กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ลงพื้นที่ติดตามการนำเทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียจากการผลิตมะพร้าวขาวช่วยแก้ไขปัญหาผู้ประกอบการ OTOP และ SMEs พื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์มะพร้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นางสาวอุราวรรณ อุ่นแก้ว รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีผลงานการวิจัยพัฒนาถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการ ซึ่งกรมมีเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ความต้องการในพื้นที่โดยเฉพาะเทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อสนับสนุนเอื้อประโยชน์ในการให้บริการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่ชุมชน เป้าหมายให้บริการได้ตรงตามความต้องการและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสร้างรายได้ให้กับ SMEs และชุมชนซึ่งจากที่มีข้อมูลที่ได้รับจากสภาเกษตรกรในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ชุมชนส่วนใหญ่ได้ผลผลิตเป็นมะพร้าวผลและเตรียมเป็นมะพร้าวดำส่งตลาดสด หรือเตรียมเป็นมะพร้าวขาวส่งเข้าโรงงานแปรรูปเพื่อทำกะทิ
ทั้งนี้ในกระบวนการผลิตพบปัญหาการทำมะพร้าวขาวนั้น ก่อให้เกิดน้ำเสียในขั้นตอนของการแช่ชิ้นเนื้อมะพร้าวหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าการดอง แม้ว่าจะเป็นการผลิตในครัวเรือน ในชุมชนเล็กๆ หรือล้งมะพร้าวขาวก็ตาม และน้ำเสียที่เกิดขึ้น หากถูกปล่อยลงสู่คลองในท้องร่องสวน ที่เชื่อมกับคลองซอย ลำประโดง และเชื่อมโยงกับคลองสาขา คลองหลัก แม่น้ำสายหลัก และแหล่งดินธรรมชาติในร่องสวนนั้น ๆ โดยไม่ได้รับการบำบัดอย่างถูกต้องเหมาะสม อาจก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาในวงกว้าง
ในขณะที่กรมวิทยาศาสตร์ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีระบบการบำบัดน้ำเสีย จึงจัดฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียและให้ความรู้ด้านมลพิษสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ประกอบการชุมชนพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มผลิตภัณฑ์มะพร้าวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินงานมีความความเชื่อมโยง เป้าหมายให้ผู้ประกอบการและชุมชนสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ที่ผ่านมากรมได้การดำเนินงานนำเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์มะพร้าวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจได้มีการจัดฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียและให้ความรู้ด้านมลพิษสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ประกอบการชุมชนในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดสมุทรสงคราม มาแล้วจำนวน 3 ครั้ง
ขณะนี้เกิดการใช้ประโยชนของระบบบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ เป็นประโยชนต่อการส่งเสริมผลผลิดมะพร้าว ซึ่งเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย ที่มะพร้าวมีความผูกพันกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน อย่างไรก็ตามแม้จะมีการถ่ายทอดมาได้ระยะหนึ่งแล้ว กรมและพื้นที่ยังต้องมีการดำเนินการต่อเนื่องระยะต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน รักษาสภาพสิ่งแวดล้อมได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ระบบบำบัดน้ำเสียนี้ต้องได้รับการเอาในใส่ และได้รับการสนับสนุนต่อเนื่องทั้งจากกรม หน่วยงานในพื้นที่ และผู้ประกอบการ เพื่อการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยังยืนต่อไป