การเมืองหลังการเลือกตั้งที่ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ทำให้ความเชื่อมั่นด้านการบริโภคและการลงทุนยังไม่ขยายตัวมากนัก หลายภาคส่วนรอนโยบายจากรัฐบาลที่มาจากรัฐบาลใหม่ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด นักธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศทุกคนต้องการเสถียรภาพและแนวทางนโยบายการบริหารงาน ด้วยเหตุนี้ทำให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยยังทรงตัวอยู่ ภาคธุรกิจในประเทศไทยมีการปรับตัวในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่รวดเร็วและสภาพการเมืองของประเทศไม่นิ่ง
ผศ.ดร. ศักดิพล เจือศรีกุล ผู้อำนวยการศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (IDE Center) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า “ถามว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรผมมองว่าเศรษฐกิจยังไม่น่ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเท่าไร แต่ยังทรงตัวอยู่คิดว่าไม่น่าจะตกต่ำลงแล้ว เพราะประเทศไทยได้มีการเลือกตั้งแล้ว ถึงแม้ว่าการเลือกตั้งจะมีปัญหาและวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก แต่ว่าก็ยังมีแนวผลักดันและถ้าสมมุติว่ารัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้งเป็นรัฐบาลชุดเดิมผมก็มองว่ายังไงความต่อเนื่องของนโยบายเก่ามันก็ยังมีอยู่ต่อไป สำหรับผู้ประกอบการไทยเองในเรื่องของเครื่องมือและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยในเรื่องของธุรกิจในการทำการตลาดผมมองว่าธุรกิจในการทำการตลาดต้องใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data เป็นหลักเราอาจจะต้องใช้เทคโนโลยีทางด้าน Ai หรือปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยเพราะมันเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากในการทำธุรกิจต่างๆ เพราะสามารถเก็บข้อมูลได้และเข้าใจว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นอย่างไร อีกทั้งยังสามารถเข้าใจถึงสีหน้าของลูกค้าในการใช้บริการเลยด้วยซ้ำ สมมุติว่าธุรกิจสามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้ได้และเข้าใจลูกค้าได้สิ่งหนึ่งคือสามารถปรับกลยุทธ์ทางการตลาดได้ สามารถปรับตามความต้องการลูกค้าต้องการสินค้าอะไร แต่การที่เราจะรู้ได้ว่าลูกค้าต้องการสินค้าอะไรสิ่งหนึ่งก็คือเราต้องมีข้อมูลที่สามารถเชื่อถือได้ ข้อมูลที่ใหญ่พอที่สามารถจะกำหนดทิศทางได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งข้อมูลพวกนี้เราสามารถหาได้จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทางกลุ่มสตาร์ทอัพพยายามจะทำไม่ว่าจะเป็น Ai (ปัญญาประดิษฐ์) ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ตรงนี้มีส่วนสำคัญมาก ในขณะเดียวกันธุรกิจอีคอมเมิร์ซก็มีความสำคัญเป็นอย่าง”
“เทคนิคและทักษะที่ผู้ประกอบการไทยควรมีถ้าเป็นภาพรวมผมมองว่าผู้ประกอบการไทยบางกลุ่มก็มีความสามารถเก่งมากพออยู่แล้วพยายามที่จะรับมือและรวบรวมอะไรต่างๆ แต่ถ้าจะให้แบ่งกลุ่มจริงๆ กลุ่มผู้ประกอบการไทยที่มีความเก่งอยู่แล้วพวกคุณต้องนำธุรกิจของพวกคุณออกไปยังตลาดกลุ่มประเทศอาเซียนให้ได้ ภาษาคุณต้องได้ อีกทั้งยังต้องหาพันธมิตรทางการค้าการลงทุนในกลุ่มอาเซียนคุณต้องออกไปให้ได้ ในขณะเดียวกันในเรื่องของรูปแบบในการทำธุรกิจคุณต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับในแต่ละประเทศและพยายามที่จะสร้างรูปแบบในการทำธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นผมคิดว่าต้องมีเทคนิคหรือทักษะอะไรที่จะช่วยเหลือธุรกิจผู้ประกอบการไทย ไม่มีเทคนิคหรือทักษะอะไรมากไปกว่าการที่เราพยายามจะเรียนรู้ตอนนี้ช่องทางการเรียนรู้อยู่บนโทรศัพท์มือถือของพวกเราทุกคน สามารถที่จะเข้าถึงองค์ความรู้ช่วยให้ผู้ประกอบการที่กำลังจะเรียนรู้ได้เรียนรู้ได้อย่างง่ายขึ้น ที่สำคัญตอนนี้ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (IDE Center) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท สิงห์ คอปเปอร์เรชั่น จำกัด ในการจัด Explorer Forever Bootcamp การสร้างกระบวนการทางความคิดที่จะค้นหาโอกาสและเปิดมุมมองใหม่ๆ ในการเป็นผู้ประกอบการ และโครงการที่ทำร่วมกับทาง สอวช. โครงการ Thailand Regional Entrepreneurship Accelerator Program: Thailand REAPโดยเป็นการสร้างเครือข่าย IDE ทางด้านIDE ซึ่งตอนนี้ได้เริ่มต้นไปแล้ว ในอนาคตทางศูนย์จะทำอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะสร้างเครือข่าย IDE ขึ้นมา และมีจำนวน IDE Node เพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมในแต่ละภูมิภาคเพื่อพัฒนาธุรกิจที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมต่อไป”