กระทรวงพาณิชย์ดันศักยภาพผ้าไหมไทยเล็งให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงเมืองรองกับการท่องเที่ยววิถีชุมชนและวัฒนธรรมเส้นไหม นำสื่อมวลชนและบล็อกเกอร์ลงพื้นที่ชมความสวยงามของผ้าไหมแต่ละพื้นถิ่น เจาะแผนกระตุ้นการรับรู้...สร้างความภาคภูมิใจแก่ผู้สวมใส่ พร้อมเปลี่ยนทัศนคติไหมไทย สัญลักษณ์ไทย ใครใครก็ใช้ได้ มั่นใจ ความสวยงาม ทนทาน ครองใจผู้ใช้ได้ทุกกลุ่ม ย้ำ ผ้าไหมไทย ได้สัมผัส ใช้งานแล้วจะหลงรัก
นางลลิดา จิวะนันทประวัติ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเมืองรอง ภายใต้โครงการยกระดับการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสู่แหล่งท่องเที่ยว โดยเน้นการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย ทั้งในส่วนของแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาด และการเชื่อมโยงต่อยอดสู่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ กระตุ้นให้เกิดการบริโภคและซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหม สินค้า และบริการในเมืองรองมากขึ้น ภายใต้แคมเปญ “เส้นทางสายไหมสู่เมืองรอง” เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจฐานรากของประเทศมีความเข้มแข็ง มั่นคง โดยใช้ผ้าไหมเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อและสร้างการจดจำ
โดยจะมุ่งเน้นไปที่การยกระดับผู้ประกอบการผ้าไหมของไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ในเชิงธุรกิจ เชื่อมโยงเครือข่ายและการตลาดขนานไปตามเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง เกิดการเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการผลิต เทคนิคเฉพาะ และอัตลักษณ์ผ้าไหมของแต่ละชุมชน โดยหัวใจหลักของการลงพื้นที่ในครั้งนี้ คือ การเผยแพร่ความสวยงาม และวัฒนธรรมการทอผ้าไหมที่ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งกว่าจะได้ผ้าไหมผืนงามหนึ่งผืนต้องใช้ความพิถีพิถัน ศิลปะ ผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้เส้นไหมธรรมดากลายเป็นผ้าไหมผืนงามที่มีลวดลายอันวิจิตรบรรจง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น สามารถสื่อถึงวัฒนธรรมพื้นถิ่นได้เป็นอย่างดี รวมทั้ง เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ”
ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พบว่า ประเทศที่ผลิตเส้นไหมมากที่สุดในโลก ได้แก่ อันดับ 1 จีน อันดับ 2 อินเดีย อันดับ 3 อุสเบกีสถาน อันดับ 4 ไทย อันดับ 5 บราซิล ซึ่งปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนมีนโยบายเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรม โดยลดบทบาทภาคการเกษตรลง รวมทั้งสินค้าด้านหม่อนไหม ซึ่งสามารถเป็นดัชนีบ่งชี้ปริมาณการผลิตเส้นไหมที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลก ดังนั้น หากประเทศไทยมีการส่งเสริมและพัฒนาด้านหม่อนไหมอย่างเต็มที่ ลดต้นทุนการผลิต การสร้างคุณลักษณะพิเศษที่ทำให้เกิดความแตกต่าง และคงอัตลักษณ์ในการเป็นไหมไทยโดยแท้ที่เป็นเส้นไหมที่สาวด้วยมือ ก็จะทำให้ไหมไทยสามารถเจาะตลาดตลาดต่างประเทศได้ไม่ยากโดยเฉพาะตลาดอาเซียน
สำหรับการมา 3 จังหวัดในครั้งนี้ทำให้ได้เห็นฝีมือของวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ ที่มีการดำรงถึงทักษะเก่าแก่พร้อมบอกเล่าถึงประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นฝ่านลวดลายของผ้าทอที่สวยงาม โดยเริ่ม 11-13 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยเริ่มที่จังหวัดพิจิตร นครสวรรค์และอุทัยธานี
ซึ่งวันแรกนั้นได้เดินทางไปที่กลุ่มชุมชนที่มีผ้าทออันเป็นเอกลักษณ์อย่างกลุ่มทอผ้าบ้านห้วยแก้ว หมู่ 1 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร ที่ยังคงรักษาลายสายดอกแก้วและลายดอกบุนนาค อันเป็นเอกลักษณณ์ของกลุ่มและหาไม่ได้จากที่ไหน ทั้งการทักทอและการมัดหมี่ผ้าต่าง ๆ ที่ต้องใช้ความพิถีพิถันเป็นพิเศษ ทำให้กว่าจะได้ผลงานสักชิ้นหรือผ้าซักผืนหนึ่งต้องใช้เวลาเป็นเดือน ๆ เลยทีเดียว น่าเสียดายตรงที่เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการมาเรียนทักทอซักเท่าไหร่ ทำให้น่าเสียดายที่ผ้าทอเหล่านี้อาจจะสูญหายไปได้ เช่นเดียวกับกลุ่มผ้าบ้านหนองพง ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ที่ยังใช้ “กี่กระตุก” ที่ถือเป็นอุปกรณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนไทยเชื้อสายพวนทำให้ได้คุณภาพผ้าที่ดี เนื้อไหมละเอียด สีสันสวยงาม
นอกจากผ้าทอและภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพิจิตรก็ยังมีเอกลักษณํชวนหลงไหลอยู่มากมาย ไม่ว่าจะ วัดโพธิ์ประทับช้าง” ที่เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่อายุกว่า 300 ปี มีความงดงามของสถาปัตยกรรมสมัยพระพุทธเจ้าเสือ เป็นศิลปะแบบอยุธยา นอกจากนี้ยังมีสถานที่เป็นเหมือนที่นิยมมากในจังหวัดพิจิตอย่าง บึงสีไฟ” ที่เป็นทั้งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองพิจิตร เป็นทั้งสัญลักษณ์และความร่มรื่นของจังหวัดพิจิตร
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านชุมตาบง ตำบลชุมตาบง อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ โดยเป็นชุมชนที่นำทรัพยากรที่มีในชุมชนมาใช้อย่างคุ้มค่าจนได้รับรางวัล มาตรฐาน Bio Economy, นกยูงพระราชทานสีเงิน-สีน้ำเงิน, รางวัล Smart SME จังหวัดนครสวรรค์ คงไปด้วยเอกลักษณ์และความสวยงาม อีกหนึ่งไม้เด็ดที่ทำให้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านชุมตาบง น่าสนใจคือไอเดียในการนำสายไหมสำหรับทอผ้ามาดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ซึ่งตัวสินค้าก็มีการออกแบบที่น่าสนใจและมียังคงเอกลักษณ์ได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะแชมพูโปรตีนไหมผสมใบหมี่ สบู่เหลวหม่อนไหม ด้วยคุณสมบัติจากธรรมชาติแท้ ๆ เพราะรังไหมมีคุณสมบัติ ป้องกันผิวแห้ง ลดการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งกรดอะมิโน18 ชนิดซึ่งละลายน้ำได้ดี และมีคุณสมบัติพิเศษสามารถกักเก็บน้ำได้ดี สำหรับแหล่งท่องเที่ยวชองจวัดนครสวรรค์ก็ยังมีวัดคีรีวงศ์ องค์มหาเจดีย์ขนาดใหญ่สีทองเหลืองอร่ามตั้งอยู่บนยอดเขา ที่มีจำลองที่สำคัญถึง 4 องค์แล้ว พร้อมยังมีพื้นสูงสำหรับชมทิวทัศน์อันสวยงามของเมืองนครสวรรค์
ตบท้ายด้วย จังหวัดอุทัยธานีเริ่มต้นที่ช่วงเช้าแวะไปทำบุญสักการะรอยพระพุทธบาทจำลองที่ วัดถ้ำเขาวง ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี มีบรรยากาศโดยรอบสงบร่มเย็น ยิ่งในช่วงอากาศหนาวปลายปีแบบนี้จะเหมือนกับวิมานก็ไม่ปา เหมาะที่จะมาน่ั่งสงบจิตใจและดื่มด่ำไปกับความสวยงามธรรมชาติ ก่อนจะเดินไปต่อที่กลุ่มทอผ้าบ้านบึง ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีการทอผ้าไหมมัดหมี่ทอกี่พื้นเมืองต่อตีนจกลายโบราณ ด้วยกระบวนการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์และต้องอาศัยทักษะและความอดทนอย่างมาก ทำให้ได้ลายที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นซึ่งได้สืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษซึ่งหาได้จากที่นี้ที่เดียวเท่านั้น ปัจจุบันได้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมาก แห่งสุดท้ายคือกลุ่มทอผ้าลายโบราณบ้านภูจวง ที่มีเอกลักษณ์ผ้าไหมมัดหมี่ต่อจกซึ่งเป็นผ้าทอมือของชาติพันธุ์ลาวเวียงลาวครั่งแห่งจังหวัดอุทัยธานี จุดเด่นของผ้าไหมมัดหมี่ที่นี่คือการย้อมคราม ด้วยสีจากวัตถุดิบธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น ต่อมาได้ประยุกต์การย้อมสีกับเทคนิคสมัยใหม่ เพื่อให้ได้สีที่ติดทนนาน
จากทั้ง 3 จังหวัดที่ได้ไปมานั้นจะเห็นได้ว่า