นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้มุ่งมั่นในการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของประเทศ และขับเคลื่อนให้เป็นกระทรวง ที่ก้าวล้ำทันสมัย ยกระดับการบริการสู่ประชาชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเกษตร และมีเป้าหมายในการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech เพื่อยกระดับการบริการเกษตรกร การทำงานของหน่วยงานภาครัฐ และสาธารณะอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ตลอดจนเพื่อเป้าหมายยกระดับ GDP ประเทศ ผ่านการขับเคลื่อนเทคโนโลยีการเกษตรซึ่งเป็นนโยบายหลักของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ และมีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ
สำหรับแนวทางในระยะแรก คือ การปฏิรูปกระทรวงเกษตรฯ ให้เป็นกระทรวงเทคโนโลยีที่ทันสมัย สู่มิติใหม่แห่งยุค Digital Transformation ด้วยการ Quick Win ของ 22 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตร ในรูปแบบแอปพลิเคชั่นให้บริการทางออนไลน์ จัดเป็น Cluster 6 กลุ่ม ให้บริการแก่เกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ และสาธารณะ ประกอบด้วย
1. กลุ่มการให้บริการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจด้านนโยบายการผลิต ได้แก่ (1) ฐานข้อมูลศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (Big data) โดยกรมชลประทาน (2) ศูนย์ข้อมูลสถานการณ์ทางการเงินภาคสหกรณ์ไทย โดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ (3) การจัดทำระบบบริหารจัดการข้อมูลด้านข้าวและพัฒนาข้อมูลเชิงแผนที่เพื่อสนับสนุนการใช้งานแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Rice GIS) โดยกรมการข้าว
2. กลุ่มการให้บริการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจด้านการผลิตสำหรับเกษตรกร ได้แก่ (1) ระบบช่วยตัดสินใจในการลงทุนปลูกพืช โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2) การเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจปล่อยสินค้าภายใต้หลักการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยกรมประมง (3) ระบบปศุสัตว์ไทย 4.0 (DLD 4.0) โดยกรมปศุสัตว์ (4) การพัฒนาระบบรับคำขอและออกใบผ่านด่านยางพารา ผ่านระบบ NSW โดยกรมวิชาการเกษตร (5) พัฒนาแหล่งบริการข้อมูลแหล่งรับซื้อ-ขายสินค้าเกษตรและข้อมูลอุปกรณ์การตลาดของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรผ่านระบบ GPS โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ (6) ระบบบริการประชาชนออนไลน์ ส.ป.ก. “ปันสุข” โดย สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (7) ศูนย์ประสานงานเพื่อช่วยเหลือปัญหาภัยแล้งและบรรเทาภัยพิบัติ โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร (8) การพัฒนา Platform เพื่อรองรับการดำเนินงานเกษตรอัจฉริยะ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (9) โครงการบริการข้อมูลเพื่อการเกษตรอัจฉริยะบนพื้นที่สูง โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (10) ระบบคำนวณราคาและบันทึกประวัติคุณภาพน้ำดิบ (COWCULATOR) โดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (11) ระบบสวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยาง โดย การยางแห่งประเทศไทย
ส่วนกลุ่มที่ 3.กลุ่มการให้บริการข้อมูล ได้แก่ (1) ระบบสืบค้นและให้บริการข้อมูลดิน โดยกรมพัฒนาที่ดิน (2) การให้บริการข้อมูลมาตรฐานสินค้าเกษตรผ่านแอพพลิเคชั่น TAS2GO โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งช่าติ (3) ระบบการจองเข้าชมพิพิธภัณฑ์แบบหมู่คณะแบบออนไลน์ โดยสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (4) Application จัดเก็บและรายงานราคาสัตว์น้ำ โดยองค์การสะพานปลา (5) การพัฒนาฐานข้อมูลสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ของเกษตรกร กลุ่มสถาบันเกษตรกร และ OTOP ในเครือข่าย อ.ต.ก. ภายใต้เว็บไซต์ Ortorkor.com โดยองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
4. กลุ่มการให้บริการข้อมูล Big Data & Innovation ได้แก่ การเปิดเผยและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล (DOAE Open Data) โดยกรมส่งเสริมการเกษตร 5. กลุ่มการให้บริการช่องทางการตลาด ได้แก่ ระบบให้บริการข้อมูลร้านค้าจำหน่ายผ้าไหมที่ได้มาตรฐานของกรมหม่อนไหม โดยกรมหม่อนไหม 6. กลุ่มการให้บริการองค์ความรู้ ได้แก่ การพัฒนาระบบศูนย์กลางข้อมูลการวิจัยการเกษตรของประเทศ โดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร