ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
เอ็นจีโอสุดทนมาตรา 44
09 มี.ค. 2559

ทันทีที่ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 9/2559  เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยให้โครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วน  เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ดําเนินการ เพื่อให้ได้มา ซึ่งเอกชนผู้รับดําเนินการตามโครงการหรือกิจการไปพลางก่อนได้  โดยไม่ต้อง "รอ" รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) นั้น ผู้ที่ทำงานเพื่อสังคมและขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด พร้อมใจออกมาแสดงความเห็นในเฟชบุคส่วนตัวแสดงความกังวลต่อคำสั่งดังกล่าว 

นายศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร มองว่า เรื่องนี้เรื่องใหญ่ที่สุด และถ้าเป็นจริง หากดำเนินการโครงการที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อม รัฐบาลนี้ ก็คงจะเข้าสู่การขาดธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม และเข้าสู่รูปแบบเผด็จการว่าอยากทำให้ได้ ทั้งนิตินัย และพฤตินัย เข้าไปเรื่อยๆ แทนที่จะทำแบบนี้ เสนอว่า ก่อนออกแบบโครงการ ควรเพิ่มการปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้อง ทั้งทางเทคนิค และผลกระทบเชิงสังคม และออกแบบโครงการจากกระบวนการปรึกษาหารือ ก่อนทำ EIA โครงการต่างน่าจะลดความขัดแย้งและผ่านเร็วขึ้น

นางสุนี ไชยรส อดีตรองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ชี้ว่า ม.44 เรื่องนี้หนักมาก เพราะเปิดช่องให้ดำเนินโครงการได้รวดเร็วโดยไม่ต้องรอการศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ขณะที่นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจดการน้ำอย่างบูรณาการ และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูป เชื่อว่า คำสั่งนี้ ไม่แก้ไขปัญหา สร้างความร้าวฉานในโครงการระหว่างรัฐกะประชาชน

ด้านนางสาวบุณยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์เพื่อผู้บริโภค และอดีตสมาชิกวุฒิสภา  จังหวัดสมุทรสงคราม ระบุว่า เป็นการอวสาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จากคำสั่ง ม.44 ฉบับที่ 9/2559 ให้สิทธิคณะรัฐมนตรี (ผู้ออกคำสั่งนี้) เปิดโอกาสให้เอกชน ประมูลโครงการนั้นๆได้ (ทำลายทรัพยากรธรรมชาติได้) โดยไม่ต้องรอผ่าน EIA   แม้ไม่ลงนามผูกพันสัญญา แต่เอกชนก็สามารถดำเนินการได้ทันที เอวัง! และวังเวง

ส่วนเครือข่ายสลัม 4 ภาค โพสต์แสดงความไม่เห็นด้วยกับการออกคำสั่ง คสช. ที่ 9/2559 ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการทำโครงการขนาดใหญ่ที่จะกระทบต่อชุมชน โดยไร้กระบวนการศึกษาผลกระทบ หลังจากที่เครือข่ายสลัม 4 ภาค ได้ไปรณรรงค์และยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลถึงการออกคำสั่งต่างๆที่สร้างผลกระทบต่อคนจน แต่เอื้อผลประโยชน์ต่อนายทุน ไปในหลายประเด็น วันนี้ กลับต้องมาเพิ่มอีก เรื่อง การอำนวยความสะดวกต่อการก่อสร้างโครงการต่างๆ ไม่ต้องรอกระบวนการ EIA ไม่ต้องศึกษาผลกระทบใดๆ ใช้ ครม. อนุมัติได้เลย ซึ่งเป็นการเพิ่มความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างชัดเจน

นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล  ผู้ประสานงานเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ระบุถึงคำสั่งที่ 9/2559 ออกมา ทำให้รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่ทำลายกฎหมาย มากที่สุด คำสั่งที่ 9 ออกลายมาอีกแล้ว หลังจากคำสั่งที่ 3 และ 4  ได้ทำลายกฎหมายผังเมืองไปแล้ว ฉบับที่ 10 และต่อไปจะทำลายอะไรอีก

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...