ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
“เทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ มหกรรมยางพาราและนวัตกรรม 2019”
27 มิ.ย. 2562

“ปลัดเกษตรฯ” เปิดงาน“เทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ มหกรรมยางพาราและนวัตกรรม 2019” ชูอัตลักษณ์โดดเด่นทุเรียนศรีสะเกษเชื่อมโยงการท่องเที่ยว หนุนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรไทย

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาส เป็นประธานพิธีเปิดงาน “เทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ มหกรรมยางพาราและนวัตกรรม 2019” ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ว่า ทุเรียน เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ โดยปัจจุบันจังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่ปลูกทุเรียน 6,097 ไร่ กำหนดเป้าหมายพื้นที่ปลูก จำนวน 10,000 ไร่ ภายในปี 2564 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของจังหวัดศรีสะเกษในการขยายฐานการผลิต ซึ่งจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพของผลผลิต และการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต โดยจังหวัดศรีสะเกษได้ส่งเสริมการปลูก“ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะจนได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ นับเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ทำให้ทุเรียนมีความโดดเด่นและเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค อย่างกว้างขวาง โดยชูคุณสมบัติเด่นของแหล่งผลิตที่ปลูกในบริเวณพื้นที่ภูเขาไฟโบราณแถบเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นดินที่ผุพังมาจากหินบะซอลต์ มีธาตุอาหารชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อพืชในปริมาณสูง อีกทั้งเกษตรกรได้ใช้น้ำใต้ดินที่มีความลึกมากในการให้น้ำผลไม้ ส่งผลให้ทุเรียนได้รับแร่ธาตุครบถ้วนผลผลิตมีรสชาติดี เนื้อทุเรียนอุดมไปด้วยธาตุอาหาร และวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

การจัดงาน“เทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ มหกรรมยางพาราและนวัตกรรม 2019” ในปีนี้ กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 20-30 มิถุนายน 2562 ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งจังหวัดมีนโยบายมุ่งเน้นในการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน ทั้ง GAP และเกษตรอินทรีย์ สร้างอัตลักษณ์ของทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ  มีการจดสิทธิบัตร สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย(GI) โดยพื้นที่การผลิตทุเรียนของจังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดให้ดำเนินการในรูปแบบการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ของกระทรวงเกษตรฯ เป็นการบริหารจัดการคน สินค้า และการตลาด ให้เกิดเป็นห่วงโซ่อุปทาน Supply Chain สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและการตลาด เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรของจังหวัด ถือเป็นกลยุทธ์ในการสร้างสรรค์คุณค่า และส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการในการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและภาคประชาชน

ทั้งนี้ ภายในงานได้มีการนำผลผลิตทางการเกษตร สินค้าแปรรูปจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และของดีศรีสะเกษ จากกลุ่มแม่บ้าน วิสาหกิจชุมชนสินค้า OTOPรวมทั้งผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด มาจำหน่ายภายในงาน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิ การประกวดผลผลิตทางการเกษตร การประกวดสัตว์ การประกวดธิดาชาวสวน การแข่งขันกรีดยางพารา การจัดนิทรรศการจากส่วนราชการ และการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นต้น

 “กระทรวงเกษตรฯ ได้ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้กับเกษตรกร มุ่งเน้นให้เกษตรกรเลือกผลิตสินค้าเกษตรตามศักยภาพของพื้นที่ โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต อย่างไรก็ตาม การที่กระบวนการผลิตจะประสบความสำเร็จได้นั้น เกษตรกรเองจะต้องศึกษาหาความรู้ มีข้อมูลด้านวิชาการ ข้อมูลด้านการตลาดและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากผู้ที่ประสบความสำเร็จด้านการเกษตร เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจกรรมของตนเอง ตลอดทั้งนำเทคโนโลยี และนวัตกรรม มาปรับใช้ในการทำการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ จะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ผลิต ผู้บริโภค ตลอดจนพ่อค้า และผู้ประกอบการมีโอกาสได้พบปะกันโดยตรง เพื่อให้เกษตรกรมีช่องทางในการจำหน่ายสินค้า จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนมาเที่ยวชม และอุดหนุนผลผลิตสินค้าเกษตร เพื่อสนับสนุนเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรไทยด้วย” นายอนันต์ กล่าว         

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...