ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
กระทรวงดิจิทัลฯ ผนึก 15 พันธมิตร เดินหน้านโยบายดิจิทัลเพื่อความมั่นคง
16 ส.ค. 2562

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยในการประชุมหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาข่าวปลอม (Fake News) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เป็นการเร่งรัดนโยบายด้านการส่งเสริมความมั่นคงทางด้านดิจิทัล มุ่งเน้นด้านการเผยแพร่ข่าวสารที่ถูกต้อง โดยจะตั้งหน่วยงานศูนย์เฟคนิวส์เซ็นเตอร์ (Fake News Center) เน้นสื่อสารข่าวการเตือนภัยพิบัติและข่าวลวงที่กระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ การหลอกลวงให้ลงทุน การขายสินค้าอันตรายและผิดกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และลดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งปรากฏเป็นข่าวตามสื่อต่างๆ

“ผมจะมุ่งเน้นการขับเคลื่อนงานจัดตั้งศูนย์เฟคนิวส์เซนเตอร์ จะต้องหามาตรการและแนวทางในการจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในด้านต่างๆ ในครั้งนี้ โดยจะได้หารือร่วมกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องต่างๆ กว่า 15  หน่วยงาน อาทิ กรมสรรพากร กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักข่าวกรองแห่งชาติ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กระทรวงกลาโหม กองทัพบก ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ และ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นการหาทางร่วมมือกันทำงาน” นายพุทธิพงษ์ กล่าว

“กระทรวงดิจิทัลฯ ตั้งใจบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะตั้งคณะกรรมการโดยมีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องภายใน 1 สัปดาห์ เพื่อทำงานและศึกษาถึงกรอบแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. กฎหมายต่างๆ ที่แต่ละหน่วยงานถืออยู่ เพื่อผลักดันให้เกิดศูนย์เฟคนิวส์เซ็นเตอร์อย่างเป็นรูปธรรมภายใน 3 เดือนหลังจากนี้ ซึ่งผมเชื่อว่าศูนย์ฯดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน เพราะปัจจุบันมีความเข้าใจผิด กระแสข่าวลวงเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกวัน ส่งผลกระทบต่อประชาชนมาโดยตลอด” นายพุทธิพงษ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม กระทรวงดิจิทัลฯ ได้สรุปประเด็นต่างๆ ที่พบการกระทำความผิดบนสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีผู้เสียหายแจ้งความต่อทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วย เรื่องที่ 1 การใช้ Social Media เป็นองค์ประกอบการกระทำความผิดตามกฎหมายไทย/ กฎหมายนานาชาติ (เชื่อมโยงการใช้งาน/ปรากฏเนื้อหา ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง Social Media) ได้แก่ (1) การก่อการร้ายสากล/ ปัญหาชายแดนภาคใต้ (2) ความรุนแรงสุดโต่ง (3) ยาเสพติด (4) การลามกอนาจาร/ เด็กและเยาวชน (5) อาหาร ยา วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง (6) การจัดเก็บภาษี (7) ทรัพย์สินทางปัญญา (8) สินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายอื่น (9) ความมั่นคงของประเทศ  (10) ความสงบเรียบร้อยของสังคม/ ขัดศีลธรรมอันดี

เรื่องที่ 2  การหามาตรการในการจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในด้านต่างๆ ได้แก่ (1) พฤติกรรมที่รุนแรงและเกี่ยวกับอาชญากรรม ความรุนแรงและการยุยง บุคคลและองค์กรที่เป็นอันตราย การส่งเสริมหรือการเผยแพร่อาชญากรรม การร่วมมือกันทำอันตราย สินค้าควบคุม (2) ความปลอดภัย อาทิ การฆ่าตัวตายและการทำร้ายตัวเอง ภาพโป๊เปลือยของเด็ก และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากผู้ใหญ่ การข่มเหง รังแกและการก่อกวน การละเมิดความเป็นส่วนตัวและสิทธิความเป็นส่วนตัวของรูปภาพ เรื่องล่อหลอกให้ถูกโจรกรรมทรัพย์สิน (3) เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม อาทิ คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง เนื้อหารุนแรงและโจ่งแจ้ง เนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทบุคคลอื่น ภาพโป๊เปลือยของผู้ใหญ่และกิจกรรมทางเพศ การชักชวนทางเพศ ความรุนแรงและการทำร้ายจิตใจ

(4) การหลอกลวง และ Fake News อาทิ สแปม การบิดเบือนความจริง ข่าวปลอม การล่อหลอก Fake Account (5) การเคารพทรัพย์สินทางปัญญา (6) คำขอที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา อาทิ คำขอจากผู้ใช้  มาตรการป้องกันเพิ่มเติมสำหรับผู้เยาว์ และ (7) ความสงบเรียบร้อยของสังคม อาทิ สถาบันหลักของประเทศ และการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นต้น

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...