ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
รองนายกรัฐมนตรี สมคิดฯ ย้ำหน่วยงานภาครัฐเชื่อมโยงข้อมูล Big Data ขับเคลื่อนสู่รัฐบาลดิจิทัลเกิดผลเป็นรูปธรรม
18 พ.ย. 2562

วันนี้ (18 พ.ย.62) เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 1/2562 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าร่วมด้วย  โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ เรื่องสำคัญเพื่อสร้างรากฐานรัฐบาลสู่ Open & Connected Government ดังนี้ 1. เห็นชอบหลักการ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565 2. เตรียมยกเลิกการขอสำเนาฯ จากประชาชน ภายในปี 2563 3. เตรียมให้ สำนักงาน กพร. กำหนดตัวชี้วัดให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ตามแนวทางที่ สพร. เสนอ ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป และ 4. เปิดมาตรการระยะสั้นและระยะยาวเดินหน้าโครงการนำร่องศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จของภาครัฐ (One - Stop Service) ซึ่งเป็นช่องทางดิจิทัลในการเข้าถึงบริการรัฐ ณ จุดเดียว (Digital Government Service) เพื่อรองรับการให้บริการประชาชน (Citizen Platform) ผู้ประกอบการ (Business Platform) และชาวต่างชาติ (Foreigner Platform)


รองนายกรัฐมนตรี ย้ำถึงการทำงานของคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล มีหน้าที่ทำให้การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัล ไปสู่การปฏิบัติเกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการบริหารจัดการการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลBig Data ระหว่างหน่วยงานของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ เป็นไปอย่างมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันโดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวในการนำไปใช้ประโยชน์และไม่ให้ส่งผลกระทบภายหลัง ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานหน่วยต่าง ๆ ของภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเป็นเอกภาพเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

นอกจากนี้ ได้กำชับสร้างการรับรู้เรื่องการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล รวมถึงเรื่องของการยกเลิกสำเนาเอกสารบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน ตลอดจนเอกสารอื่น ๆ ในอนาคต ให้แก่หน่วยงานภาครัฐได้รับทราบ โดยเฉพาะหน่วยงานระดับปฏิบัติ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับดังกล่าวและปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ให้สามารถขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัลไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ รวมถึงทันกับสถานการณ์โลกและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง  พร้อมกล่าวย้ำถึงการดำเนินการไปสู่รัฐบาลดิจิทัลของภาครัฐว่า ไม่เพียงจะเป็นการอำนวยความสะดวกด้านบริการให้แก่ประชาชนเท่านั้น แต่ยังจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และแก้ปัญหาการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วย โดยเฉพาะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการข้อมูลและได้รับการดูแลในเรื่องต่าง เช่น เรื่องของ SME แบงค์ ด้านการเกษตร สาธารณสุข การศึกษา เป็นต้น

          ด้าน นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า รัฐบาลพร้อมฝ่าคลื่น Digital Disruption ด้วยการเร่งเดินหน้าตามมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 1/2562 ทั้งในเรื่องของการมองอนาคตประเทศผ่าน (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565 โดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA ที่เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นเกี่ยวกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล การลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน ด้วยการตั้งเป้าให้หน่วยงานราชการต้องยกเลิกเรียกสำเนาฯ โดยเฉพาะสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านให้ได้ภายในปี 2563 ซึ่งก็จะเป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่รัฐบาลวางเอาไว้ในการผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลของส่วนราชการเข้ากับศูนย์ข้อมูลต่างๆ อาทิ Linkage Center ของกรมการปกครอง Government Data Exchange (GDX) ของ DGA ข้อมูลการนำเข้าส่งออกเชื่อมโยงกับระบบ National Single Window (NSW) ของกรมศุลกากร เป็นต้น และสิ่งที่สามารถสร้าง Value มากที่สุดในยุคนี้คือ ข้อมูล” รัฐบาลจึงกำหนดให้มีการนำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance) มาเป็นแกนสำคัญในการประยุกต์ใช้ Big Data ภาครัฐที่มีอยู่มหาศาลเพื่อเพิ่ม Effectiveness ของนโยบายในการพัฒนาประเทศระยะยาว


           รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อทุกหน่วยงานเชื่อมโยงข้อมูลมาที่ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางภาครัฐ (Government Data Exchange: GDX) เรียบร้อยแล้ว โครงการที่จะเกิดขึ้นตามมาแน่นอน คือ โครงการนำร่องศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จของภาครัฐ (One - Stop Service) ที่ คกก. DG เห็นชอบมาตรการระยะสั้นและระยะยาวตามที่ DGA เสนอเพื่อรองรับการให้บริการประชาชน (Citizen Platform) ผู้ประกอบการ (Business Platform)  โดยในปี 2563 ให้สำนักงาน ก.พ.ร. และ DGA ร่วมกันดำเนินการการเพื่อขยายจำนวนใบอนุญาตในระบบ Biz Portal จาก 2563 40 ใบอนุญาต ใน 10 ธุรกิจ เป็น 78 ใบอนุญาต ใน 25 ธุรกิจ เพื่อให้บริการเบ็ดเสร็จแบบดิจิทัลเต็มรูปแบบครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย พร้อมรองรับการยืนยันตัวตนด้วย Digital ID การยื่นคำขอ การอนุมัติ/อนุญาต การออกใบอนุญาต การชำระค่าธรรมเนียมแบบ e-Payment การออกใบอนุญาตแบบ e-Licensing และติดตามสถานะของการขออนุญาตได้ด้วย และให้หน่วยงานต่างๆ ใช้ Biz Portal หรือ เว็บไซต์ biz.govchannel.go.th เป็นอีกช่องทางในการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน และดำเนินการเชื่อมโยงระบบงานที่เกี่ยวข้องเข้ากับระบบ Biz Portal ในปี 2563 และให้หน่วยงานที่มีศูนย์ให้บริการร่วมในภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อม เริ่มนำระบบ Biz Portal มาอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการทั่วประเทศในการยื่นขอใบอนุญาตสำหรับประเภทธุรกิจหรือใบอนุญาตที่ให้บริการผ่านระบบ Biz Portal ได้แล้ว ภายใน เดือน โดยให้มีการปรับปรุงระบบสามารถรองรับ และอีกช่องทางการอำนวยความสะดวกคือ การให้บริการชาวต่างชาติ (Foreigner Platform) สามารถรายงานตัว 90 วัน ผ่านแอปพลิเคชันโดยตรงกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้ทุกที่ทั่วประเทศ และสำหรับมติในที่ประชุมวันนี้ท่านรองนายกรัฐมนตรีสมคิดเน้นย้ำว่า ให้เริ่มที่การพัฒนาบุคลากรภาครัฐก่อน โดยเฉพาะ CIO ของทุกกระทรวงให้เปลี่ยนบทบาทหน้าที่แบบเดิมสู่ Digital Transformation ให้ได้อย่างแท้จริงเพื่อให้แผนต่างๆ ที่วางไว้ก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ คกก. DG มีเป้าหมายสำคัญในการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัลภายใน ปี ดังนี้ (1) จัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐภายใน ปี (2) ยกระดับทักษะดิจิทัลที่จำเป็นของคนภาครัฐภายใน ปี (3) ข้อมูลดิจิทัลภายใน ปี (4) ปรับบริการให้เป็นดิจิทัลภายใน ปี (5) เกิดศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (GDX) (6) เกิด Digital Platforms สำหรับบริการทุกภาคส่วน (7) ไม่ใช้สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านภายใน ปี (8) เกิดบริการ One Stop Service สำหรับทุกภาคส่วน (9)  เปิดเผยข้อมูลภาครัฐภายใน ปี (10) สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่าน e-Participation (11) การใช้ Data Analytic เพื่อใช้ประโยชน์ข้อมูลดิจิทัล ซึ่งการดำเนินงานตาม (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565 ทั้งหมดนี้จะเป็น Digital Transformation ในการเดินหน้าสร้างรากฐานสู่ Open & Connected Government และการมีแผน Digitize เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้ทุกกระทรวงมุ่งสู่รัฐบาลดิจิทัลในที่สุด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...