ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
ห่วงอหิวาต์แอฟริกาในสุกรลามเข้าไทย ก.เกษตรเตรียมของงบฯ ฉุกเฉินป้องกัน
02 ก.ย. 2562

ก.เกษตรฯ หวั่นโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรข้ามมาไทยหลังระบาดในเมียนมา เตรียมขอนายกฯ ใช้งบฉุกเฉินสกัดโรคข้ามแดน สั่งเพิ่มอัตรากำลังกว่า 1,000 คน ตรวจสอบฟาร์มเลี้ยง คุมเข้มการเคลื่อนย้ายสัตว์ 24 ด่านตลอดแนวชายแดนทั่วประเทศ

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรียกประชุมทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับมาตรการป้องกันโรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) โดยกล่าวว่า โรค ASF ได้ระบาดที่ประเทศเพื่อนบ้านรอบประเทศไทย ล่าสุดพบที่เมียนมา จึงสั่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มอัตรากำลังคนกว่า 1,000 คน ร่วมทำงานตรวจสอบการเคลื่อนย้ายสัตว์ที่ด่านกักกันสัตว์ชายแดน 24 ด่าน อีกทั้งร่วมกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ดำเนินมาตรการเฝ้าระวังโรคทั้งในประเทศและตลอดแนวชายแดนทุกด้าน พร้อมกันนี้จะเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อของบกลางกรณีฉุกเฉินสำหรับเฝ้าระวังและป้องกันโรคนี้ที่ ครม.เห็นชอบเป็นวาระแห่งชาติแล้ว

โดยเมื่อเร็วนี้ ได้จัดประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะที่ด่านท่าเรือ อำเภอเชียงแสน และแนวชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งมีระยะทางยาวมาก สำหรับงบปีที่แล้ว (61) เหลือ 100 ล้านบาท จะนำมาใช้ป้องกันและต้องขอคณะรัฐมนตรีเพิ่ม อีกทั้งต้องเร่งยกระดับการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรรายย่อยให้เป็นไปตามมาตรฐานฟาร์ม หากระบาดแล้วอาจต้องใช้เวลากว่าหนึ่งปีที่จะทำให้โรคสงบ แต่ขอให้ประชาชนอย่าตระหนกกับโรคนี้ เพราะเป็นโรคที่ติดต่อระหว่างสุกรไปสู่สุกรไม่ติดต่อสู่คน

ด้านนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ในไทยเลี้ยงสุกร 20 กว่าล้านตัว มูลค่าเกือบ 200,000 ล้านบาท หากโรคเข้ามาจะส่งผลกระทบภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเกี่ยวข้อง เช่น การแปรรูปเนื้อสุกร อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ การเกษตรที่ปลูกพืชที่ใช้ผลิตอาหารสัตว์ เศรษฐกิจจะเสียหาย

ทั้งนี้ นายประภัตร ยังสั่งการให้ทำแผนมาใหม่ยกระดับมาตรการเฝ้าระวังโรคระบาดอย่างเข้มข้นมากขึ้นทุกจุดเสี่ยงตลอดแนวชายแดน พร้อมเสนองบเพิ่มเติม ทั้งเพิ่มอัตรากำลังคน เฝ้าระวังอุดรอยรั่วทุกอย่าง ด้านจังหวัดแนวชายแดนมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยกว่า 200,000 ราย จะมีงบให้รายละ 10,000 บาทสำหรับปรับปรุงฟาร์มเลี้ยงเพื่อยกระดับการเลี้ยงให้ได้การรับรองมาตรฐานฟาร์ม ซึ่งจะสามารถป้องกันโรคได้ดี มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ รู้ว่าสุกรมาจากไหน

ซึ่งขณะนี้เฝ้าระวังระดับสูงสุด ตั้งศูนย์ปฏิบัติการทุกจังหวัด จัดหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ตรวจโรคทุกฟาร์ม มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ปศุสัตว์จังหวัดเป็นเลขาฯ แผนมาตรการป้องกันนี้เป็นวาระแห่งชาติ ให้ปศุสัตว์อำเภอเฝ้าระวังในพื้นที่ หากฟาร์มใดมีสุกรป่วยและตาย แม้เพียงร้อยละ 5 ของสุกรทั้งฟาร์มต้องทำลายและฝังกลบทั้งหมด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...