ที่ผ่านมาได้เกิดปรากฏการณ์ทางภาคประชาสังคมและการเกษตรอย่างน่าจับตามอง เมื่อเครือข่ายเกษตรกรเพื่อการพัฒนาแห่งชาติลุกออกมาแถลงถึงการขับเคลื่อนเพื่อการช่วยเหลือ พึ่งพา คืนค่าเกษตรของไทยให้เข้าไปสู่ลูกค้าระดับโลกอย่างประชากรจีน 1,600 ล้านคน ซึ่งการแถลงของเครือข่ายเกษตรกรฯยังมีการปรากฏตัวของ นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพแห่งชาติ รวมทั้งดร.วิจักษ์ พงษ์เภตรา
โดยนายสถาพร หล่อกัณภัย ฝ่ายต่างประเทศของเครือข่ายเกษตรกรเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ ได้บอกถึงการเข้ามาทำเรื่องดังกล่าวว่าเพราะหน่วยงานของรัฐได้มีความตั้งใจและพยายามจัดงานออกร้านในจีนตลอดหลายปีมานี้แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ คนจีนอยากซื้อสินค้าเกษตรจากไทยแต่ไม่มีวิธีนำเข้า ไม่มีวิธีรักษาสินค้าให้คงอยู่ในสภาพที่ดี หรืออายุของสินค้าอยู่ได้นานขึ้นคงสภาพความสด และบางกรณีเนื่องจากผ่านระบบ Shipping ที่ไม่ Direct ทั้งบางกรณีมีคนไปขายในงานออกร้าน 4ครั้ง สินค้าหมื่นรายการขายหมดเกลี้ยงแต่ไม่มี Order
จากสาเหตุดังกล่าวนั้นทางเครือข่ายเกษตรกรฯจึงจัดงานโดยนำนักธุรกิจจีนที่มีศักยภาพในการซื้อและมีเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อช่วยและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับชาวนา ชาวสวน เพื่อเพิ่มผลผลิตตลอดจนการรักษาคุณภาพอาหาร สินค้า การpacking และกรรมวิธีต่างๆเพื่อให้ส่งออกไปยังจีนได้แต่สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อมีประชารัฐจะได้ช่วยชาวนา ชาวสวน มีกำลังและฟื้นจากสภาพที่เป็นอยู่ และนำเข้าตลาดจีนให้ได้นั่นคือ GDCCT.COM
GDCCT.COM หรือ Alibaba อาหารโดยมีหน่วนงานอย่าง Stevia ที่มี connection กับระบบ freeport หรือ bond area ที่จะสามารถนำสินค้าต่างๆจากชาวนา ชาวสวนเข้าไปได้โดยไม่ต้องรออย.จีน หรือระบบเอกสารที่มีตามกฎระเบียบมากนักเพียงแต่ต้องขอให้องค์กรของรัฐในไทยช่วยทำการรับรองในขั้นต้นเท่านั้น
อย่างไรก็ตามเครือข่ายเกษตรกรฯยังจัดทำรายงานความคืบหน้ามหกรรมประชารัฐความร่วมมือระหว่างเกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจ เกษตรเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยใช้กลไกประชารัฐ ซึ่งมอบหมายให้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรากฐาน นำพาประเทศก้าวพ้นกับดักประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีรายได้ระดับกลางค่อนข้างสูงไปสู่ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีรายได้ขั้นสูง
แต่สิ่งที่ประจักษ์อย่างปฏิเสธไม่ได้คือเกษตรกรและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวนมากยังคงตกอยู่ในวังวนของหนี้สิน ความแตกต่างของรายได้ระหว่างคนจนและคนรวยเพิ่มมากขึ้น ความเสื่อมโทรมและวิกฤตการณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความขัดแย้ง และภัยคุกคามอื่นๆทั้งหลายจึงรอความหวังที่จะได้รับการพิจารณาหาทางออก การสนับสนุนจากภาครัฐที่เป็นรูปธรรมปฏิบัติได้
ความหวังของภาคประชาชนเริ่มปรากฏความจริงเมื่อนายสมคิด ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สานพลังประชารัฐ ส่งเสริมSMEs Start-Up and Social Enterprise เมื่อ 10กุมภาพันธ์2559 ก่อตั้ง สตาร์ทอัพเซ็นเตอร์ เป็นกองทุนในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ซึ่งภายใต้นโยบายดังกล่าวได้มีความพยายามของภาคประชาสังคมที่เรียกตัวเองว่า เครือข่ายเกษตรกรเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ โดยผู้นำเกษตรกร ปัญญาชน นักวิชาการ ผู้รักชาติประชาธิปไตยรักความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นองค์กรนำทำหน้าที่เป็นกลไกประสานงานระหว่างเกษตรกร นักวิชาการ ผู้ประกอบการ แปรวัตถุดิบทางเกษตร อุตสาหกรรม เกษตรกรรม นักการตลาด หน่วยราชการในส่วนกลางและภูมิภาค
การสนับสนุนของภาครัฐจะเป็นการให้โอกาสกับกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่กำลังติดกับดักหนี้สิน อันเนื่องมาจากการผลิตสินค้าเกษตรกรรมที่ด้อยคุณภาพและวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีโอกาสเริ่มต้นใหม่ โดยให้ความสำคัญกับเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเกษตรกร ผู้ประกอบการที่มีการจัดการตลาดแบบมีกำลังซื้อและมีกระบวนการผลิต แปรรูป การบรรจุหีบห่อเพิ่มมูลค่าอย่างเป็นระบบด้วยความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจัดมหกรรมประชารัฐที่เชียงใหม่และเชียงรายจึงถือว่าเป็นการเริ่มต้นความร่วมมือของภาครัฐและภาคประชาชนตามรูปแบบประชารัฐอย่างมีนัยสำคัญ
โดยกำหนดการจัดงานมหกรรมประชารัฐเชียงใหม่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 30 มีนาคม 2559 - 5 เมษายน 2559 และที่เชียงรายจะจัดระหว่างวันที่ 6 – 15 เมษายน 2559 ซึ่งได้วางกลุ่มเป้าหมายคือเกษตรกรและประชาชนทั่วไปในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 15,000 คนใช้ลานเอนกประสงค์หลังศาลากลางจังหวัดจัดงาน ส่วนที่เชียงรายวางเป้าไว้ทั้งกษตรกรและประชาชนที่จะมาร่วมงานจำนวน 10,000 คนโดยจัดขึ้นที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล
สำหรับกิจกรรมในงานมหกรรมประชารัฐจะได้ร่วมรับประทานอาหารและร่วมรับฟังการแสดงวิสัยทัศน์ของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ทั้งมีนิทรรศการแสดงกระบวนการเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตรนับตั้งแต่การจัดการระบบน้ำ การเพิ่มคุณภาพไม้ผล การแปรรูป การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง การขายปลีกเพื่อให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมชมนิทรรศการผลิต
การออกร้านค้าพืชผัก และผลไม้ปลอดภัยของกลุ่มเกษตร ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยราชการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ประกอบการภาคเอกชน การแสดงผลงานด้านเทคโนโลยีการผลิต การแปรสินค้าการเกษตรโดยสถาบันการศึกษาของเชียงใหม่ 3สถาบันเพื่อแนะนำเผยแพร่ความรู้ให้กับเกษตร ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ร้านเกษตรกร 200 ร้าน ซึ่งมีทั้งร้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือทางด้านการเกษตร เช่น รถไถนา รถเกี่ยวข้าว เครื่องสูบน้ำ ฯลฯ และร้านค้าจำหน่ายอาหารสินค้าของประชาชนทั่วไปอีก 250 ร้าน
ทั้งกิจกรรมการสานพลังประชารัฐส่งเสริม SMEs Start-Up and Social Entenpnise การริเริ่มก่อตั้งเครือข่ายเป็นธุรกิจการเกษตรกรรมเพื่อสังคมสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ และการเปิดตลาดต่างประเทศนำร่องประกอบด้วยการแสดงเทคโนโลยีการเกษตร การเจรจาเพื่อซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้าทางด้านการเกษตรระหว่างผู้ประกอบการ ผู้แทนการค้าระดับสูงจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 6กลุ่มผู้ประกอบการจากเชียงใหม่และเกษตรกร พิธีลงนามความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและผู้แทนจำหน่าย เครื่องจักร เครื่องมือ การแปรรูป บรรจุหีบห่อ ผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร
นอกจากนี้ยังมีพิธีการลงนามความร่วมมือระหว่างผู้แทนเกษตรกร บริษัทจัดการตลาดและร้านสะดวกซื้อจำนวน 2,000 สาขา โดยคาดว่าสามารถจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกรให้ได้ 100 กิโลกรัมต่อสาขารวม 200,000 กิโลกรัมต่อวัน หรือ 73,000,000 กิโลกรัมต่อปีและต่อชนิด เช่น ลำไยอบแห้ง มะม่วงอบแห้ง เป็นต้น
นั่นคือกิจกรรมในงานมหกรรมประชารัฐที่จะเกิดขึ้นทั้งเชียงใหม่และเชียงราย โดยจะดำเนินไปตามโครงการของเครือข่ายเกษตรกรเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการตลาด การเกษตรสมัยใหม่ เกษตรกรก้าวหน้าให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปเพื่อเพิ่มช่องทางในการพัฒนาองค์ความรู้ให้มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ก็เพื่อยกระดับสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นพร้อมแนะนำตลาดสากลให้ทันกับความก้าวหน้าของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจอาเซียนด้วย ทั้งให้ความรู้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปในเรื่องการบริหารจัดการธุรกิจเกษตร อุตสาหกรรมตามนโยบายของทางราชการและรัฐบาล และประการสุดท้ายก็คือให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันให้เกิดความเข้าใจ และปฏิสัมพันธ์ที่ดีอย่างมีธรรมาภิบาลต่อกัน ระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจเอกชน เกษตรกรและประชาชนทั่วไป