สื่อเมียนมาตีข่าวชาวพม่าถูกใช้ทำงานไม่ตรงสัญญาจ้าง-กักตัวนานกว่าสัปดาห์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นสพ. The Myanmar Times ของเมียนมา เสนอข่าว “Myanmar workers stranded in Thailand” โดยระบุว่า แรงงานชาวเมียนมา 60 คนที่ไปทำงานในประเทศไทยถูกใช้ให้ทำงานที่ไม่ตรงกับสัญญาจ้าง จากที่ตกลงกันไว้ว่าจ้างให้ไปเป็นคนงานติดตั้งเหล็กดัดหน้าต่างอลูมิเนียม โดย Ko Kyaw Thu Aung 1 ในแรงงานกลุ่มดังกล่าว เปิดเผยว่า 30 คนถูกส่งไปทำงานก่อสร้าง ส่วนที่เหลือนายจ้างจะทยอยส่งไปทำงานอื่นๆ ต่อไป
คนงานอีกรายกล่าวเสริมว่า หลังจากเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 2 พ.ค. 2562 พวกเขาถูกกักตัวอยู่ในอาคารโรงงานแห่งหนึ่งเป็นเวลาราว 1 สัปดาห์ในสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ค่อยเหมาะสม และไม่ได้อะไรนอกจากอาหารเป็นเวลา 3 มื้อเท่านั้น แต่บางรายระบุว่าแม้แต่อาหารและน้ำก็ยังไม่ได้ พวกเขาต้องรอมาแล้ว 8 วันและถูกขอให้รอต่อไปอีก 3 วัน ทั้งที่ได้จ่ายเงินค่างธรรมเนียมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหางานไปแล้วถึง 1 ล้านจ๊าด หรือประมาณ 2 หมื่นบาท
ขณะที่ Daw Kyi Kyi Win กรรมการผู้จัดการบริษัทจัดหางาน Agile Manpower ชี้แจงว่า เบื้องต้นได้ส่ง 1 ในผู้บริหารไปยังประเทศไทยเพื่อช่วยเหลือแรงงานกลุ่มนี้แล้ว ซึ่งคาดว่ากระบวนการช่วยเหลือจะเริ่มขึ้นในวันที่ 10 พ.ค. 2562 และย้ำว่าตามกฎของบริษัทไม่อนุญาตให้นายจ้างโอนย้ายแรงงานข้ามประเทศ อย่างไรก็ตามบริษัทจำเป็นต้องส่งคนงานไปยังประเทศไทยแม้นายจ้างจะไม่สามารถจ้างให้ทำงานได้ เพราะมีกฎอีกข้อหนึ่งที่กำหนดให้ต้องส่งแรงงานภายใน 2 เดือนหลังจากได้เซ็นสัญญาจัดหางานแล้ว
ด้าน U Sang Maung Oo ผู้ช่วยทูตแรงงานเมียนมา กล่าวว่า ได้รายงานเหตุที่เกิดขึ้นให้กรมการจัดหางานของไทยทราบแล้ว และขอให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแม้ว่าจะไม่ได้ให้พวกเขาทำงานก็ตาม และจะร่วมมือกับทางการไทยตรวจสอบโรงงานดังกล่าวว่าเหตุใดจึงไม่สามารถจ้างแรงงานเมียนมากลุ่มนี้ให้ทำงานได้ ทั้งนี้ในแต่ละเดือนมีชาวเมียนมา 18,000 คนเดินทางไปทำงานในประเทศไทยภายใต้ข้อตกลงกันระหว่างรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ
สื่อเมียนมาตีข่าวชาวพม่าถูกใช้ทำงานไม่ตรงสัญญาจ้าง-กักตัวนานกว่าสัปดาห์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นสพ. The Myanmar Times ของเมียนมา เสนอข่าว “Myanmar workers stranded in Thailand” โดยระบุว่า แรงงานชาวเมียนมา 60 คนที่ไปทำงานในประเทศไทยถูกใช้ให้ทำงานที่ไม่ตรงกับสัญญาจ้าง จากที่ตกลงกันไว้ว่าจ้างให้ไปเป็นคนงานติดตั้งเหล็กดัดหน้าต่างอลูมิเนียม โดย Ko Kyaw Thu Aung 1 ในแรงงานกลุ่มดังกล่าว เปิดเผยว่า 30 คนถูกส่งไปทำงานก่อสร้าง ส่วนที่เหลือนายจ้างจะทยอยส่งไปทำงานอื่นๆ ต่อไป
คนงานอีกรายกล่าวเสริมว่า หลังจากเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 2 พ.ค. 2562 พวกเขาถูกกักตัวอยู่ในอาคารโรงงานแห่งหนึ่งเป็นเวลาราว 1 สัปดาห์ในสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ค่อยเหมาะสม และไม่ได้อะไรนอกจากอาหารเป็นเวลา 3 มื้อเท่านั้น แต่บางรายระบุว่าแม้แต่อาหารและน้ำก็ยังไม่ได้ พวกเขาต้องรอมาแล้ว 8 วันและถูกขอให้รอต่อไปอีก 3 วัน ทั้งที่ได้จ่ายเงินค่างธรรมเนียมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหางานไปแล้วถึง 1 ล้านจ๊าด หรือประมาณ 2 หมื่นบาท
ขณะที่ Daw Kyi Kyi Win กรรมการผู้จัดการบริษัทจัดหางาน Agile Manpower ชี้แจงว่า เบื้องต้นได้ส่ง 1 ในผู้บริหารไปยังประเทศไทยเพื่อช่วยเหลือแรงงานกลุ่มนี้แล้ว ซึ่งคาดว่ากระบวนการช่วยเหลือจะเริ่มขึ้นในวันที่ 10 พ.ค. 2562 และย้ำว่าตามกฎของบริษัทไม่อนุญาตให้นายจ้างโอนย้ายแรงงานข้ามประเทศ อย่างไรก็ตามบริษัทจำเป็นต้องส่งคนงานไปยังประเทศไทยแม้นายจ้างจะไม่สามารถจ้างให้ทำงานได้ เพราะมีกฎอีกข้อหนึ่งที่กำหนดให้ต้องส่งแรงงานภายใน 2 เดือนหลังจากได้เซ็นสัญญาจัดหางานแล้ว
ด้าน U Sang Maung Oo ผู้ช่วยทูตแรงงานเมียนมา กล่าวว่า ได้รายงานเหตุที่เกิดขึ้นให้กรมการจัดหางานของไทยทราบแล้ว และขอให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแม้ว่าจะไม่ได้ให้พวกเขาทำงานก็ตาม และจะร่วมมือกับทางการไทยตรวจสอบโรงงานดังกล่าวว่าเหตุใดจึงไม่สามารถจ้างแรงงานเมียนมากลุ่มนี้ให้ทำงานได้ ทั้งนี้ในแต่ละเดือนมีชาวเมียนมา 18,000 คนเดินทางไปทำงานในประเทศไทยภายใต้ข้อตกลงกันระหว่างรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ