ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
รัฐธรรมนูญร่างสะเด็ดน้ำไม่แตะอปท.จับตากฏหมายลูก
18 เม.ย. 2559

          ในที่สุดร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็คลอดออกมาแบบสมบูรณ์แล้ว หรือจะเรียกว่าสะเด็ดน้ำแล้วก็คงไม่ผิด ซึ่งจากที่บรรดาที่คนหลายกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ได้ขยับหมุนเวียนกันออกมายื่นหนังสือคัดค้าน เสนอแนะโดยเฉพาะประเด็นการยุบบางหน่วยทิ้ง และการควบรวมบางองค์กรเข้าด้วยกันนั้น บัดนี้ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าในเนื้อหารัฐธรรมนูญที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ นั่งเป็นประธานกรรมการร่างฯนั้นไม่ได้แตะต้องเรื่องที่ผู้คนในหน่วยงานอปท.วิตกกังวลแม้แต่น้อย ทั้งยังอยู่ที่เดิมคือ หมวด14 การปกครองส่วนท้องถิ่น

          แต่อย่างไรก็ตามสำหรับทั้ง 6 มาตราคือ มาตรา 249-มาตรา 254 ก็มีสิ่งเพิ่มเติมเข้ามาจากร่างเนื้อหาเดิมที่ถูกเผยแพร่ออกมาก่อนหน้านี้ หรือก่อนฉบับปรับปรุงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตรา 250 ที่มีการเพิ่มข้อความในเนื้อหาเข้าไปมากกว่าในฉบับก่อนหน้านี้เยอะพอสมควร ซึ่งจะมีนัยยะสำคัญอะไรหรือไม่อย่างไรนั้น ต้องลองไปดูและพิจารณาใคร่ครวญว่าจะมีอะไรซ่อนอยู่ในนั้นหรือไม่???

          มาตรา 249 ภายใต้บังคับมาตรา 1ให้มีการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นทั้งนี้ตามวิธีการและรูปแบบอง ค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กฎหมายบัญญัติ

          การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบใดให้คํานึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นและความสามารถในการปกครองตนเองในด้านรายได้ จํานวนและความหนาแนนของประชากร และพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบประกอบกัน

          มาตรา 250 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอํานาจดูแลและจัดทําบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนรวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แกประชาชนในท้องถิ่นทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

          การจัดทําบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะใดที่สมควรให้เป็นหน้าที่และอํานาจโดยเฉพาะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ หรือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการดําเนินการใด ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งต้องสอดคล้องกับรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามวรรคสี่และกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับกลไกและขั้นตอนในการกระจายหน้าที่และอํานาจตลอดจนงบประมาณและบุคลากรที่เกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจดังกล่าวของส่วนราชการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย

          ในการจัดทําบริการสาธารณะหรือกิจกรรมสาธารณะใดที่เป็นหน้าที่และอํานาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ้าการร่วมดําเนินการกับเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐ หรือการมอบหมายให้เอกชนหรือหน่วยงานของรัฐดําเนินการจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นมากกว่าการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดําเนินการเอง องค์กรปครองส่วนท้องถิ่นจะร่วมหรือมอบหมายให้เอกชนหรือหน่วยงานของรัฐดําเนินการนั้นก็ได้

          รัฐต้องดําเนินการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ของตนเองโดยจัดระบบภาษีหรือการจัดสรรภาษีที่เหมาะสมรวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาการหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดําเนินการตามวรรคหนึ่งได้อย่างเพียงพอในระหว่างที่ยังไม่อาจดําเนินการได้ ให้รัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปพลางก่อน

          กฎหมายตามวรรคหนึ่งและกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นต้องให้องค์กรปกครองส่วนทองถิ่นมีอิสระในการบริหารการจัดทําบริการสาธารณะการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาการเงินและการคลังและ การกํากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งต้องทําเพียงเท่าที่จําเป็นเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวมการป้องกันการทุจริต และการใช้จ่ายเงินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคํานึงถึงความเหมาะสมและความแตกต่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ และต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และการป้องกันการก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการส่วนท้องถิ่นด้วย

          มาตรา 251 การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งต้องใช้ระบบคุณธรรมและต้องคํานึงถึงความเหมาะสมและความจําเป็นของแต่ละท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบการจัดให้มีมาตรฐานที่สอดคล้องกันเพื่อให้สามารถพัฒนาร่วมกันหรือการสับเปลี่ยนบุคลากรระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันได้

          มาตรา 252 สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น หรือในกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษจะให้มาโดยวิธีอื่นก็ได้แต่ต้องคํานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งต้องคํานึงถึงเจตนารมณ์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามแนวทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย

          มาตรา 253 ในการดําเนินงานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นเปิดเผยข้อมูลและรายงานผลการดําเนินงานให้ประชาชนทราบ รวมตลอดทั้งมีกลไกให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนรวมด้วย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ

          มาตรา 254 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเสนอขอบัญญัติหรือเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติ

          ทั้งนี้จะเห็นว่าในส่วนของมาตราอื่นๆคือมาตรา 249 และไล่ลงมาตั้งแต่มาตรา 251 จนถึงมาตราสุดท้ายคือมาตรา 254 แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในส่วนของเนื้อหาเดิมเลย ทุกอย่างยังคงไว้ซึ่งถ้อยความเดิมเกือบทุกประการ ยกเว้นมาตรา 250 ที่มีการเพิ่มเนื้อหาไปจากเดิม รวมทั้งยังมีบางประโยคที่มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำ (ตัวพิมพ์หนาคือประโยค หรือถ้อยความที่เพิ่มเติมเข้ามา รวมทั้งถ้อยคำที่มีการเปลี่ยนแปลงจากคำเดิม)

          อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้ยืนยันกับอปท.นิวส์ ว่าจากร่างเดิมกฎหมายว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่นจะอยู่ในมาตรา 246 - มาตรา 251 ที่ขยับเลื่อนลงมาก็เพราะจำนวนมาตรารัฐธรรมนูญฉบับปรับปรุงแก้ไขนี้ได้เพิ่มจากเดิม 270 มาตรามาเป็น 279 มาตรา และเนื้อหาในส่วนที่เพิ่มเข้มานั้นเพื่อความกระจ่างชัดขึ้น มีรายละเอียดมากขึ้น ไม่มีการยุบ หรือควบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดๆทั้งสิ้น เพียงแต่จะเพิ่มอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นมากขึ้นซึ่งจะมีการนำไปเขียนลงในกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายลูกอีกครั้ง

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...