ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
อย. ร่วมตำรวจทลายแหล่งยาสมุนไพรปลอม
22 ม.ค. 2563

นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (กก 4.บก.ปคบ.) นำทีมโดย พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมด้วย พ.ต.อ.ศารุติ แขวงโสภา รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ต.อ.ชนันนัทธ์ สารถวัลย์แพศย์ ผู้กำกับการ 4 บก.ปคบ., พ.ต.ท.วีระพงษ์  คล้ายทอง พ.ต.ท.จตุรงค์ ผลเกิด รองผู้กำกับ.4 บก.ปคบ. และ พ.ต.ท.สุรเชษฐ์ เดชะพันธ์ สารวัตร กก.4 บก.ปคบ. ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนพบผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรคุณสัมฤทธิ์ปลอมแพร่ระบาดแถบดอนเมืองและภาคอีสาน จึงได้ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (กก 4.บก.ปคบ.) เก็บข้อมูลหลักฐานและสืบสวนในเชิงลึกจนได้ข้อมูลชัดเจนทราบว่าแหล่งใหญ่อยู่ที่ จ.ชัยภูมิ เจ้าหน้าที่ ตร.กก.4 ได้นำหมายค้นศาลจังหวัดชัยภูมิเข้าตรวจค้นอาคารเลขที่ 648/49-50 ถ. โนนตาปาน ต. ในเมือง อ. เมือง จ.ชัยภูมิ และขยายผลการตรวจค้นจึงทราบว่าแหล่งใหญ่ที่มีการลักลอบจำหน่ายอยู่ที่ จ.นครราชสีมา ในวันที่ 18 มกราคม 2563 จึงได้นำหมายค้น ศาลจังหวัดนครราชสีมาเข้าตรวจค้นอาคารเลขที่ 620/2-4 ถ. สืบศิริ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ผลการตรวจค้น พบผลิตภัณฑ์ ยา และ เครื่องสำอางที่  ผิดกฎหมายหลายรายการ เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณสัมฤทธิ์ปลอม (ยาแคปซูลพลูคาว ยาระบาย ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อย ยาบรรเทาริดสีดวงทวารหนัก  ยาแคปซูลกำลังช้างสาร และยาแคปซูลรากสามสิบ) กว่า 6,000 ขวด  พบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่มีเลขที่จดแจ้งและไม่มีฉลากภาษาไทย ซึ่งเคยตรวจพบสารห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เช่น ครีมหมี (ตลับสีขาว) ครีมหมี (ตลับสีเชียว) ครีมเขียว-ขาว ครีมชุดพม่า ครีมกระปุก และตลับเปล่าสำหรับบรรจุครีม จำนวนกว่า 5,750 ชิ้น และพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เคยประกาศผลวิเคราะห์พบตัวยา และเป็นผลิตภัณฑ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น LYN เอฟ เอส ที (กล่องดำ) LYN บล็อก เบิร์น (กล่องฟ้า-ขาว) MANG LUK, THUCH MEE, Super Detoxy, เรียว   ว่าน 500 ผิว จำนวนกว่า 600 ชิ้น

ทั้งนี้ ได้ยึดยาจำนวนกว่า 15,000 ชิ้น มูลค่าของกลางกว่า 2 ล้านบาท ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีความผิดดังนี้

พระราชบัญญัติสมุนไพร พ.ศ. 2562

ขายยาผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน  300,000 บาท ซึ่งผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรคุณสัมฤทธิ์ที่ตรวจพบครั้งนี้ ทางเจ้าของผลิตภัณฑ์ได้ตรวจสอบและยืนยันว่าผลิตภัณฑ์ที่ตรวจจับได้เป็นผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรคุณสัมฤทธิ์ปลอม บริษัทฯ จะดำเนินการฟ้องละเมิดเครื่องหมายการค้าต่อไป

พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510

ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558

  1. ขายเครื่องสำอางที่ไม่ได้จดแจ้ง ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  2. ขายเครื่องสำอางที่ไม่มีฉลาก จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้           หากเครื่องสำอางที่ขายปรากฏว่าผลตรวจวิเคราะห์พบสารห้ามใช้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522

1. จำหน่ายอาหารที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท

2. จำหน่ายอาหารปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 - 100,000 บาท  

และหากผลตรวจวิเคราะห์พบสารต้องห้ามอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย จะแจ้งเพิ่มอีกข้อหา คือ จำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า อย. และ บก.ปคบ.จะได้ขยายผลเข้าตรวจสอบหาโรงงานที่ลักลอบผลิต หากพบผู้รับอนุญาตฯ รายใดมีส่วนเกี่ยวข้องจะดำเนินคดีทั้งทางอาญาและใช้มาตรการทางปกครองทันที และขอเตือนร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตจาก อย.ให้ระมัดระวังในการเลือกผลิตภัณฑ์มาวางจำหน่ายและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎระเบียบที่กำหนด รวมไปถึงต้องมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพด้วย ทั้งนี้กรณีที่เป็นร้านขายของทั่วไปจะไม่สามารถขายยาได้หากไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. หรือ สสจ. และร้านจำหน่ายต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องสำอางที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่ง อย. และ บก.ปคบ. จะผนึกกำลังร่วมมือกันปฏิบัติหน้าที่ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคอย่างเข้มแข็งต่อไป

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวว่า จากการตรวจสอบร้านจำหน่ายในครั้งนี้พบของกลางหลายรายการที่เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เคยตรวจพบสารห้ามใช้ หรือเป็นอาหารที่ถูกยกเลิกเลขสารบบอาหารไปแล้ว และเครื่องสำอางซึ่งไม่ได้จดแจ้งให้ถูกต้อง จึงขอเน้นย้ำสำหรับผู้บริโภคขอให้ตรวจสอบเลขอนุญาตผลิตภัณฑ์ก่อนเลือกซื้อมาบริโภค โดยสามารถตรวจสอบได้ที่ Oryor Smart Application หรือ อย.ตรวจเลข  หรือ Line @ Fdathai  เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค  และขอเตือนไปยังร้านจำหน่ายทั่วประเทศ ให้ระมัดระวังในการเลือกสินค้าเข้ามาจำหน่าย ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและซื้อจากแหล่งจำหน่ายที่เชื่อถือได้ อีกทั้ง ฝากถึงประชาชนผู้บริโภค ช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบร้านจำหน่ายใด ที่ลักลอบขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาที่สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้  ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด รวมทั้งสามารถร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือเดินทางมาร้องเรียนด้วยตนเอง ที่ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.) ได้ทุกวันในเวลาราชการ หรือสายด่วน 1135 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อ อย. จะทำการตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่กระทำผิดอย่างเด็ดขาดต่อไป

 

 

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...