มุสลิมถือเป็นชนชาติที่อยู่คู่กับประเทศไทยมีร่องรอยประวัติศาสตร์มาอย่างช้านาน จนอาจเรียกได้ว่ามุสลิมก็เป็นส่วนของประชาชนชาวไทยเช่นกัน แต่ถึงใครจะรู้จักดีหลายคนก็ยังไม่เคยเข้าไปสัมผัสวิถีชีวิตหรือความเป็นอยู่ของชาวมุสลิมอย่างแท้จริง ดังนั้นท่องเที่ยวชุมชนครั้งนี้จะขอแนะนำชุมชนบ้านนาตีนหนึ่งในชุมชนที่มีวัฒนธรรมชุมชนในรูปแบบมุสลิมอย่างเต็มที่ ประกอบกับผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่กลายเป็นกิจกรรมเรียบง่ายแต่คงไปด้วยเอกลักษณ์ให้นักท่องเที่ยวได้ลองทำอีกด้วย
ชุมชนบ้านนาตีน ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ จากชุมชนมุสลิมที่ต้องการสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชน โดยการพัฒนาการท่องเที่ยวจากทุนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน เชื่อมร้อยกับวิถีอาชีพชุมชนการทำประมง การทำสวนยางพารา และการทำเกษตรรูปแบบอื่นๆเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมุสลิมที่มีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย
แน่นอนว่าขอที่คู่กันระหว่างการท่องเที่ยวก็คือของฝากซึ่งที่บ้านนาตีนเองก็มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ขึ้นชื่อและสร้างรายได้งามให้กับชุมชนอยู่มากมายและหาไม่ได้จากที่ไหน ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวการแกะสลักหนังตะลุงอ่าวนาง อาร์เอสบาติก เป็นต้น โดยปัจจุบันชุมชนบ้านนาตีน อยู่ระหว่างการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการพัฒนาองค์กรและสภาพแวดล้อมในระดับหมู่บ้าน เพื่อผลักดันให้เป็นหมู่บ้านอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวและการส่งเสริมด้านผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเลือกชมซื้อสินค้าหัตถกรรมที่ผลิตจากคนในชุมชน โดยมีแนวทางธุรกิจ ได้แก่
ธุรกิจผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก เป็นสินค้าโดดเด่นด้วยผลิตภัณฑ์แปรรูปที่หลากหลายสำหรับนักท่องเที่ยว เช่น ผ้าปิดตาบาติกลายแพะ กระเป๋าถือ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของใช้ต่างๆ โดยจะแบ่งการทำงานของสมาชิกตามกระบวนการผลิตตัดเย็บหรือการออกแบบ โดยหนึ่งในผลงานสร้างสรรค์ของศิษย์พี่นักออกแบบจากแบรนด์ Hi-end ร่วมกับแบรนด์คลอลี่ Thailand Creative Industry Village ไทยเที่ยวเท่
สำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวและที่พักก็เป็นสิ่งที่ชุมชนบ้านนาตีนก็ได้เตรียมความพร้อมได้อย่างครบครัน แม้การท่องเที่ยวของชุมชนบ้านนาตีนจะไม่ได้เน้นท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติหรือมีวิวสวยงามเท่าไหร่นักแต่ก็มีบริการโฮมสเตย์และกิจการท่องเที่ยวมากมาย โดยแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ติดต่อขอร่วมกิจกรรมวิถีชีวิตของชาวชุมชน ณ บ้านนาตีน โดยกิจกรรมที่ได้รับความสนใจ ประกอบด้วย 1. การท่องเที่ยวศึกษาวิถีชุมชนทางทะเล เช่น การประมงพื้นบ้าน การดำน้ำดูปะการังที่เกาะไก่ ทะเลแหวก การสอยปลาหมึกแบบดั้งเดิม 2. การทำอาหาร ทำขนมพื้นบ้านร่วมกับชุมชน 3. การนำชมประกอบอาชีพลักของชุมชน เช่น การเลี้ยงแพะ การทำสวนยาง 4. การนำชมกิจกรรมกลุ่มหัตถกรรม เช่น การทำผ้าบาติก การทำผลิตภัณฑ์มะพร้าว การทำเรือหัวโทง นอกจากนี้ชุมชนดังกล่าวยังมีตลาดสีเขียวหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ชุมชนบ้านนาตีน
ทั้งนี้สมาชิกจะได้รับผลตอบแทนจากการร่วมกิจกรรมทั้งจาการท่องเที่ยวและเข้าร่วมทำวิสาหกิจชุมชนต่างๆ โดยเฉลี่ยสมาชิกบ้านนาตีนจะมีรายได้จากกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชน ประมาณเดือนละ 6,000 บาท ซึ่งสมาชิกของกลุ่มจะได้รับแบ่งปันผลกำไรและสวัสดิการต่างๆ ตามรูปแบบกิจการ ซึ่งรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชนด้านโฮมสเตย์ รายได้เป็นการให้บริการที่สมาชิกจะได้รับโดยตรง แต่จะหัก % สมทบ เพื่อทำนุบำรุงอาคารศูนย์กลางชุมชน งานสังคม งานศาสนา หรือ อื่นๆ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาตีน จัดการในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน โดยมีนายบัญชา แขวงหลี เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาตีน ปัจจุบัน มีกลุ่มกิจกรรมการท่องเที่ยว 7 กลุ่ม มีการออกแบบโปรแกรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับฤดูกาลในการประกอบอาชีพในชุมชน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตของคนในชุมชนอย่างแท้จริง เช่น การกรีดยาง การทำประมงพื้นบ้าน การหุงข้าวด้วยฟืน การทำขนมทุ้มโพล่ง (ขนมโค) การเย็บจากมุงหลังคา
เกิดการสร้างรายได้ชุมชนจำนวน 119 ครัวเรือน 208 คน ที่มีผลกำไรต่อเนื่อง 3 ปี ปี2558 จำนวน 1.5 ล้านบาท ปี 2559 จำนวน 2.75 ล้าน และ ปี2560 จำนวน 3.45 ล้านบาทจากการดำเนินกิจการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาตีน ได้ทำให้เกิดกระแสหมุนเวียนเศรษฐกิจในชุมชน ตั้งแต่ปี 2558-2560 เป็นเงิน 15,400,000 บาท (เฉลี่ย 5,133,000 บาท/ปี) ถือได้ว่าการสร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านนาตีน ประมาณ 3,594 บาท/ครัวเรือน/เดือน หรือเทียบ 10.5% ของรายได้เฉลี่ย/ครัวเรือน/เดือน ของคนในจังหวัดกระบี่
เกิดการพัฒนาเยาวชนให้มีความรักถิ่นฐานบ้านเกิดโดยมีเยาวชนคนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินกิจการการท่องเที่ยว มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับรางวัลหมู่บ้านสีเขียว Green Village
นอกจากนี้ยัง เกิดการเผยแพร่วิถีชีวิต วัฒนธรรมชุมชนมุสลิม โดยปี 2560 ชุมชน ได้รับงบประมาณจากโครงการ OTOP นวัตวิถี กรมการพัฒนาชุมชน จำนวน 200,000 บาท โดยนำงบประมาณมาปรับปรุงห้องละมาด พัฒนาเป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (CIV) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอีกด้วย