมื่อขึ้นไปยังโบสถ์หินอ่อนบนยอดเขาที่อลังการ จะสามารถมองเห็นชายทะเลและหมู่เกาะบริเวณหาดวังแก้ว แหลมแม่พิมพ์ แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของเมืองระยอง รวมถึง บึงน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ ที่ชื่อ “บึงสำนักใหญ่” หรือหนองจำรุง มีพื้นที่ 3,871 ไร่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาน้ำจืดนานาชนิดและมีต้นกระจูดขึ้นเป็นจำนวนมาก
โดยบ้านมาบเหลาชะโอนเป็นหมู่บ้านที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนแบบเรียบง่าย ใช้ภาษาท้องถิ่นในการสื่อสาร และอาหารพื้นบ้านที่เน้นอาหารทะเลที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งจากที่รอบบึงสำนักใหญ่มีต้นกระจูดขึ้น เป็นจำนวนมาก จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายภายใต้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยแต่เดิมชาวบ้านใช้ประโยชน์จากต้นกระจูด ในการผูกมัดสิ่งของต่างๆ สานเป็นเสื่อและกระสอบใส่น้ำตาล เพื่อเป็นของบรรณาการ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา นับเป็นเวลากว่า 200 ปี มาแล้วดังนั้น การสานเสื่อกระจูด จึงเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้านมาบเหลาชะโอน ที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันโดยได้จัดตั้งกลุ่มจักสานกระจูดขึ้น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2544 วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความสามัคคี และนำวัตถุดิบ ที่มีมากมายมาแปรรูป เพิ่มมูลค่า
ทำให้ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดประเภทหลากหลาย ประเภทกระเป๋าหิ้ว กระเป๋าสะพาย ประเภทกล่อง ประเภทตะกร้า และประเภทอื่น ๆ เพราะทางชุมชนสามารถออกแบบสินค้าตามที่นักท่องเที่ยวต้องการได้อีกด้วย และกลายเป็นสินค้า OTOP ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นไปเลย
สำหรับแหล่งท่องเที่ยวของบ้านมาบเหลาซะโอน อาจจะไม่มีมากนักแต่หลายสถานที่ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าจดจำและน่าใจทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่นสวนพฤกษศาสตร์ระยองที่เป็นพื้นที่ขุ่มน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่แห่งในประเทศไทย สภาพป่าและระบบนิเวศของที่นี่แปลกตาหาดูได้ยาก โดยทั่วไป ประกอบด้วย กกหญ้า ป่าเสม็ด และป่าดิบแล้งที่นับได้ว่าเป้นป่าดิบแล้งดั้งเดิมที่สมบูรณ์
มีพรรณไม้ท้องถิ่นภาคตะวันออก พรรณไม้ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์กว่า 400 ชนิด สวนพฤกษศาสตร์ระยองดำเนินงานมุ่งเน้นให้เป็นศูนย์รวมและแสดงพรรณไม้พื้นที่ชุ่มน้ำและป่าเสม็ด แสดงความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าชายหาด ซึ่งเป็นจุดเด่นของพื้นที่และมีเหลือน้อยในสภาพธรรมชาติของภาคตะวันออก ความหลากหลายของสวนพฤกษศาสตร์ระยองที่มีพื้นที่กว่า 3,000 ไร่ ทำให้มีกิจกรรมหลายอย่างให้เลือก ทั้งล่องเรื่อง เดินศึกษาธรรมชาติ ปั่นจักรยานและหากใครอยากไปไหว้พระพร้อมชมความงามของโบราณสถานที่งดงามก็ยังมีวัดสนามรัตนาวาส ที่มีโบสถ์หินอ่อนอันงดงามอีกด้วย
สำหรับแหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์ชุมชน คือบึงน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า "บึงสำนักใหญ่" หรือหนองจำรุง มีพื้นที่ 3,871 ไร่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาน้ำจืดและต้นกระจูดจำนวนมาก ซึ่งแต่เดิมชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากต้นกระจูด ในการผูกมัดสิ่งของต่าง ๆ สานเป็นเสื่อและกระสอบใส่น้ำตาลและเป็นของบรรณาการมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเนิ่นนานมากว่า 200 ปี
นอกจากแหล่งท่องเที่ยวที่ถือเป็นสมบัติล้ำค่าที่บอกเล่าพื้นเพความเป็นมาของหมู่บ้านได้อย่างดี ยังมีสินค้าชุมชนของบ้านมาบเหลาชะโอน ที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการหาของฝากติดมือกลับบ้าน โดยเริ่มต้นมีการสานเพื่อไว้ใช้ในครอบครัว ต่อมามีพ่อค้ามารับไปขายอีกที จึงทำให้มีรายได้หลังจากการทำสวนและด้วยเหตุผลที่ในหมู่บ้านมีบึงกระจูด ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติกว่า 1,000 ไร่ ประกอบกับรัฐบาลได้จัดตั้งและสนับสนุนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านนี่เอง
สามารถเดินทางได้โดยรถยนต์ส่วนตัว และรถโดยสารประจำทาง รถตู้โดยสาร ระยะทาง จากกรุงเทพถึงบ้านมาบเหลาชะโอน ประมาณ 190 กิโลเมตร ก็ถือเป็นระยะทางที่ไม่ไกลจากเมืองกรุงเทพฯ มากนักส่วนที่พักขอแนะนำบ้านมนตรี มาบเหลาชะโอนโฮมสเตย์ ที่มีลักษณะเป็นบ้านสวน อากาศดีเงียบสงบ แถมมีกิจกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น