ช่วงปลายปีกำลังได้เข้าฤดูหนาวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ทำไมหนออากาศในเมืองกรุงยังคงร้อนแรงไม่ต่างจากฤดูร้อนเลย ซึ่งหากใครกำลังมองหาที่เที่ยวรับลมหนาวให้สมกับฤดูหนาวแต่ยังไม่รู้ว่าไปไหนดี ขอแนะนำดอยปู่หมื่น หนึ่งในสถานที่เที่ยววิถีชุมชนที่มีธรรมชาติและความสวยงามของวัฒนธรรมท้องถิ่น พร้อมกับลมหนาวจากยอดดอยที่หาไม่ได้แน่ในเมืองกรุง
โป่งน้ำร้อนฝางเป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติเกิดจากความร้อนใต้ดิน มีไอร้อนคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา อุณหภูมิของน้ำประมาณ 40-88 องศาเซสเซียล มีจำนวนมากมายหลายบ่อในพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ (บ่อใหญ่มีไอน้ำร้อนพุ่งขึ้นสูงถึง 40-50 เมตร) อุทยานแห่งชาติได้จัดบริการห้องอาบน้ำแร่และอบไอน้ำ บ่อน้ำร้อนจะอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเล็กน้อย และทางอุทยานแห่งชาติได้จัดให้มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติขึ้นเขาผ่าป่าเบญจพรรณมาถึงบ่อน้ำร้อน ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร
ดอยปู่หมื่น ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 174 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง ซึ่งที่แห่งนั้นมีชาวเขาเผ่าลาหู่อาศัยอยู่จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว
โดยชาวเผ่าล่าหู่หรือ ชาวมูเซอ เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งในประเทศไทย แบ่งย่อยได้เป็น 23 กลุ่ม เช่น ชาวมูเซอดำ ชาวมูเซอแดง ชาวมูเซอดำเบเล ชาวมูเซอเหลืองบาเกียว ชาวมูเซอลาบา ชาวมูเซอเหลืองบ้านลาน และชาวมูเซอกุเลา เป็นต้น ภาษาที่ใช้พูดคือภาษามูเซอที่แตกต่างไปในแต่ละเผ่าย่อย ชาวมูเซอเรียกตัวเองว่าล่าหู่ หมายถึง ชนเผ่าที่ได้กินเนื้อเสือปิ้ง ซึ่งเป็นการบอกถึงความกล้าหาญของชาวมูเซอที่ล่าเสือมากินเป็นอาหารได้ส่วนคำว่ามูเซอนั้น
โดยอดีตเคยเป็นแหล่งปลูกฝิ่นแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ด้านติดชายแดน อาชีพของเกษตรกรจะทำไร่เลื่อนลอย มีการบุกรุกถางป่าเพื่อปลูกพืช ทำให้สภาพป่ากลายเป็นเขาหัวโล้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ เยี่ยมชาวไทยภูเขาที่บ้านปู่หมื่นในปี 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯ ที่บ้านดอยปู่หมื่นและได้
ซึ่งปัจจุบันชนเผ่าลาหู่ได้อาศัยอยู่แถบเหนือของประเทศไทย เช่น เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำปาง และในประเทศพม่าบางส่วน สามารถชนเผ่านี้ได้ในพื้นที่ติดชายแดน ส่วนใหญ่แล้วชนเผ่าลาหู่ มักจะอาศัยปะปนกับชนเผ่าอื่นๆ หรือคนไทย มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นหมู่บ้าน เผ่าลาหู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ลาหู่แดง ซึ่งมีการนับถือผี โดยโตโบหรือผู้นำทางศาสนา ส่วนลาหู่ดำหรือลาหู่เหลือง ก็มีการนับถือผีเช่นกัน นอกจากนี้เผ่าลาหู่ก็ยังมีการนับถือศาสนาคริสต์อีกด้วย
สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวนั้นจะเป็นเชิงในธรรมชาติผสมผสานกับวัฒนธรรมและวิถีท้องถิ่นได้อย่างกลมกลืนและเป็นธรรมชาติ เช่น น้ำตกปู่หมื่น หรือคนในพื้นที่เรียกกันติดปากว่า น้ำตกงวงช้าง เป็นน้ำตกปู่หมื่นที่น้ำที่ไหลมาจากดอยผาหลวง
ผลจากกระแสน้ำได้ไหลไปกระทบกับหลุมบนหินที่อยู่ตรงกลางของระหว่างชั้นแล้ว จะพุ่งขึ้นไปฟุ้งกระจายเป็นฝอยโค้งซึ่งมีลักษณะคล้ายงวงช้าง ด้วยเส้นทางน้ำไหลที่มีรูปร่างเหมือนงวงช้า นั้นจึงทำให้ชาวบ้านเรียกที่นี้ว่า น้ำตกงวงช้าง ถือเป็นศิลปะจากธรรมชาติที่หาชมได้ยาก แต่ช่างงดงามและตราตรึงใจจนน่าไปลองเห็นด้วยตาซักครั้งจริงๆ
ส่วนที่พักเองก็มีอยู่หลายที่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็มีห้องรองรับได้ประมาณ 2- 4 คน โดยลักษณะบ้านจะเป็นโครงสร้างจากไม้ไผ่ มีมุ้ง เตียง หมอนและผ้าห่มครบครัน แม้จะไม่มีเครื่องปรับอากาศแต่ด้วยอากาศในพื้นที่หนาวจับจิต ทำให้ไม่ต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศแต่อย่างใด นอกจากนี้ที่นี้ก็ยังพอมีสัญญาณมือถืออยู่นบางพื้นที่ และยังมีร้านค้าเล็กๆ ของชาวบ้านขายของทั่วไปครับ ถ้าเป็นของพิเศษส่วนตัว ต้องนำขึ้นมาเองเลยครับและควรพกขยะไปด้วยเนื่องจากทางชุมชนยังไม่มีระบบจัดเก็บขยะจำนวนมากที่มาจากนักท่องเที่ยว ถือเป็นการช่วยเหลือชาวบ้านไปอีกทางหนึ่งด้วย
เรื่องอาหารการกินก็ไม่ต้องห่วง เขามีอาหารรองรับแน่นอน รวมถึงอาหารในท้องถิ่นอย่าง ข้าวปุ๊ก ที่นำแป้งแผ่นกลมพับครึ่งทำจากข้าวเหนียว ตำผสมกับถั่วงาพร้อมย่างไฟให้สุกหอม แล้วโรยน้ำตาลอ้อย ทำให้เกิดรสชาตินวนกำลังดี และยังมีเมนู วะซาเอเดหู่กือจาเว เป็นการนำเนื้อหมูสับผสมกับสมุนไพรต่างๆ แล้วนำไปใส่กระบอกไม้ไผ่เผาไฟจนสุกหอม ถือเป็นอาหารของชนเผ่าล่าหู่ ที่แปลกและไม่ได้หาทานได้ง่ายๆ ขอบอก
สำหรับเส้นทางการเดินทางไปดอยปู่หมื่นนั้น มีรถประจำทางจากเชียงใหม่จะมีสองแบบคือ รถบัสสีส้มหรือรถตู้ฝางขึ้นที่ท่ารถช้างเผือก ใช้เวลาประมาณ 3 ชม. มาลงในตัวเมืองฝาง และนัดหมายเพื่อมารับ ณ ท่ารถได้เลย ส่วนใครนำรถมาเองจะมีที่จอดให้ในตัวเมืองฝาง ซึ่งการเดินทางเข้าสู่ดอยปู่หมื่นทุกกรณีขอให้ทำการจองล่วงหน้าด้วยนะครับ โดยสามารถโทรติดต่อโดยตรงที่เบอร์ 082-1905957 (คุณเจริญไชย-ประธานโฮมสเตย์) เพื่อนัดหมายจำนวนคน ช่วงเวลา กิจกรรม และการเดินทางขึ้นสู่ดอยปู่หมื่นครับ